บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รู้ไว้ใช่ว่า(วัคซีนโควิด-19)

***หมอธีระวัฒน์เผย 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิดในประเทศไทย ชี้ต่อไปซิโนแวคและซิโนฟาร์มจะเป็นเพียงทางผ่านหรือขัดตาทัพ


วัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ต่อจากนี้จะเป็นเพียง “ทางผ่าน” หรือ “ขัดตาทัพ” เท่านั้น แต่แม้มีวัคซีนอื่นๆเข้ามาพอ และค่อยๆเลิกทางผ่านนี้ แต่ต้วอื่นๆก็จะกลายเป็นทางผ่านในอนาคตอันใกล้ ถ้าการระบาดคุมไม่ได้และมีการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ


1.ธรรมชาติของแต่ละยี่ห้อ

ซิโนแวค ภูมิคุ้มกันขึ้นช้าตกเร็ว

ยี่ห้ออื่น AZ (AstraZeneca ) หรือ mRNA ขึ้นเร็วตกช้ากว่า

2.ซิโนแวคต้อง 2 เข็ม จะเริ่มเห็นภูมิคุ้มกันที่หนึ่งเดือนหลังเข็มสอง

ยี่ห้ออื่นจะเริ่มเห็น ตั้งแต่สองอาทิตย์หล้งเข็มหนึ่ง และเต็มที่ตั้งแต่สองอาทิตย์หลังเข็มสอง

3.แต่แล้วซิโนแวค ซิโนฟาร์มสู้สายพันธุ์อื่นนอกจากสายพันธุ์ตั้งเดิมได้ไม่ดี เริ่มตั้งแต่สายอังกฤษอัลฟา และจนถึงเดลตา จะมีข้อจำกัดมากขึ้น ทั้งการป้องกันการติดเชื้อ แม้ว่าระดับภูมิยังสูง เช่นความสามารถในการยับยั้งไวรัสเกิน 68% ก็ตาม โดยเฉพาะ ถ้ายิ่งลดลงไปอีก การป้องกันอาการหนักและเสียชีวิตจะด้อยลงช้ดเจน


4.ทั้งนี้วัคซีนอื่น แอสตร้า และ mRNA ขึ้นอยู่กับระดับภูมิเช่นกัน โดยถ้ายังสูงอยู่ ยัง “พอยัน” เดลตาได้ แต่ก็ไม่ดีเท่าอัลฟ่า และเมื่อภูมิลดลงก็กระตุ้นด้วยยี่ห้อเดิม ยกเว้นแอสตร้า 2 เข็ม ถ้ากระตุ้นด้วย mRNA น่าจะได้มูลค่าเพิ่มดีกว่า

5.ทำให้ต้องมีการควบรวมหลายยี่ห้อเข้าด้วยกันกับซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ทั้งนี้เพื่อต้องให้ได้กำไรสองต่อ

กำไรต่อที่หนึ่งก็คือ ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ตกไปแล้วสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทันการณ์

กำไรต่อที่สองก็คือทำให้ภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นนั้นสามารถต่อต้านกับเดลตาหรือสายพันธุ์อื่นได้แต่ต้องติดตามว่าอยู่ได้นานเพียงใด?


6.ข้อมูลในประเทศไทยชิโนแว็กสองเข็ม ตามด้วย 

แอสตร้า ไม่ว่าฉีด”เข้ากล้าม”หรือฉีด “เข้าชั้นผิวหนัง” จะได้ตรงตามเป้าหมายในข้อห้า

7.วัคซีนซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ต่อจากนี้จะเป็นเพียง “ทางผ่าน”ให้วัคซีนอื่นๆเข้ามาควบ ทำให้มีกำไรเพิ่มและป้องกันโรคเท่านั้น จะเป็นตัวโดดๆ ไม่ได้ และจะซ้ำเป็นเข็มสามก็ไม่ดี 

ข้อสำคัญ ทางผ่านนี้ต้องฉีดเต็มสองเข็มก่อน ฉีดด้วยเข็มเดียวและต่ออย่างอื่นไม่ได้กำไรเท่าไหร่

8.ตราบใดที่โควิดยังเก่งกาจสามารถกลายพันธุ์ได้เก่งมากเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง แม้ชื่อพันธุ์เดิมยังมีสายย่อยๆ การกดดันโควิดต้องเข้ม

9.การกดดันที่สำคัญคือการ ”คัดกรอง” ว่าติดหรือไม่ ด้วยการตรวจที่เข้าถึงได้ทุกคนและแยกตัวทันทีเพื่อไม่ให้มีการระบาดต่อเนื่องและ “หน่วง” การระบาดได้เป็นพักๆ ร่วมกับวินัย และทำให้จำนวนผู้ป่วยอาการหนักชะลอตัวทำให้รักษาได้เร็วที่สุด และกดหัวให้ไวรัสนิ่งที่สุด

10.วัคซีนภาคพิสดารต้องครอบจักรวาลเล็งทั้งสายพันธุ์ที่มีปัจจุบันและอนาคต


***นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “Chalermchai Boonyaleepun” เรื่อง ภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ ที่ฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ สองเข็ม ลดลงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ และมีโอกาสป่วยต้องนอนโรงพยาบาลสูง จึงเป็นกลุ่มที่ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสาม เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ โดยระบุว่า


“ภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุที่ฉีดวัคซีน Pfizer สองเข็ม ลดลงมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์


วัคซีนเทคโนโลยี mRNA ของบริษัท Pfizer มีรายงานเรื่องระดับภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลในการป้องกันโรค สูงมาโดยตลอด


แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาผ่านไป ก็เริ่มมีรายงานการศึกษาว่า ระดับภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลในการป้องกันโรคลดลงเป็นลำดับ

ยิ่งเมื่อมีไวรัสสายพันธุ์เดลตา ระบาดกว้างขวางทั่วโลก และกระทบกับประสิทธิผลของวัคซีนทุกชนิด จึงทำให้เกิดคำถามสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ฉีดวัคซีนแล้วสองเข็มตามกำหนด ว่าจำเป็นจะต้องฉีดกระตุ้นเข็มสามหรือไม่


โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่วัคซีนยังขาดแคลนทั่วโลก มีวัคซีนไม่พอที่จะฉีดให้กับทุกคน แล้วกลุ่มใดบ้าง ที่จะเป็นกลุ่มเสี่ยงแม้ฉีดวัคซีนสองเข็มแล้ว จนจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนเข็มสาม


ข้อมูลที่มีในเบื้องต้น ได้ระบุกลุ่มเสี่ยงของผู้ที่ฉีดวัคซีนสองเข็มแล้วว่า อาจจะป้องกันโควิดได้ไม่ดีนัก ประกอบด้วย

1. กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะและได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เป็นมะเร็งได้รับการฉายแสงหรือได้รับเคมีบำบัด ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อต่อระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

2. กลุ่มผู้สูงอายุ

3. กลุ่มที่มีโรคประจำตัว

4. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด


ในปัจจุบันนี้ สหรัฐ ได้กำหนดให้ฉีดกระตุ้นเข็มสาม ในประชาชนกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (เกือบ 3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด)


อิสราเอล ให้ฉีดกระตุ้นเข็มสาม ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป


ภูมิคุ้มกันในผู้สูงอายุ ลดลงเหลือน้อยกว่าบุคลากรทางการแพทย์

ส่วนในประเทศไทย มีนโยบายและเริ่มให้ฉีดกระตุ้นเข็มสามกับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac สองเข็ม


รายงานการศึกษาวันนี้ เป็นการติดตามผลการฉีดวัคซีน Pfizer สองเข็มไปนาน 6 เดือน ในสองกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์


การศึกษาพบว่า ระดับภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุ ลดลงเหลือน้อยกว่าในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ที่อายุน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็น Anti SARS-CoV-2 S1 หรือ RBD-IgG และในกลุ่มภูมิคุ้มกันที่ทำลายไวรัสโดยตรง (NAb)ก็ลดลงชัดเจน เมื่อเทียบกับกลุ่มบุคลากร

นอกจากนั้น ระดับการทำงานของทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งร่วมกับภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส ก็มีผลการทำงานลดลง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

ทำให้พบผู้สูงอายุที่ฉีดวัคซีนสองเข็มแล้ว เป็นเวลาตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป เริ่มมีอัตราการติดเชื้อ การป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล มากกว่าคนที่อายุน้อยกว่าและได้รับวัคซีนสองเข็มเท่ากัน


แต่ถ้าในกรณีที่ผู้สูงอายุ ไม่ได้ออกไปนอกบ้าน ไปสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อ ความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ แม้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า แต่สัมผัสเสี่ยงกับผู้ป่วยมากกว่า ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้สูงอายุ เป็นสองกลุ่มที่มีความเสี่ยง และอยู่ในลำดับที่จะได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มสามใกล้เคียงกัน


***ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยาไทยจากไบโอเทค ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดหลายเข็มเกินความจำเป็น เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อกลายพันธุ์มากกว่าคนอื่นได้


วันนี้( 24 ส.ค. 64 ) “ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา" นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค โนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุข้อความว่า


ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่จำเป็นต้องถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนมากขนาดนั้น" .. สิ่งที่คิดว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างวัคซีน ถ้าให้มาก หรือ ถี่เกินไปจะได้โทษมากกว่าประโยชน์ 


วัคซีนที่มีการใช้อยู่เป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากข้อมูลของไวรัสอู่ฮั่น (Wuhan) ที่ปัจจุบันไม่มีโอกาสไปติดเชื้อไรัสสายพันธุ์นั้นตามธรรมชาติอีกแล้ว


โพสต์ ดร.อนันต์ ยังบอกด้วยว่า การกระตุ้นร่างกายด้วยวัคซีนของ Wuhan ช้ำๆๆๆ แบบกรณี 5 ครั้งใน 3 เดือน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนแนวหน้าอย่างน้อย 2 ท่าน (คือ Dr. Gregory Poland จากMayo Clinic และ Dr. Monica Gandhi จาก UCSF) เคยให้ความเห็นเตือนว่า ภูมิคุ้มกันในสภาวะดังกล่าวอาจจะไม่สามารถปรับมาสร้างแอนติบอดีต่อไวรัสกลายพันธ์ุได้ดีเท่ากับคนปกติที่ฉีดวัคนห่างกันตามวิธีมาตรฐาน เพราะ ระบบภูมิคุ้มกันที่มีความจำนั้นถูกกระตุ้น จนไม่อยากเปลี่ยนไปสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อสายพันธุ์อื่นแล้ว 


พูดง่ายๆว่า ถ้าวัคซีน Version ใหม่ออกมา โอกาสที่จะกระตุ้นไม่ขึ้นมีสูง และ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อกลายพันธุ์ก็จะมากขึ้นกว่าคนอื่นๆ พร้อมระบุ "5 เข็ม 3 เดือน อย่าทำ"


ทั้งนี้ ดร.อนันต์ ออกมาเตือน หลังจาก "เป๊ก สัณณ์ชัย เองตระกูล" ลงภาพและข้อความเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดกระตุ้นเข็มที่ 5 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พร้อมระบุข้อความว่าฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 ครบทุกยี่ห้อ โดยเจ้าตัวได้ฉีดวัคซีนซิโนแวคที่ประเทศไทย ครบ 2 เข็ม เป็นเวลา 1 เดือน จึงตัดสินใจเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเข้ารับการฉีดวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มแรก ซึ่งเจ้าตัวโพสต์ไว้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน หลังครบ 1 เดือน ในวันที่ 23 กรกฎาคม ได้ลงภาพฉีดโมเดอร์น่าเข็มที่ 2 ซึ่งเจ้าตัวโพสต์ว่า ที่ผ่านมาไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ล่าสุดครบ 1 เดือน เมื่อวานนี้ เป๊ก โพสต์ภาพฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 แต่ไม่ระบุยี่ห้อ









ที่มา :

เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

เฟซบุ๊ก Chalermchai Boonyaleepun

เฟซบุ๊ก  Anan Jongkaewwattana

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม