บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

หัวข้อ โปรไบโอติกส์(Probiotics)มีดีต่อลำไส้อย่างไร

หัวข้อ โปรไบโอติกส์(Probiotics)มีดีต่อลำไส้อย่างไร

อาหารหมักดองมีจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกว่า โปรไบโอติกส์ (probiotics) ที่พบได้บ่อยคือ แบคทีเรียกรดแลกติก (lactic acid bacteria) หรือ แลกโตบาซิลลัส (lactobacillus) ความแข็งแกร่งของแบคทีเรียชนิดนี้ คือจะกินน้ำตาลเป็นอาหาร แล้วเปลี่ยนน้ำตาลในสภาวะไร้อากาศหรือออกซิเจนต่ำให้กลายเป็นกรดแลกติก เมื่อค่าพีเอชในอาหารลดลง ทำให้จุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ เติบโตต่อไปไม่ได้ นอกจากแลกโตบาซิลลัสแต่เพียงผู้เดียว

การหมักดองจึงเป็นหนึ่งในวิธีการถนอมอาหารที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยแต่ละชนชาติต่างก็มีอาหารหมักดองที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีเมนูเด่นจากทั่วโลกที่อยากชวนไปทำความรู้จักด้วยกันดังนี้

1.เริ่มจากเพื่อนบ้านในทวีปเอเชียอย่างเกาหลีใต้ที่เผยแพร่ความอร่อยของผักดองเกาหลีอย่าง กิมจิ (Kimchi) จนได้รับความนิยมมากมายจากนักชิมทั่วโลก เครื่องเคียงรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ขาดไม่ได้ในทุกมื้ออาหารของชาวเกาหลี ทำจากพืชตระกูลผักกาดหมักกับพริก เกลือ น้ำตาล ขิง นอกจากนี้ยังได้รับยกย่องว่าเป็น 1 ใน 5 อาหารที่ดีต่อสุขภาพของโลก และมีสรรพคุณช่วยชะลอความชราอีกด้วย 

กิมจิเป็นเครื่องเคียงของอาหารเกาหลีที่ทำจากผักหมัก ซึ่งหลักๆ แล้วจะใช้ผักกาดขาวและหัวไชเท้า ปรุงรสด้วยเครื่องเทศต่างๆ ในระหว่างการหมัก แบคทีเรียกรดแลคติก รวมทั้งแลคโตบาซิลลัส จะสลายน้ำตาลในผัก ส่งผลให้อาหารมีรสเปรี้ยวและอุดมด้วยโปรไบโอติกส์

2.สำหรับแดนปลาดิบคงต้องยกให้ มิโซะ (Miso) เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นรสชาติเค็มที่หมักจากถั่วเหลือง นิยมนำมาทำซุป และ นัตโตะ (Natto) ถั่วหมักญี่ปุ่น ทำจากถั่วเหลืองหมักเชื้อแบคทีเรีย มีกลิ่นค่อนข้างเฉพาะตัว

3.ส่วนแดนมังกรก็ไม่น้อยหน้า คอมบุชะหรือคอมบุฉะ (Kombucha) ชาหมักที่มีอยู่คู่ประเทศจีนมายาวนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งเกิดจากการนำชาเขียวหรือชาดำไปหมักกับน้ำตาล หัวเชื้อแบคทีเรียและยีสต์กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการกำจัดจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 

4.ขยับไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เทมเป้ (Tempeh) คือถั่วเหลืองหมักเมนูโปรดของชาวอินโดนีเซียและมาเลเซีย นิยมกินแทนเนื้อสัตว์ ช่วยลดไขมันและลดอาการท้องอืด

5.ข้ามมาที่แถบยุโรปกันบ้าง ซาวร์เคราต์ (Sauerkraut) หรือกะหล่ำปลีดองรสเปรี้ยว เป็นเครื่องเคียงที่ขาดไม่ได้เมื่อกินอาหารจานเนื้อและไส้กรอกของชาวเยอรมัน ไม่เพียงช่วยแก้เลี่ยน แต่ยังอุดมไปด้วยกากใยอาหารและช่วยปรับสมดุลให้ระบบย่อยอาหารอีกด้วย 

6.ส่วนชาวยุโรปตะวันออกนั้นโปรดปรานคีเฟอร์ (Kefir) นมหมักรสชาติคล้ายโยเกิร์ตแต่มีความเข้มข้นมากกว่าและมีสารอาหารสูงมากจนกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์อาหารสุขภาพของยุคนี้ 

7.ส่วนยุโรปฝั่งตะวันตกก็ไม่ยอมแพ้ ซาวร์โด (Sourdough)คือขนมปังเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ขนมปังที่มีประวัติความเป็นมาหลายพันปีใช้วิธีหมักกับยีสต์ธรรมชาติที่เรียกว่า ซาวร์โดสตาร์เตอร์ (Sourdough Starter) ซึ่งเป็นแป้งหมักที่มียีสต์และแบคทีเรียธรรมชาติ รสชาติขนมปังจะออกเปรี้ยวนิดๆ เนื้อนุ่มเหนียว เปลือกขนมปังแข็ง 

อาหารหมักดองที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมซึ่งเน้นผลิตปริมาณมาก มีความเสี่ยงต่อการใส่สารเร่งหมัก สารปรุงรส สารกันบูด สีผสมอาหาร สารเพิ่มความเป็นกรด เช่น กรดซิตริก กรดแอซีติก และมักเป็นการหมักดองด้วยจุลินทรีย์ที่ตายแล้วเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ 

นอกจากการสร้างสมดุลระหว่างแบคทีเรียที่ดีและไม่ดีแล้ว โปรไบโอติกส์ยังให้ประโยชน์หลายประการแก่ผู้สูงอายุ ช่วยลดความถี่และระยะเวลาของอาการท้องร่วง บางสายพันธุ์สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจได้(ทดลองในสัตว์) อีกทั้งสามารถช่วยบรรเทาอาการแพ้แลคโตส (การไม่สามารถย่อยน้ําตาลในผลิตภัณฑ์นม มีผลทำให้ท้องอืด)

นักวิจัยเน้นว่า มีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ที่ดีและไม่ได้ผลในท้องตลาด ประชาชนควรเลือกอาหารเสริมอย่างระมัดระวัง ครึ่งหนึ่งของแบรนด์ทั้งหมดที่มีในสหราชอาณาจักรไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวอ้าง ซึ่งผลิตภัณฑ์จําเป็นต้องมีแบคทีเรียที่มีชีวิตสายพันธุ์ที่ถูกต้อง เช่น bifidobacteria หรือ lactobacilli บริษัทผู้ผลิตต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า แต่ละผลิตภัณฑ์มีแบคทีเรีย 10 ล้านตัวขึ้นไป 
กฎหมายใหม่ของสหภาพยุโรปกําลังบังคับให้ผู้ผลิตเปิดเผยข้อมูลนี้

หัวหน้านักวิจัย Glenn Gibson มหาวิทยาลัย Reading สหราชอาณาจักร กล่าวว่า โปรไบโอติกส์ช่วยปกป้องผู้สูงอายุจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากแบคทีเรียที่ทําให้เกิดอาหารเป็นพิษ เช่น E.coli โดยมีผลในเชิงบวกต่อสภาพลําไส้ เช่น อาการท้องร่วง IBS และอาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะจะมีผลทำให้ระดับของแบคทีเรียทุกสายพันธุ์ในลําไส้ลดลง ไม่ว่าใครก็ตามที่รับประทานยาปฏิชีวนะ จะได้รับประโยชน์จากการรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติกส์

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์
1.ปรับสมดุลแบคทีเรียและต่อสู้กับแบคทีเรียตัวร้ายที่รุกรานเข้ามาในลำไส้
2.ป้องกันอาการท้องเสียที่เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาปฎิชีวนะ
3.ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
4. โปรไบโอติกส์สามารถช่วยลดความผิดปกติของระบบย่อยอาหารบางอย่างได้ เช่น โรคลําไส้อักเสบ รวมถึงอาการลําไส้ใหญ่บวมเป็นแผล
5. โปรไบโอติกส์อาจช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน

งานวิจัยที่เก่ากว่าชี้ให้เห็นว่า การรับประทานโปรไบโอติกส์ช่วยลดโอกาสและระยะเวลาของการติดเชื้อทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของหลักฐานอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ํา

โปรไบโอติกส์ Lactobacillus crispatus แสดงให้เห็นว่า
ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงได้ 50% 

จําเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อค้นหาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างโปรไบโอติกส์และระบบภูมิคุ้มกัน

6.เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์บุผนังที่ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเข้าสู่กระแสเลือด

แป้งเคยกินอาหารเสริมโปรไบโอติกส์ที่ผลิตในอเมริกา 5 พันล้านตัวต่อแคปซูล วันรุ่งขึ้นคือ ท้องอืดบวมเชียวคะ ลองฝืนกินต่ออีก 4-5 วัน โอ๊ย!! ไม่ไหว อะไรจะอืดขนาดนั้น เลยต้องยกให้สามีกินแทน มีผลทำให้ท้องอืดเหมือนกัน เลยส่งต่อให้หลานสาว ซึ่งน้องกินได้ ไม่มีผลข้างเคียงอะไรคะ

เอาจริงๆจากที่แป้งและสามีลองกินกิมจิ(ทำเอง)ติดต่อกันเกือบทุกวันเป็นเวลา 3 เดือนต่อปี(พอกินบ่อยๆก็เบื่อหน่าย พาลไม่อยากกินเลยกลายเป็นว่า ทำกิมจิปีละครั้งก็เกินพอ)พบว่า ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเปรียบได้กับระบบย่อยอาหารดีขึ้น 

สังเกตจากเวลาที่สามีกินขนมปัง(ทำเอง)+หมูหยอง พออิ่มเอมเท่านั้นแหละ ท้องอืด(สาเหตุคือ ขนมปังมีกลูเต็น เมื่อรับประทานกลูเตนแล้ว ร่างกายจะเกิดการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื้อบุลำไส้เล็กทำให้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่ แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป เช่น มีลมในท้องเยอะ ผายลม คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง)
ต้องเรียกหายา Motilium เพื่อช่วยลดอาการท้องอืดทุกครั้ง แต่พอกินกิมจิถ้วยเล็กๆตามเข้าไป ปรากฏว่า ท้องไม่อืด ไม่ต้องกินยา Motilium อีกต่อไปคะ

ความเห็นส่วนตัว 
การกินกิมจิไม่ช่วยเรื่องท้องผูกได้ดีเทียบเท่ากินผักสดหรือผลไม้ที่มีกากใยสูงเพราะผักสดมีกากใยเยอะแถมชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำที่แทรกอยู่ในใบผัก หากพูดถึงระบบขับถ่าย ผักสดชนะเลิศคะ












ที่มา 

ทำความรู้จักอาหารหมักดองGourmet & Cuisinehttps://www.gourmetandcuisine.com › stories › detail

8 Health Benefits of ProbioticsHealthlinehttps://www.healthline.com › nutrition

Lactic acid bacteria / แบคทีเรียผลิตกรดแล็กทิก - Food WikiFood Network Solutionhttps://www.foodnetworksolution.com › wiki › word › la...

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567

เรื่องราวของผู้ชายล้วนๆ

 
ผู้ชายทุกคนมีนาฬิกาชีวภาพสำหรับความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันเดือนปี เข็มนาทีที่เคลื่อนไปอย่างช้าๆในแต่ละชั่วโมง จะมีการเปลี่ยนไปของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย คนที่ดูแลสุขภาพตัวเองดีอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างช้าๆและค่อยเป็นค่อยไป

ความเสื่อมแห่งวัยจะเริ่มต้นเมื่ออายุ 25-30 ปีขึ้นไป
อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดโดยเฉลี่ยของมนุษย์จะลดลงประมาณหนึ่งจังหวะต่อนาทีต่อปี และความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดสูงสุดจะลดลง 5-10 เปอร์เซ็นต์ต่อ10 ปี นั่นเป็นสาเหตุที่หัวใจทำงานได้ดีในวัย 25 ปี โดยมีอัตราสูบฉีดเลือดได้~2.4 ลิตรต่อนาที แต่หัวใจผู้ที่อายุ 65 ปีไม่สามารถสูบฉีดเกิน 1.25 ลิตรต่อนาที และหัวใจผู้ที่อายุ 80 ปี มีอัตราการสูบฉีดเลือดเพียงประมาณ 1 ลิตรเท่านั้น

ด้วยเหตุผลนี้ ในชีวิตประจำวันของผู้ชายที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว จะมีความสามารถในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกลดลง  บางครั้งการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน อาจเกิดความเหนื่อยล้าและหายใจไม่ทัน แล้วคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ฯลฯ จะมีสภาพเป็นเช่นไร ไม่อยากจะคิดเลยนะคะ

พอเข้าสู่วัยกลางคน หลอดเลือดของผู้ชายจะเริ่มแข็งตัวและความดันโลหิตจะเริ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันการไหลเวียนเลือดจะเปลี่ยนไป โดยมีความหนืดมากขึ้นและสูบฉีดทั่วร่างกายได้ยากขึ้น แถมจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจนจะลดลงไปด้วย

ส่วนใหญ่เริ่มน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วงวัยกลางคน โดยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1.4-1.8 โลต่อปี ผู้ชายจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่ออายุ 40 ปี ดังนั้นน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงกลายเป็นไขมันทั้งหมด ไขมันส่วนเกินนี้ส่งผลให้คอเลสเตอรอลชนิด LDL (ไม่ดี) เพิ่มขึ้น และคอเลสเตอรอล HDL (ดี) ลดลง

เมื่ออัตราการเผาผลาญลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6 จุดต่อ 10 ปี ทำให้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดขึ้นอย่างน่าวิตกในผู้สูงอายุ การสูญเสียกล้ามเนื้อยังคงดำเนินต่อไป ในที่สุดกล้ามเนื้อของมนุษย์จะลดลงถึง 50% ซึ่งก่อให้เกิดความอ่อนแอและความพิการในที่สุด

โรคเบาหวานมีอยู่ 4 ชนิด ประมาณ 95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลินร่วมกับการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนลดลง ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน

ในขณะเดียวกัน กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะเริ่มแข็งและตึง แม้ว่าผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบางน้อยกว่าผู้หญิง แต่จะสูญเสียแคลเซียมในกระดูกเมื่ออายุมากขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อและความหนาแน่นของกระดูกลดลงคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(testosterone )ในเพศชายลดลง ซึ่งลดลงประมาณ 1% ต่อปี

หลังจากอายุ 40 ปี ผู้ชายส่วนใหญ่ยังคงมีระดับฮอร์โมน
เทสโทสเตอโรนตามปกติและมีความสามารถในการสืบพันธุ์ตลอดชีวิต แต่สมรรถภาพทางเพศเริ่มลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงระบบประสาทจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การประสานงานแย่ลง ความจำเสื่อมมักจะเกิดขึ้นและนอนหลับได้น้อยกว่าวัยหนุ่ม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีสุขภาพดี แต่ในผู้ชายที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว จะเริ่มแก่ชราอย่างรวดเร็วจนเห็นได้ชัดเจน

มีงานวิจัยศึกษาปีพ.ศ. 2509 ในโรงเรียนแพทย์ตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส ผู้ชายอายุ 20 ปี มีสุขภาพดีจำนวน 5 คน ใช้เวลา 3 สัปดาห์ในวันหยุดฤดูร้อนนอนอยู่บนเตียง แต่เมื่อหนุ่มๆเหล่านั้นลุกจากเตียงหลังสิ้นสุดการทดลอง นักวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงร้ายแรงซึ่งรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักเร็วขึ้น ความดันโลหิตซิสโตลิกที่สูงขึ้น อัตราการสูบฉีดเลือดสูงสุดของหัวใจลดลง ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง

ในเวลาเพียงสามสัปดาห์ เด็กอายุ 20 ปีเหล่านี้ได้พัฒนาลักษณะทางสรีรวิทยาหลายอย่างเทียบเท่าผู้ชายที่อายุประมาณ 40 ปี
โชคดีที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น แต่ให้ผู้ชายกลุ่มเดิมเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการออกกำลังกายช่วยฟื้นฟูความเสื่อมที่เกิดจากการนอนบนเตียงนานๆได้

ผู้ชายอายุน้อยๆสุขภาพปกติยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากขนาดนี้ แล้วผู้ป่วยติดเตียงจะเป็นเช่นไร มิน่าล่ะ!!
เวลาแป้งไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่ผ่าตัดอายุ 80 กว่าปีที่รพ.เอกชนทีไร จะเห็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์มาสอนการกายภาพบำบัดคนไข้อยู่เสมอ

ไม่มีใครสามารถหยุดนาฬิกาชีวภาพได้ แต่มนุษย์ทุกคนสามารถเดินให้ช้าลงได้ การออกกำลังกายไม่ใช่วิถีของความเยาว์วัย แต่เป็นขุมพลังแห่งความมีชีวิตชีวา

การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถป้องกันปัญหาร้ายแรงได้ อย่าฝืนออกกำลังกายหากนอนดึกพักผ่อนน้อย มีไข้หรือเจ็บป่วย ค่อยๆ ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยยืดอายุขัย และลดอัตราการเกิดโรคและความทุพพลภาพในวัยชรา

อย่าละเลยการฟังเสียงของร่างกาย ไม่มีใครดูแลเราได้ดีเท่าตัวเอง
อย่าคาดหวังฝากชีวิตไว้กับโรงพยาบาล(ข้อมูลจำนวนแพทย์ล่าสุด ณ เม.ย.66 รวม 68,725 คน อยู่ในกทม. 3.2 หมื่นคน ตจว.3.4 หมื่นคนต่อประชากร 66 กว่าล้านคน)ควรเรียนรู้สัญญาณเตือนของโรคหัวใจรวมถึงอาการเจ็บหน้าอกหรือความดันโลหิตสูง อาการหายใจไม่สะดวก  เหนื่อยล้าหรือเหงื่อออก ชีพจรเต้นผิดปกติ อาการวิงเวียนศีรษะ หรือแม้แต่อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนที่อาการคล้ายคลึงกับโรคหัวใจ รวมถึงความเจ็บปวดที่บ่งบอกถึงการอักเสบเรื้อรังซึ่งอนุมูลอิสระเป็นตัวกระตุ้นลำดับต้นๆ




ที่มา

Exercise and aging: Can you walk away from Father TimeHarvard Universityhttps://www.health.harvard.edu › exercis...

อาการเตือน โรคเบาหวานชนิดที่ 2โรงพยาบาลศิครินทร์https://www.sikarin.com › health › อาการเตือน-โรคเบาห...

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม