บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

5 เหตุผลที่ทำให้คนเราเข้าสู่วัยชราเร็วขึ้น

คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ว่า ความเสื่อมโทรมของร่างกายเกิดจากอะไรกันแน่ อายุที่มากขึ้นเป็นตัวเร่งจริงหรือ ลองมาทำความเข้าใจกับข้อมูลเชิงลึกดูนะคะ

5 เหตุผลที่ทำให้คนเราเข้าสู่วัยชราเร็วขึ้น

1.ระบบย่อยอาหารจะทำงานลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เหมือนตอนวัยรุ่น ผม ผิว เล็บ กระดูกจะเสื่อมลง ประมาณ 70%ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะอยู่ในลำไส้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คนเราจะเกิดโรคต่างๆ you are what you eat : กินอะไรได้อย่างนั้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารและอารมณ์ ( เห็นได้จากเวลาที่เรามีความเครียดจัด ผนังกระเพาะอาหารจะหลั่งกรดออกมามาก ทำให้เราปวดท้องขึ้นมาทันที )

การทำงานของเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารลดลง จึงเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการแพ้อาหารง่ายมาก นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่หลายคนตอนยังเด็ก ไม่แพ้อาหารประเภทไหนเลย แต่พอโตขึ้นกลับแพ้ไปหมด )

2.การอักเสบเรื้อรัง งานวิจัยจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ใช้การตรวจเลือดแบบแม่นยำเป็นพิเศษเพื่อตรวจวัดระดับของ CRP ( C-reactive protein ) ซึ่งเป็นโปรตีนในเลือดที่ก่อให้เกิดและบ่งบอกถึงระดับการอักเสบในร่างกาย พบว่า ระดับการอักเสบที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ระดับของ CRP ที่สูงในเลือด พบในโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ อัลไซเมอร์ มะเร็ง เบาหวาน ( การอักเสบเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ระบบภูมิคุ้มกันและต่อต้านการอักเสบในร่างกายเสียสมดุล )

3.อนุมูลอิสระ ภาวะที่อนุมูลอิสระมากมายจนระดับของสารต้านอนุมูลอิสระมีไม่เพียงพอ หากเกิดขึ้นต่อเนื่องและเป็นเวลานาน จะเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเซลล์ บางคนจึงได้มีใบหน้าล้ำไปก่อนอายุงัยค่ะ

4.ความไม่สมดุลของฮอร์โมน เมื่อร่างกายขาดความสมดุลของฮอร์โมน จะเริ่มปรากฎริ้วรอย นอนไม่หลับ เครียด อารมณ์แปรปรวน ภูมิแพ้ ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีความอยากน้ำตาล สูญเสียอารมณ์ทางเพศ ตัวอย่างเช่น
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ผิวแห้ง ใจสั่น มือเท้า-เย็น ผมร่วง เล็บเปราะ ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป อาจทำให้เกิดเซลลูไลต์ ผิวหนังหย่อนคล้อย น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความจำไม่ค่อยดี เกิดไขมันในเลือดสูงและโรคเบาหวาน

อาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีความสมดุลของฮอร์โมน : เมล็ดฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ธัญพืช ( ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวโอ๊ต ) ถั่ว ชะเอมเทศ

อาหารช่วยให้เกิดความสมดุลที่สุดคือ กระเทียม ซึ่งมีวิตามินบี6 จะช่วยให้ร่างกายผลิตเซโรโตนิน ( ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก และควบคุมวงจรการนอนหลับ ) และแก้ไขระดับคอร์ติซอลที่สูง ( ฮอร์โมนแห่งความเครียด ) หากร่างกายมีคอร์ติซอลสูง กระตุ้นให้เกิดความโหยหาอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล อาหารมันที่ให้พลังงานสูง เพื่อจะได้มีเรี่ยวแรงไปต่อสู้กับความเครียด

5.ภาวะความเป็นกรด เซลล์ในร่างกายจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อของเหลวอยู่ข้างในเซลล์มีความเป็นด่างเล็กน้อย เมื่อเรากินอาหารที่มีความเป็นกรดมากเกินไป เช่น เนื้อแดง กาแฟ ชีส ผลิตภัณฑ์จากนม ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ชา แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ผงชูรส จะทำให้มีภาวะกรดเกิน ในระยะยาวส่งผลให้เราเข้าสู่กระบวนการชราเร็วขึ้น

ร่างกายจะมีการชดเชยเพื่อดึงกรดส่วนเกินออกไปคือจะดึงแคลเซียม ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างและแมกนีเซียมจากกระดูกอ่อน จนอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน

อาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง : ผัก ผลไม้ ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว
แต่มีความแตกต่างอย่างน่าอัศจรรย์มากในอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดคือ มะนาว พอผ่านระบบย่อยอาหารจะกลับมีฤทธิ์เป็นด่าง

อาหารมีฤทธิ์เป็นด่างที่ดีที่สุด : มะนาว ดื่มน้ำมะนาวอุ่นทุกเช้าหลังตื่นนอนเพื่อล้างพิษในตับ ( ควรใช้หลอดดูดเครื่องดื่มทุกครั้งเพื่อไม่ให้เคลือบฟันถูกทำลาย )

เมื่อกินอาหารที่อุดมไปด้วยกรด วันต่อมาให้ดื่มน้ำผักผลไม้แบบไม่ใส่น้ำตาล เช่น ผักใบเขียว+คื่นช่าย ผักกาดหอม ผักคะน้า ผักชีฝรั่ง มะนาว+ขิงสด เพิ่มความเป็นด่างในร่างกาย

ไม่ว่าความชราจะเกิดจากกระบวนการใดก็ตาม เราสามารถหลีกเลี่ยงต้นเหตุบางประการได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มองโลกในแง่ดี เพื่อวันข้างหน้า สุขภาพดีจะคงอยู่กับเราตลอดไป ขาดไม่ได้คือสละเวลาสักนิดออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ให้เหงื่อออกบ้าง ต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข ( endorphine ) ออกมา หากทำเป็นประจำและสม่ำเสมอ ความสุขจะคงอยู่กับเราตลอดไป ลองทำดูนะคะ



Create Date : 01 สิงหาคม 2557
Last Update : 5 สิงหาคม 2557 9:42:46 น.
Counter : 956 Pageviews.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

14 สัญญาณเตือนว่าอาจมีปัญหาสมดุลจุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร

• มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและท้องผูก • มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ ...

บทความยอดนิยม