บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

เนื้องอกมดลูกไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ช่วงนี้แป้งได้ยินเรื่องราวของเพื่อนๆร่วมรุ่นและคนรู้จักพากันเป็นเนื้องอกมดลูก(Myoma Uteri,Uterine Fibroids)จำนวนหนึ่ง ซึ่งต้องรับการผ่าตัดเพื่อตัดมดลูก(hysterectomy)ทราบมาว่า บางคนมีค่าใช้จ่ายการผ่าตัดผ่านกล้องเกือบ 500,000 บาท ในโรงพยาบาลเอกชนชื่อดัง(มีประกันชีวิต แทบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม)ทำให้รู้สึกว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ เลยพลอยต้องมาศึกษาเพิ่มเติมว่า โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง

เนื้องอกประมาณ 25-30% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการเจริญเติบโตของ noncancerous(เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง)ก้อนเหล่านี้เกิดขึ้นในผนังของมดลูก มักจะอยู่ในช่วงอายุ 35-50ปี

ผู้หญิงจำนวนมากมีเนื้องอกแต่ไม่มีอาการ ผู้หญิงแอฟริกัน-อเมริกันมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเนื้องอกที่มีอาการมากกว่าผู้หญิงในกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ถึงสามเท่า

เกือบร้อยละ 80 ของผู้หญิงที่มีเนื้องอก อาจเกิดจากพันธุกรรม
มีความเสี่ยงมากหากแม่หรือพี่สาวมีเนื้องอก

เนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่มากสามารถขยายมดลูกให้มีขนาดเท่ากับการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง หากโตมาด้านหน้าใต้กระเพาะปัสสาวะ(anterior)จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ มีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะลำบาก แต่ถ้าเนื้องอกเจริญเติบโตอยู่ด้านหลัง(posterior)จะกดเบียดลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้ท้องผูก

เนื้องอกมดลูก แบ่งเป็น 3  ชนิดคือ

        1.  Subserosal fibroids คือเนื้องอกที่โตยื่นออกไปจากตัวมดลูก
         2.   Intramural fibroids คือเนื้องอกที่โตในกล้ามเนื้อมดลูก
         3. Submucous fibroids คือเนื้องอกที่โตในโพรงมดลูก

เนื้องอกมดลูกเกี่ยวข้องกับภาวะมีบุตรยาก การแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนด แต่หนักที่สุดคือจะมีประจำเดือนออกมาเป็นก้อนเลือดเรียกว่า menorrhagia กล่าวคือต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอะไรทำให้เกิดเนื้องอก 
ยีน(Gene)ที่เร่งการเจริญเติบโตของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก
อาจมีบทบาท ความผิดปกติในหลอดเลือดมดลูกอาจมีส่วนร่วม 
ความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนดูเหมือนจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเนื้องอก

เนื้องอกมดลูกมักไม่เกิดขึ้น ก่อนที่จะมีประจำเดือนครั้งแรก

การตั้งครรภ์สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้องอกและมักจะหดตัวลงหลังวัยหมดประจำเดือน

เนื้งอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่สามารถทำให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนดังนี้
ความเจ็บปวด
เลือดออกจำนวนมาก
ท้องผูก
โรคโลหิตจาง
มีบุตรยาก
การแท้งบุตร


การรักษา
1.20-50%ของผู้หญิงที่มีเนื้องอก ไม่จำเป็นต้องรักษา
ในขณะที่ไม่มีอาหารชนิดใดสามารถรักษาหรือป้องกันไม่ให้เกิดเนื้องอก อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา

หากอายุยังน้อยและมีอาการไม่รุนแรง สูตินรีแพทย์มักจะแนะนำให้สังเกตและอัลตราซาวน์เพื่อติดตามการรักษา เนื่องจากเนื้องอกมดลูกมีแนวโน้มที่จะหดตัวหลังจากวัยหมดประจำเดือน 

2.การรักษาโดยการใช้ยาตามดุลยพินิจของสูตินรีแพทย์

3.การผ่าตัดมี 2 แบบคือ
3.1การตัดเฉพาะเนื้องอก(myomectomy ) มักจะทำในผู้ป่วยที่อายุน้อยหรือยังต้องการมีบุตร
3.2การตัดมดลูก(hysterectomy) ทำในผู้ป่วยที่อายุมากหรือมีบุตรเพียงพอแล้ว

ข้อเสียอย่างหนึ่งของการตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูก(myomectomy )คืออาจเกิดการยึดเกาะ (การยึดเกาะเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็นชนิดหนึ่งที่ก่อตัวในอวัยวะอุ้งเชิงกรานและเชื่อมเข้าด้วยกัน) อีกอย่างหนึ่งคือเนื้องอกเจริญอาจเกิดขึ้นอีกเนื่องจากมดลูกไม่ได้ถูกกำจัดออกไป ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี( Gallbladder)เป็นอวัยวะบริเวณช่องท้องทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีเข้มข้นเพื่อพร้อมสำหรับย่อยไขมัน ส่วนใหญ่ศัลยแพทย์มักจะตัดถุงน้ำดีออกไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและอาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีอีกครั้ง

ในผู้หญิงที่ตัดเฉพาะเนื้องอก 10-33% มักมีการผ่าตัดครั้งที่สองภายในห้าปี

เกือบร้อยละ 80 ของผู้หญิงที่มีเนื้องอก อาจเกิดจากพันธุกรรม มีความเสี่ยงมากหากแม่หรือพี่สาวมีเนื้องอก

การเจริญเติบโตของเนื้องอกมดลูกไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน แต่หากเกิดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเนื้องอกจะขยายตัว(ปกติผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเนื้องอกจะฝ่อลงตามมดลูกไป)อาจบ่งบอกถึงความร้ายกาจและควรติดตามอย่างใกล้ชิด

ผู้หญิงที่มีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
• ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือปวดรุนแรงขึ้นทุกเดือน
• มีประจำเดือนออกมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอยนานเกิน ๑ สัปดาห์
• มีอาการปวดหน่วงๆ ที่ท้องน้อยหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง
• มีอาการปวดขณะร่วมเพศ
• ท้องผูกเรื้อรัง
• ปัสสาวะบ่อย กะปริดกะปรอย หรือปัสสาวะขัด
• คลำพบก้อนที่ท้องน้อย หรือท้องโตคล้ายคนท้อง











ที่มา
https://www.healthline.com › healthผลการค้นเว็บFibroids: Types, Causes, and Symptoms - Healthline
https://www.uclahealth.org › fibroidsFibroids: What are Fibroids? Fibroids Symptoms, Treatment, Diagnosis - UCLA - UCLA Health
https://www.doctor.or.th › detailเนื้องอกมดลูก - บทความสุขภาพ โดยมูลนิธิหมอชาวบ้าน
https://www.medicinenet.com › articleผลการค้นเว็บUterine Fibroids: Pain, Symptoms, Treatment, Causes & Surgery - MedicineNet

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม