บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

5 อาหารเสริมกับการกระตุ้นสิว


เคยมีใครบางคนกำลังประสบกับการเกิดสิวขณะรับประทานอาหารเสริมหรือเปล่าค่ะสิวสามารถเกิดขึ้นหรือทำให้รุนแรงขึ้นได้ด้วยอาหารเสริม แม้แต่อาหารเสริมที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย 


ผู้ร้ายหลักที่ก่อให้เกิดสิวคือ อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของวิตามิน B6,B12, ไอโอดีน,เวย์โปรตีน,คอลลาเจนและอาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่อาจปนเปื้อนด้วยยา Anabolic androgenic steroids (มีผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 50% ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและหลายคนต่อสู้กับสิวที่อธิบายไม่ได้)


1.ไอโอดีน


 สิวที่เกิดจากไอโอดีนเป็นสิวที่มีลักษณะตุ่มนูน สีแดง บนใบหน้าและลำตัวส่วนบน  ไอโอดีนสามารถทำให้สิวที่มีอยู่รุนแรงขึ้น ไอโอดีนพบได้ในอาหารเสริมสาหร่ายเคลป์(Kelp)นอกเหนือจากวิตามินและแร่ธาตุอีกมากมาย


2. เวย์โปรตีน


 เวย์โปรตีนเกี่ยวข้องกับสิวตุ่มหนองที่พบในลำตัวและใบหน้า  เวย์โปรตีนผลิตมาจากนม ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนทรงกลมที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตชีส  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีนเป็นที่นิยมสำหรับการเพาะกายของวัยรุ่นอเมริกา 


เวย์โปรตีนส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่ให้สารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน  ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีนจะพบผลข้างเคียงคือ เกิดสิวที่มีลักษณะตุ่มนูน สีแดง และตุ่มหนอง สิวประเภทนี้มักพบในนักเพาะกายชายที่ใช้อาหารเสริมเวย์


3.วิตามิน B6,B12

อาหารเสริมวิตามิน B6 และ B12 ปริมาณสูงนำไปสู่สิว Monomorphic แม้ว่าจะไม่ทราบสาเหตุของโรค Monomorphic (รอยโรคจากสิวมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน)อาหารเสริมที่มีวิตามิน B6 และ B12 ปริมาณสูงอาจทำให้สิวที่มีอยู่แย่ลง ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย  


 วิตามินบี 12 ยังแสดงให้เห็นว่า ช่วยการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียPropionobacterium Acnes(P.acne)ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อยู่เบื้องหลังการเกิดสิว


4.Anabolic-androgenic steroids(อนาบอลิก แอนโดรจินิก 

สเตียรอยด์)


การเกิดสิวที่เกิดจาก Anabolic androgenic steroids (AAS) จัดเป็นสิวรุนแรงที่สุดที่เกิดจากอาหารเสริม  นักเพาะกายมักใช้ AAS เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ  แม้ว่าจะเป็นการไม่ใช้สเตียรอยด์โดยตรง

แต่สเตียรอยด์มักมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับการเพาะกายทั่วไป


องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA) มีการศึกษาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม 776 รายการ  พบว่า 89.1% ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสร้างกล้ามเนื้อปนเปื้อนด้วยสเตียรอยด์สังเคราะห์  นอกจากนี้ยังพบว่า AAS ทำให้สิวที่มีอยู่รุนแรงขึ้น


สเตียรอยด์ (Steroids) เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า Anabolic Androgenic Steroids หรือเรียกว่า Anabolic Steroids เป็นยาที่สังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ

เทสโทสเตอโรนในการช่วยให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโต ด้วยการฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปในกล้ามเนื้อส่วนต่าง  หรือรับประทานทางปาก 


สเตียรอยด์ (Steroids) คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง  ภายในร่างกาย เช่น ต้านการอักเสบ ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ กดภูมิคุ้มกัน ในปัจจุบันวงการแพทย์ได้นำสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการเจ็บป่วย หรือแม้แต่ใช้ในวงการเสริมความงาม


สเตียรอยด์แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่  ดังนี้

1.คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งเป็นการสังเคราะห์เลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น โดยหวังผลในส่วนของฤทธิ์ต้านการอักเสบในร่างกาย 


แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

1.ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ภายนอก (External Use) เช่น ยาหยอดตา ยาพ่นจมูก ยาสูดพ่นทางปากและยาทาผิวหนัง หวังผลการรักษาให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่

2.ยาสเตียรอยด์ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (Systemic Use) หวังผลการรักษาให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายทุกระบบ เช่น ยาฉีดและยารับประทาน ส่วนใหญ่มักใช้ลดการอักเสบภายในหรือเพื่อกดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิแพ้ตนเอง (SLE) หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง และอาการภูมิแพ้ทางผิวหนังหรือทางเดินหายใจที่รุนแรง เป็นต้น


2.ยาอนาบอลิก-แอนโดรจีนิก สเตียรอยด์(Anabolic Androgenic Steroid: AAS หรือเรียกว่า อนาบอลิก สเตียรอยด์


โดยปกติแล้วฮอร์โมนสเตียรอยด์จะถูกผลิตออกมาเองตามธรรมชาติจากต่อมหมวกไตซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อขนาดเล็กที่อยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้าง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญ  ในร่างกายอีกหลายชนิด เช่น อะดรีนาลีน(Adrenaline )คอร์ติซอล (Cortisol)ฯลฯ

สเตียรอยด์ยังถูกมาผลิตเป็นยารักษาโรค และอาการเจ็บป่วยต่าง  อีกด้วย


ในประเทศไทย อนาบอลิก สเตียรอยด์ที่เป็นยาสังเคราะห์จะมีทั้งแบบรับประทานและฉีด มักจะถูกใช้กับนักกีฬาเพาะกายหรือคนที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ในเวลาไม่นาน


เทรนเนอร์ท่านหนึ่งเปิดเผยว่า เคยใช้อนาบอลิก สเตียรอยด์แบบเร่งด่วน โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก  สัปดาห์ละ 1 ครั้งและเพิ่มเป็น 4 ครั้งต่อสัปดาห์เมื่อใกล้ถึงช่วงฤดูแข่งขัน(เพาะกาย)จนครบ 6 เดือนแต่ได้หยุดใช้อนาบอลิก สเตียรอยด์อย่างสิ้นเชิง เมื่อตรวจเลือดพบว่า ค่าไตมีการทำงานมากกว่าปกติถึง 3 เท่า ค่าตับสูงขึ้น มีโปรตีนรั่ว(กรวยไตอักเสบที่สำคัญมีคนในโรงยิมตาย 2 คน


แต่ในคนที่อายุยังน้อยประมาณ 25 ปีบางคน มีการฉีดสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ต่อเนื่องหลายปี ค่าตับไตอยู่ในเกณ์ปกติ มีเลือดข้นหนืด หนวดเครายาวเร็วกว่าปกติ 


ผลข้างเคียงของอนาบอลิก สเตียรอยด์คือ  สิวขึ้น หนวดเครายาวเร็วเลือดข้น หงุดหงิดง่าย ผิวหนังไหม้ ผมร่วง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ


กลุ่มเภสัชจัดการปัญหาสเตียรอยด์ ได้ตรวจสอบเวย์โปรตีนที่สั่งมาจากร้านค้าออนไลน์และโรงยิม พบว่า มีหลายยี่ห้อที่ปริมาณโปรตีนไม่ตรงกับฉลากโภชนาการและปนเปื้อนยาอนาบอลิกสเตียรอยด์(Oxymetholone,Otanozolol)มากกว่า 25% โดย 3 ใน 5 

เป็นยี่ห้อที่มีอย.


16 มิ..2564 นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เผยผลทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีนเพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และได้รับความปลอดภัยจากสินค้าหรือบริการตาม ...คุ้มครองผู้บริโภคฯ 


โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเวย์โปรตีน จำนวน 9 ตัวอย่าง จากร้านค้าทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ ช่วงเดือนมกราคม 2564 เพื่อทดสอบสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic - Androgenic Steroids) ซึ่งเป็นยาที่นิยมกันในหมู่นักกีฬาเพาะกายและทดสอบหาปริมาณโปรตีน (ร้อยละของน้ำหนักว่าเป็นไปตามการกล่าวอ้างบนฉลากหรือไม่


จากผลสำรวจพบว่า ไม่พบสารอนาบอลิก สเตียรอยด์ แต่พบโปรตีน (ร้อยละของน้ำหนักไม่ตรงตามฉลาก คือ น้อยกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเวย์โปรตีนยี่ห้อหนึ่ง กลิ่นมอคค่า ทดสอบพบโปรตีน ร้อยละ 38.8 แต่ฉลากระบุว่ามีโปรตีน ร้อยละ83.33 และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อหนึ่ง รสช็อกโกแลต ทดสอบพบโปรตีนร้อยละ 26 แต่บนฉลากระบุว่ามีโปรตีน 62.5


อนาบอลิก สเตียรอยด์ เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีโครงสร้างเป็นสเตียรอยด์และมีฤทธิ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ สารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ทำหน้าที่ให้ร่างกายเก็บกักกรดอะมิโนซึ่งเป็นวัตถุดิบโดยตรงในการสังเคราะห์โปรตีนได้มากขึ้น เรียกว่าเป็น ‘positive nitrogen balance’ เพิ่มกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพิ่มกระบวนการสังเคราะห์เม็ดเลือดแดงฯลฯ


อย่างไรก็ตาม อนาบอลิก สเตียรอยด์ เป็นสารเคมีที่ดัดแปลงโครงสร้างมาจากฮอร์โมนเพศชายตามธรรมชาติคือ เทสโทสเตอโรน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่อนาบอลิค สเตียรอยด์จะมีผลที่คนใช้ไม่ค่อยจะอยากได้เท่าไร นั่นก็คือ สิวหนอง ผิวมัน หัวล้าน หากใช้ระยะยาวนานอาจจะมีเต้านมโต


ดร.เจมส์ มอสส์แมน จากมหาวิทยาลัยบราวน์ของสหรัฐฯและศาสตราจารย์อัลลัน เพซีย์ จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ของอังกฤษ 

เผยว่าพฤติกรรมย้อนแย้งดังกล่าวพบได้มากขึ้นเรื่อย  ในปัจจุบัน และกำลังบั่นทอนความสามารถในการเจริญพันธุ์ของเพศชายในวงกว้าง


ดร.มอสส์แมนอธิบายว่า "ผู้ชายที่ใช้สารสเตียรอยด์พยายามทำให้ตัวเองกล้ามโตและดูตัวใหญ่กว่าปกติ เหมือนกับลักษณะของเพศชายที่อยู่ในขั้นสุดยอดของวิวัฒนาการแต่แท้ที่จริงแล้ว พวกเขากำลังทำให้ตัวเองกลายเป็นสิ่งชำรุดทางวิวัฒนาการมากกว่าเพราะแต่ละคนไม่มีเชื้ออสุจิเหลืออยู่เลยแม้แต่ตัวเดียว"


การใช้สารจำพวกอนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในหมู่นักเพาะกาย ส่งผลเสียต่อความสามารถในการมีบุตรของผู้ชายอย่างมาก แม้ว่าสารดังกล่าวจะให้ผลเลียนแบบฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเตอโรน ซึ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตของกล้ามเนื้อได้ แต่ในขณะเดียวกัน สารนี้จะทำให้ต่อมพิทูอิทารีในสมองเข้าใจผิดว่าอัณฑะกำลังทำงานหนัก จนหยุดการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ช่วยในการผลิตอสุจิไปอย่างสิ้นเชิง


การใช้สารอนาบอลิกสเตียรอยด์ ยังพบได้มากในหมู่คนที่มีปัญหาเรื่องผมบางศีรษะล้านอีกด้วย โดย .เพซีย์ บอกว่า "ปัญหานี้ยังพบได้น้อยกว่ากรณีการใช้สเตียรอยด์สร้างกล้ามเนื้อ แต่ปัจจุบันยอดขายยาป้องกันหรือรักษาศีรษะล้านกำลังเพิ่มขึ้น ทำให้เชื่อได้ว่าจำนวนผู้ชายที่มีบุตรยากจะพุ่งสูงขึ้นไปอีกในอนาคต"


"อัตราความเสี่ยงเป็นหมันของผู้ชายที่ใช้สเตียรอยด์นั้นมีมากกว่าที่เคยเข้าใจกัน เรียกได้ว่าอาจมีความเสี่ยงสูงถึง 90% เลยทีเดียวเพซีย์กล่าว


5.คอลลาเจน


แม้ว่าอาหารเสริมคอลลาเจนจะเป็นที่รู้จักกันดีในการซ่อมแซมสภาพผิว แต่บางชนิดอาจมีซัลไฟต์ซึ่งสามารถทำให้ผิวของเราแออัดและนำไปสู่การเกิดสิวขึ้นได้


สารในกลุ่มซัลไฟด์ในอาหารส่วนใหญ่จะใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญของยีสต์ (yeast) รา(mold) และแบคทีเรีย (bacteria) เช่น ใช้ฆ่าจุลินทรีย์ในการทำไวน์ (wine) เบียร์ (beer) และใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกลือซัลไฟด์ เกลือโซเดียมและโปแตสเซียมของไบซัลไฟด์ (bisulfite) เมื่อถูกความร้อนจะสลายให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) จะไปทำลายวิตามินบีเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีcarboxylic acid และตัวอื่นๆอีก


กลไกที่แน่นอนหรือการเกิดโรคของอาหารเสริมที่ทำให้เกิดสิวไม่ชัดเจน  เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า AAS( อนาบอลิก สเตียรอยด์)ช่วยเพิ่มไขมันบนผิว และเพิ่มกรดไขมันอิสระและปริมาณคอเลสเตอรอลของไขมันเหล่านี้  AAS ยังเพิ่มความหนาแน่นของสิวPropionobacterium(P.acne)บนผิวของเรา  การตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังอาจช่วยระบุกลไกนี้ได้ในระดับหนึ่ง









ที่มา : 


Acne Caused By Aggressive Supplements - Dr David Kaplan apdkc . co m › acne-caused-by-aggre...


อาหารปลอดภัย....มีจริงหรือ ในประเทศไทย? (ตอนที่ 3) - ไทยรัฐออนไลน์ ww w.thairat h.c o.t h › ไลฟ์สไตล์ › ไลฟ์


กล้ามเช่า จากเวย์โปรตีนสู่อนาบอลิกสเตียรอยด์ - รายการไทยพีบีเอส progra m .thai pbs.o r. th › episodes


เตือนผู้ชายใช้สเตียรอยด์เสริมหล่อ เสี่ยงเป็น "สิ่งชำรุดทางวิวัฒนาการ ww w . BBC com› thai › international-484 32052


"เวย์โปรตีน"ไม่พบสเตียรอยด์-2ยี่ห้อปริมาณไม่ตรงฉลาก - ช่อง 8 ww w.thaich8 com › news_detail


!! เต้าโต หัวเถิก อัณฑะหด ความดัน โรคหัวใจ ฯ : อันตรายของ “กล้าม ...mgronlin e. co m › goodhealth › detail


“สเตียรอยด์” ฤทธิ์ครอบจักรวาล แต่หากใช้เกินจำเป็น ระวังผลข้างเคียง ...w ww .vejt hani .c om › 2018/06 › สเตียรอยด์ระวัง


เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม