บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ทำไมคนในครอบครัวบางคนถึงไม่ติดโควิด

สื่อต่างประเทศหลายสำนักพยายามไขข้อข้อสงสัยว่า ทำไมสมาชิกครอบครัวบางคนที่อยู่ชายคาเดียวกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จึงไม่ได้รับเชื้อหรือไม่มีอาการป่วย ขณะที่ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่ายนั้น ถ้าสมาชิกคนหนึ่งคนใดในบ้านติดโควิด สมาชิกคนอื่นๆ ก็จะได้รับเชื้อไปด้วย

ดร.ลูซี แมคไบรด์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐ อธิบายกับ Yahoo News ว่า การติดโควิดในครอบครัวนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ปริมาณไวรัสที่แพร่ออกมาจากสมาชิกคนที่ติดเชื้อ สภาพของบ้านที่อยู่ร่วมกัน ระบบภูมิคุ้มกันของคนในครอบครัว สถานะการได้รับวัคซีนของคนที่ติดเชื้อและสมาชิกในบ้านแต่ละคน จะหายใจเอาละอองฝอยที่มีไวรัสเข้าสู่ร่างกายไม่เท่ากัน ร่างกายจะตอบสนองต่อไวรัสแตกต่างกัน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานด้านสุขภาพและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดร.ลูซีกล่าวว่า คนที่ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม หากยังมีอายุไม่มาก และสุขภาพดี อาจจะไม่มีอาการป่วยใดๆเลย และบ้านมีพื้นที่กว้าง เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทตลอดเวลา โอกาสในการติดเชื้อก็จะน้อยลงกว่าบ้านที่มีพื้นที่เล็กและอับทึบ

รายงานล่าสุดจากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้ว่า โอกาสในการแพร่เชื้อโควิดของคนในครอบครัวอยู่ที่ประมาณ 53% ในบ้านที่ไม่แออัด

การศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine เมื่อปลายเดือน ม.ค.ระบุว่า คนที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีความเสี่ยงติดเชื้อและป่วยจากโอมิครอนน้อยกว่า 66% เมื่อเทียบกับคนที่ได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม

การศึกษาอื่นๆ ชี้ว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นสามารถลดโอกาสในการป่วยที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉินและโอกาสในการเสียชีวิตได้ถึง 80%

ศ.โทนี คันนิงแฮม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและนักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ กล่าวในทำนองเดียวกันว่า มีหลากหลายปัจจัยที่จะทำให้สมาชิกในบ้านไม่ติดเชื้อโควิดครบทุกคน มีทั้งเรื่องระดับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนที่ทำให้เชื้อไวรัสในร่างกายลดลงปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมาจากการได้รับวัคซีน หรือเป็นไปได้ที่มีพันธุกรรมซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อโควิดได้

ส่วนคนที่ได้รับวัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้น หากได้รับเชื้อจะทำให้ไวรัสที่อยู่ในโพรงจมูกและระบบหายใจลดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อีก

ทางด้าน ดร.โจเซฟ แมคการ์กริลล์ แพทย์ด้านโรคติดต่อจากศูนย์การแพทย์ MercyOne อธิบายว่า การที่บางคนในครอบครัวไม่ติดเชื้อ อาจเพราะเคยติดเชื้อโควิดมาแล้วก่อนหน้า ทำให้มีภูมิต้านทานและไม่ติดเชื้ออีกแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับคนในบ้านที่ป่วยด้วยโควิด มีโอกาสที่บางคนในบ้านไม่แสดงอาการหรือไม่มีอาการป่วยเลย เป็นเพราะไม่ได้รับเชื้อในปริมาณที่มากพอ

ขณะที่บางคนมีพันธุกรรมที่ต้านทานต่อไวรัสได้ดี ทำให้มีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการเลยแม้ผลการตรวจจะออกมาเป็นบวก

ล่าสุด ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติกำลังค้นหายีน(Gene)ในคนที่สามารถต้านโควิดได้ โดยหวังว่า ยีน(Gene)ที่อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จะนำมาซึ่งการพัฒนาเป็นยาป้องกันไวรัสเพื่อปกป้องผู้คนจากโควิดในอนาคต



ที่มา :

www . sanook . com /news/8520990/?utm_source=linetoday&utm_medium=organic&utm_campaign=linetoday-direct

สัญญาณเตือนจากร่างกายที่เราควรรับฟัง

มีใครเคยตรวจพบปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงจากสัญญาณเตือนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ปกติแล้วเรามักจะมองข้ามไปบ้างรึเปล่าค่ะ ร่างกายของเราเป็นระบบที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งทุกอย่างล้วนมีความเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นเมื่อมีบางอย่างที่เริ่มผิดปกติ เราสามารถรับรู้ได้ถึงสัญญาณเหล่านี้ 

1.วิธีทดสอบว่าเส้นผมมีรูพรุนน้อยหรือมาก คือการแช่เส้นผมที่สระและเช็ดให้แห้งแล้วลงในแก้วน้ำ หากปอยผมจมลงสู่ก้นแก้ว แสดงว่ามีความพรุนสูงมาก หมายความว่าเส้นผมจะสามารถดูดซับทุกผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ได้อย่างรวดเร็วและแห้งได้ในเวลาไม่นาน แต่อย่างไรก็ตาม เส้นผมนั้นมักจะมีความแห้งกรอบและมีแนวโน้มที่จะชี้ฟู

ดังนั้นในการดูแลเส้นผมที่มีความพรุนมาก ควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมมีเนื้อสัมผัสที่มีน้ำหนัก เช่น น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติอย่าง อาร์แกนออยล์ โจโจ้บาออยล์ อัลมอนด์ออยล์ ฯลฯ นอกจากนั้นสามารถเพิ่มการบำรุงอย่างล้ำลึก เช่น หมักผมหรือสปาผมได้ 

 

2. เส้นรอยพับตามแนวขวางที่คอ สตรีวัยหมดประจำเดือนจะผลิตเอสโตรเจนได้น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการเพื่อรักษาความแข็งแรงของกระดูก ริ้วรอยลึกที่คอเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า กระดูกเริ่มเปราะบางและมีความหนาแน่นน้อยลง

นั่นหมายความว่า อันตรายจากการแตกหักของกระดูกจะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมและวิตามินดีจึงเป็นความคิดที่ดีในการหลีกเลี่ยงโรคกระดูกพรุน หากไม่ชอบรับประทานอาหารเสริม สามารถรับทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงและดูดซึมได้ดีจากธรรมชาติ เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต 

ปลาที่กินพร้อมกระดูกได้ เช่น ปลาซาร์ดีน ผักใบเขียว เช่น คะน้าบล็อคโคลี่ ใบชะพลู ผักกระเฉด ถั่วขาว ข้าวโอ๊ต น้ำส้ม งาดำ กุ้งแห้งกะปิ 

ริ้วรอยเหล่านี้อาจบอกด้วยว่า ควรตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ หากมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ และไม่ได้รับการรักษา สัญญาณนี้อาจเริ่มปรากฏให้เห็นที่คอรวมถึงบริเวณอื่น ๆ นอกจากริ้วรอยแล้ว ควรสังเกตผิวที่ลอกเป็นขุยด้วย 

3. แผลร้อนในที่ปากและลิ้น สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดอาการร้อนใน ได้แก่ การสูบบุหรี่ อาการแพ้ การกัดลิ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ(เวลาเคี้ยวอาหาร) และการอักเสบ 

 


หากแผลร้อนในไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น อาจหมายถึงการขาดวิตามินบี12 ธาตุเหล็ก หรือโฟเลต ซึ่งความผิดปกตินี้ไม่ได้พัฒนาแค่ในชั่วข้ามคืน แต่จะค่อย ๆ ก่อตัวพัฒนาไปเรื่อยๆเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน 

สัญญาณเตือนอื่น ๆ อาจมีอาการเหนื่อยล้า เวียนศีรษะ หัวใจเต้นผิดปกติ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากเราประสบกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารครั้งใหญ่และควรเริ่มรับประทานอาหารเสริมที่จำเป็น 

4.เล็บและผิวหนังกำพร้ารอบ ๆ แห้งลอก และการเกิดดอกสีขาวบนเล็บ 

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการลอกของเล็บและผิวหนังกำพร้ารอบ ๆ คือการขาดธาตุเหล็กและการขาดน้ำ หากไม่รักษาภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ภาวะโรคโลหิตจาง 


ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เล็บมีสุขภาพที่ไม่ดี อาจเกิดได้จากภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ โรคปอด หรือแม้แต่โรคไต 

วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาเล็บที่สามารถทำเองได้คือ การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและทาครีมบำรุงมือเพื่อทำให้เล็บมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ 

หากเริ่มสังเกตเห็นดอกสีขาวบนเล็บ อาจมีสาเหตุที่เป็นไปได้อยู่ 4 ประการ ได้แก่ อาการแพ้ การติดเชื้อรา อาการบาดเจ็บ หรือการขาดแร่ธาตุ ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับสาเหตุสุดท้าย แร่ธาตุที่ขาดที่พบบ่อยที่สุดคือ สังกะสีและแคลเซียม และการตรวจเลือดเป็นสิ่งแรกที่ควรต้องทำ 

เมื่อก่อนแป้งมีดอกเล็บขึ้นทีละ 1-2 นิ้ว พอสังเกตเห็นแบบนี้ จะรีบหาซื้ออาหารทะเลมากินอย่างไว(อาหารทะเลจะมีแร่ธาตุสังกะสีสูงมาก) ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ดอกเล็บหายไปเลย ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะกินอาหารทะเลบ่อยค่ะ 

5.ส้นเท้าแตก อาจเกิดได้จากผิวหนังที่แห้ง อากาศหนาว หรือการยืนนาน ๆ หลายชั่วโมงทุกวัน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น โรคกลาก โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และโรคเบาหวาน 


เราสามารถดูแลรักษาส้นเท้าได้ ด้วยการแช่ในน้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เป็นเวลา 20 นาทีแล้วขัดด้วยหินขัดเท้า(วิธีนี้นอกจากส้นเท้าจะนุ่มลงแล้วยังช่วยลดกลิ่นอับจากการสวมรองเท้าได้อีกด้วย) จากนั้นจึงทามอยส์เจอไรเซอร์แบบเข้มข้นที่มีส่วนผสมของกรดแลคติก โจโจ้บาออยล์ หรือเชียบัตเตอร์ 

หากดูแลรักษาด้วยตัวเองแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้นเลย มีวิธีการรักษาหลายอย่างที่หมอผิวหนังสามารถสั่งจ่ายเวชภัณฑ์ เช่น มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีความเข้มข้นสูง และสิ่งที่เราทำได้ในแต่ละวันคือ หมั่นตรวจดูส้นเท้า รักษาความสะอาด และสวมรองเท้าที่รองรับแรกกระแทก 

6.โรคโรซาเซียเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเกิดรอยแดงในบริเวณเหล่านี้ ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว มีคนที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ประมาณ 14 ล้านคน 


ผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีและคนผิวขาวมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้มากกว่า เนื่องจากโรคโรซาเซียไม่ค่อยมีผลกระทบต่อเด็ก 

ส่วนอาการทั่วไปของโรคที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการหน้าแดง การเกิดรอยแดงอย่างต่อเนื่อง ผื่นและสิว และหลอดเลือดที่มองเห็นได้ชัด สำหรับอาการอื่น ๆ ที่พบได้น้อย ได้แก่ การระคายเคืองตา ผิวหนังมีความหนาและบวมขึ้น 

โดยปกติแล้ววิธีรักษาโรซาเซียคือ การใช้ยาเฉพาะที่และการใช้ยารับประทานที่แพทย์สั่งจ่าย แพทย์อาจใช้การรักษาด้วยเลเซอร์เพื่อกำจัดหลอดเลือดที่มองเห็นออก 

7.หากมีอาการตาบวมโดยไม่ได้มีการติดเชื้อและไม่ได้มีอาการแพ้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสดงว่าเกิดจากสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การบริโภคเกลือในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้มีของเหลวสะสมอยู่ในร่างกายและใบหน้า รวมถึงบริเวณใต้ตาด้วย 


ควรต้องลดปริมาณเกลือที่บริโภคและอาจเพิ่มปริมาณโพแทสเซียม ส่วนสาเหตุอื่น ๆ อาจเป็นไปได้คือโรคคอพอกตาโปน ท่อน้ำตาอุดตัน การสูบบุหรี่ และการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ เมื่อเราทราบถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว สามารถแก้ไขได้โดยการประคบเย็น การใช้ถุงชา และการนวดหน้า หากอาการบวมดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น ควรต้องไปพบแพทย์

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม