บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

โสมอินเดีย(ashwagandha) กับภาวะซึมเศร้าที่ใครเล่าจะเข้าใจ



สภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจขาขึ้น (ก่ายหน้าผาก) หันไปทางไหนก็มีแต่ความวิตกกังวลจนกลายเป็นความเครียดอย่างไม่รู้ตัว ไปๆมาๆขยับระดับขึ้นเป็นภาวะซึมเศร้าแทรกซึมลึกอยู่ภายในจิตใจที่แสนบอบบาง 

 ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนประมาณ 3.4% ที่มีโรคประจำตัวจะฆ่าตัวตายและคนถึง 60% ที่ฆ่าตัวตาย จะมีความซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น 

ส่วนประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่สามัญที่สุด (3.2%) ตามงานสำรวจสุขภาพจิตไทยปี 2546 โดยเป็นอันดับ 1 ในหญิงและอันดับ 4 ในชาย ไม่มีใครอยากจะเป็นแบบนี้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะมีวิธีรับมือและแก้ปัญหาอย่างไรดี

ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้า ได้แก่
  1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
  2. สารเคมีในสมอง พบว่า ระดับสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน สารที่สำคัญคือ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine) ลดต่ำลง และอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสารสื่อเคมีเหล่านี้ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาต้านเศร้าที่ใช้ในปัจจุบัน จะออกฤทธิ์โดยการปรับสมดุลของระดับสารเคมีเหล่านี้
  3. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง  มองโลกในแง่ร้ายหรือคาดหวังกับทุกเรื่องมากเกินไป เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ผิดหวัง ตกงานหย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย 

เมื่อสาเหตุบางประการของโรคซึมเศร้า เกิดจากสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล วิธีอย่างง่ายๆที่จะช่วยปรับสมดุลจิตใจและสารเคมีในสมองให้ดียิ่งขึ้นคือ โสมอินเดีย ( ashwagandha ) ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในตำราอายุรเวทเป็นเวลามากกว่า3,000 ปี ในอินเดีย ปากีสถานและศรีลังกา เพิ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบตะวันตกเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมานี่เองค่ะ

ลองมาดูคุณสมบัติของโสมอินเดียกันนะคะ

มีประโยชน์อย่างไร
1.เพิ่มพลังงาน ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย มีการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า Ashwagandha มีผลในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดสูงขึ้นและการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีเรี่ยวแรงมากกว่าปกติ

2.ลดภาวะซึมเศร้าได้ดีเทียบเท่ายากลุ่มbenzodiazepine ซึ่งเวลาที่กินยากลุ่มนี้นานๆ จะสูญเสียความทรงจำบางช่วงเวลาไป 

3.บรรเทาความเครียด ลดความวิตกกังวล
4.ช่วยทำให้นอนหลับสนิทได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก
5.ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะสตรีวัยทอง ที่มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
6.บำรุงสมอง ช่วยฟื้นคืนความทรงจำ ล่าสุดมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า Ashwagandha ช่วยลดความจำเสื่อม โดยอาจป้องกันสมองจากความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง (พบในสัตว์ทดลอง)

7.ปรับสมดุลต่อมไทรอยด์ โสมอินเดียมีคุณสมบัติเป็น adaptogen ที่สำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจจากความเหนื่อยล้าทั้งปวง เหมาะสำหรับผู้ที่อ่อนเพลีย หมดแรงง่าย จากพยาธิสภาพของโรค hypothyroid (โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่เป็นสาเหตุได้บ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า โรคฮาชิโมโต(Hashimoto's thyroiditis) ซึ่งเป็นโรคออโตอิมมูนชนิดหนึ่ง เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อตัวเองโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด)

8.เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน
9.รักษาความสมดุลต่อมหมวกไต ต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ในการปลดปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ในการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย

10.เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ แต่ไม่มีผลกับผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปแล้ว
11.เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความทนในการออกกำลังกาย
12.ชะลอความชราจากความสมดุลของต่อมหมวกไต หากเราต้องการความอ่อนวัยและมีสุขภาพดีจะต้องมีระดับฮอร์โมน cortisol ที่สมดุล

13.Ashwagandha อาจช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยในการยับยั้งความอยากน้ำตาล ( พบในสัตว์ทดลอง )

ผลข้างเคียง : กระหายน้ำ ผื่นคัน ใจสั่น มึนงง

แป้งได้ทดลองกินโสมอินเดียเพียงเพราะเห็นสรรพคุณเพิ่มพลังงานแถมช่วยให้นอนหลับได้ดี โดยช่วงเวลาก่อนนอน หลังกินไปไม่กี่นาที รู้สึกตาหนักๆ ง่วงอะไรปานนั้น ซึ่งแป้งไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน ขนาดกินเมลาโทนิน ยังใช้เวลาเป็นชั่วโมง กว่าจะข่มตาหลับลงได้ เพียง 1 อาทิตย์ก็เห็นผลชัดเจนเลยค่ะ นึกไม่ถึงว่า จะได้ผลเร็วเพียงนี้ 

ตอนนี้แป้งหวังผลในเรื่องชะลอความชราที่มาจากความสมดุลของต่อมหมวกไต เรื่องนี้คนทั่วไป ไม่ค่อยมีใครสนใจประเด็นนี้ ถ้าเราเหนื่อยมากๆ หมดแรงอ่อนล้า หมดกำลังใจบ่อยๆ ลองพิจารณาดูนะคะ

ตอนแรกกะว่า จะไม่หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำบล็อกโสมอินเดีย แต่เผอิญนึกได้ว่า เคยมีแฟนบล็อกเขียนมาถามเรื่องวิตามินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า แป้งเลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาค่ะ

ขอนอกเรื่องนิดนึง ในอดีตแป้งนอกจากจะเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็กแล้ว ร่างกายยังไม่ค่อยแข็งแรงจากสาเหตุการเป็นพาหะธาลัสซีเมียแต่กำเนิด มักมีอาการหน้ามืดเป็นลมง่าย ตั้งแต่ประถมยันเรียนมหาวิทยาลัยเลยค่ะ 

ยังจำได้ดีตอนเรียนปีหนึ่ง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น น้องใหม่จะต้องขึ้นแสตนด์เชียร์ทุกคน ไม่มีใครได้รับการยกเว้น 

ตอนบ่ายสอง แสงแดดไม่เคยปราณีใคร แป้งนั่งซ้อมร้องเพลงเชียร์ประจำคณะอยู่ดีๆ หน้าเริ่มมีสีซีดเหมือนกระดาษรู้สึกเหมือนใจหวิวๆจะเป็นลมจึงกระซิบบอกเพื่อนที่นั่งข้างๆ แค่แป๊บเดียว พี่สต๊าฟปีสี่ จึงพากันหิ้วปีกลงมาพักด้านหลังแสตนด์เชียร์ นั่งพกยาลม ดมยาหอมกันไปกับเพื่อนๆอีก 3-4 คน

พอหมดฤดูกาลขึ้นสแตนด์เชียร์ แป้งเดินสวนกับเพื่อนพยาบาลเกือบทั้งคณะ สังเกตุว่า เพื่อนๆหน้าไหม้ดำ คล้ำแดดเป็นทิวแถว มีแต่แป้งที่หน้ายังขาวผ่องเพราะไม่ได้ขึ้นแสตนด์เชียร์ จากความไม่แข็งแรงของร่างกาย ดีตรงนี้เนอะ 

ดังนั้นแป้งจึงเสาะแสวงทดลองกินแต่วิตามินที่เพิ่มพลังงานเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะรู้ดีว่า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าที่เป็นปกติในชีวิตประจำวันจะนำพาความชรามาหาเราเร็วขึ้น จากการที่เซลล์ต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ ใครที่ผ่านมาอ่านอย่าได้แปลกใจเลยนะคะ 
























ที่มา 
www.herbwisdom/herb-ashwagandha-html
https://th.wikipedia.org>wiki>โรคซึมเศร้า

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม