บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)สำคัญกับผู้หญิงอย่างไร

ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)เป็นสารประกอบเคมีธรรมชาติที่พบได้ในพืช (phytonutreint)พบมากกว่า 300 ชนิด มีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายคลึงฮอร์โมน เอสตราไดออล(estradiol)ที่ผลิตตามธรรมชาติในร่างกายมนุษย์

ไฟโตเอสโตรเจนไม่ใช่สารอาหาร เนื่องจากไม่ให้พลังงานและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (functional food) เนื่องจากมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึงฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน(estrogen)โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์


 ไฟโตเอสโตรเจนออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมนุษย์ 100-1000เท่า สามารถแย่งที่กับเอสโตรเจนในการจับกับตัวรับเอสโตรเจน(estrogen receptor)ที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่อเอสโตรเจนเท่านั้น

การบริโภคไฟโตเอสโตรเจน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ รวมถึงการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคกระดูกพรุนที่พบมากในสตรีวัยทอง

    ไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen)แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 

1. Isoflavone(ไอโซฟลาโวน)สารกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงมาก เนื่องจากมีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ และสามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจนในเซลล์(estrogen receptor)ได้ มีดังนี้

genistein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว alfalfa

daidzein พบในถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ alfalfa

Miroestrol พบในกวาวเครือ 
Chandalone และ osajin พบในเถาวัลย์เปรียง 
Formononetin พบในชะเอมเทศ

2.Coumestans(คูเมสแตน) มีสารที่เรียกว่า coumestrol มีฤทธิ์เป็น estrogenic activity(มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน) ได้แก่ สารในกลุ่ม coumestans เช่น alfalfa,split peas,pinto bean,lima bean,clover sprouts
      
3. lignan(ลิกแนน)มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศคือ enterolactone และ Enterodiol จะพบมากในเส้นใยของพืช ดังนั้นสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน จึงถูกแนะนำให้รับประทานผักหรือพืชที่มีเส้นใยมาก เนื่องจากมีสารดังกล่าวที่แสดงฤทธิ์เป็น estrogenic effect นั่นเอง

มีประโยชน์อย่างไร
1.ปรับสมดุลฮอร์โมนโดยเฉพาะสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนและสตรีวัยทอง
2.ลดภาวะคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูง เนื่องจากระดับคอเลสเตอรอลในเลือด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

สตรีที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน มีโอกาสเสี่ยงต่อคอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพราะคอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นตัวหนึ่งในการสร้างฮอร์โมนเพศ เมื่อรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมน จะทำให้คอเลสเตอรอลเหลือในกระแสเลือด จึงส่งผลให้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงได้ 

ไม่น่าแปลกใจในข้อนี้ เพราะแป้งเห็นผู้หญิงวัยทองหลายคน ตอนสาวๆสุขภาพปกติ พอถึงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้นแหละ คอเลสเตอรอลพุ่งสูงปรี๊ด นับเป็นของขวัญวันแรกรับวัยทอง ที่ไม่มีใครต้องการเลย

3.เจนีสทีน(Genistein) เป็นสารสำคัญที่พบมากในถั่วเหลือง มีผลต่อการลดของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี(LDL) และการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลชนิดดี(HDL) ช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะการอุดตันของหลอดเลือด

4.ลดโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุน เมื่อขาดเอสโตรเจน จะไม่มีตัวไปช่วยยับยั้งกระบวนการสลายกระดูก ทำให้อัตราการสลายตัวของเนื้อกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วง5ปีแรกของการหมดประจำเดือน 

ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี ไม่ค่อยมีแสงแดด (แสงแดดมีวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและสะสมเกลือแร่ในกระดูก)สตรีวัยทองจะประสบภาวะกระดูกพรุน เป็นอันดับต้นๆ แต่บ้านเราแดดดีเหลือเกิน ทำให้สาวๆพากันหลบแดดเสียเป็นส่วนใหญ่ ลองออกมารับแดดช่วง8โมงเช้าก็ดีนะคะ

5.ลดภาวะผมร่วง ผมบาง มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 
ไอโซฟลาโวน(isoflavones) ช่วยยับยั้ง DHT(dihydrotestosterone) ที่เป็นสาเหตุให้ต่อมรากผมหดตัว จนเกิดอาการผมร่วงศรีษะล้านที่มักพบในเพศชาย (พบบ้างในผู้หญิง) ทั้งยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

6.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

 7.ลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง เมื่อขาดเอสโตรเจน จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวได้ง่าย จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ในวัยทอง ซึ่งพบบ่อยมาก พอหมดประจำเดือน กลับได้โรคความดันโลหิตสูงมาเป็นของแถมที่เราไม่ต้องการเสียนี่
                            
 8.ลดอาการร้อนวูบวาบ(hot flash) มีเหงื่อออกในเวลากลางคืน เกิดจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในร่างกายทำงานบกพร่อง ส่งผลให้หลอดเลือดตามผิวหนังขยายตัว จึงเกิดอาการร้อนวูบวาบ ปวดศีรษะ 
                             
6.ลดภาวะซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะอาการซึมเศร้าไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้ บางคนคิดอยากหนีไปอยู่บนดวงจันทร์ อาการแบบนี้ไม่ได้เป็นโรคจิตโรคประสาทแต่อย่างใด เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนที่หมดไปจากร่างกาย
                             
7.ลดอาการช่องคลอดแห้ง ผิวหนังแห้งกร้าน บางคนจนถึงกับคันทั่วร่างกาย 

ประชากรในภูมิภาคเอเชียและยุโรปตะวันออก พบการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่  มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าทางประเทศแถบตะวันตกมาก 

ทางระบาดวิทยาพบว่า ไฟโตรเอสโตรเจนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันภาวะเหล่านี้ในคนเอเชีย โดยเฉพาะการบริโภคถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลืองเป็นประจำ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญหลักของไอโซฟลาโวน(isoflavones)

มีงานวิจัยจาก Molecular Nutrition & Food Research ปีพ.ศ 2554 ที่ค้นพบว่า ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติป้องกันและต้านทานเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก

 คนญี่ปุ่นรับประทานอาหารประเภทนี้เป็นประจำ  จึงพบอุบัติการณ์ของมะเร็งที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศน้อยที่สุด ในขณะที่คนญี่ปุ่น ซึ่งอพยพออกจากประเทศแล้ว ดำเนินวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น  

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ไฟโตรเอสโตรเจนสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งของมะเร็งเต้านมได้ 18-20%  
 มะเร็งลำไส้ใหญ่15-30 %

จะเห็นได้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน สามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนได้ อาจช่วยลดหรือยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น

Blog หน้าพบกับสุดยอดไฟโตเอสโตรเจนสองชนิดผสานเป็นหนึ่งเดียว ที่ช่วยเพิ่มความกระชับของเต้านม เพิ่มความอวบอิ่ม เต่งตึงดุจวัยแรกสาวค่ะ





ที่มา


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

เรื่องราวน่ารู้ของคอเลสเตอรอล(cholesterol)



เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไขมันก็เช่นกัน คนทั่วไปมักมีความเข้าใจผิดว่า ไขมันทุกชนิดไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งไม่ใช่ความจริงแม้แต่น้อย และไขมันตัวที่ถูกใส่ร้ายบ่อยกว่าใครเพื่อน คือคอเลสเตอรอล(cholesterol)

มีคนจำนวนไม่มาก ทราบกันดีว่า คอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุของโรคผนังหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจ และโรคต่างๆมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า คอเลสเตอรอลจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์

อย่างน้อย 2/3ของคอเลสเตอรอลในร่างกาย ถูกสร้างจากตับหรือลำไส้ ทั้งยังพบได้ในสมอง ต่อมหมวกไต และเยื่อหุ้มเส้นประสาท

มีประโยชน์อย่างไร

1.คอเลสเตอรอล(cholseterol)ที่ผิวหนังจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินดีที่มีประโยชน์กับร่างกาย เมื่อได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีในแสงแดด หมายความว่า เราต้องไปยืนที่มีแสงแดดส่องถึงก่อนเวลา 9.00น.เพื่อให้มีการสังเคราะห์โคเลสเตอรอล แต่ถ้าโดนแดดหลังเวลา 10.00น.หน้าจะไหม้แถมได้กระ ฝ้าเป็นของแถมติดตัวไปตลอดชีวิตค่ะ

2.คอเลสเตอรอล(cholesterol)มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารในกลุ่มแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต (ยิ่งรับประทานแป้งมาก ร่างกายจะสร้างคอเลสเตอรอลมากขึ้นตาม)

3.คอเลสเตอรอล(cholesterol)เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างฮอร์โมนกลุ่มสเตรียรอยด์จากต่อมหมวกไต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิต เช่น คอร์ติโซล(cortisol)

4.คอเลสเตอรอล(cholesterol)เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งยังจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง

ความแตกต่างของคอเลสเตอรอล(cholesterol)แต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับโปรตีนที่เกาะด้วย 

ไลโปโปรตีน(lipoprotein)เป็นโปรตีนในเลือด
 ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล(cholesterol)

แบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
1.ไคโลไมครอน (Chylomicron) จะสร้างที่ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ขนส่งอาหารไขมันที่เรารับประทาน แล้วนำโคเลสเตอรอลบางส่วนไปเก็บไว้ที่ตับ จากนั้นจึงลำเลียงไตรกลีเซอไรด์ไปไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน 

การมีระดับไคโลไมครอนสูง (Hyperchyromicronemia) เกิดจากการรับประทานอาหารไขมันสูง และระดับของไคโลไมครอนจะสูงภายใน 3-4 ชม. ภายหลังรับประทานอาหารไขมัน และจะหมดไปใน 12-14 ชม. 

หากรับประทานอาหารที่มีไขมันเกินความสามารถของร่างกาย ในการเผาผลาญไตรกลีเซอไรด์เป็นพลังงานให้หมด ร่างกายจะสะสมทำให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด



2.ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (Very low density lipoprotein : VLDL )

ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำมาก(VLDL)มีเพียงร้อยละ15ของคอเลสเตอรอลในเลือด แต่เป็นสารที่ตับต้องการเพื่อใช้ในการสร้างแอลดีแอล(LDL) ยิ่งมีแอลดีแอลมาก ตับจะยิ่งส่งแอลดีแอลออกมามาก และเราจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นด้วย ว๊าย! น่ากลัวแท้

3.ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นปานกลาง (Intermediate density lipoprotine : IDL)
เมื่อไตรกลีเซอไรด์ ใน VLDL และไคโลไมครอนนำไปใช้เป็นพลังงานแล้ว อนุภาคของ VLDL จะเล็กลงเรียกว่า IDL โดยมีสัดส่วนของไตรกลีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอลใกล้เคียง ทั้งนี้ IDL จะเป็นสารตั้งต้น (Precursor) ของไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotine : LDL)

4.ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotine : LDL)

ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ(LDL)มีจำนวนประมาณร้อยละ65ของคอเลสเตอรอลในเลือด และจัดว่าเป็นผู้ร้ายที่คอยขนถ่ายคอเลสเตอรอลไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับสารอื่นๆจะกลายเป็นคราบอุดตันเส้นเลือด 

5.ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High density lipoprotine : HDL )

ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง(HDL)มีประมาณร้อยละ 20 ของคอเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด มีส่วนประกอบหลักคือเลซิทิน ทำหน้าที่ล้างคราบไขมันจากผนังหลอดเลือดและคอยขนถ่ายคอเลสเตอรอล โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน 

การศึกษาล่าสุด พบว่า ผู้ที่มีสะโพกใหญ่แต่เอวบาง 
จะมีเอชดีแอล(HDL)สูงกว่าผู้ที่อ้วนลงพุง ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายว่าเพราะเหตุใดผู้หญิงจึงมีอายุยืนกว่าผู้ชายถึงแปดปีโดยเฉลี่ย ถึงว่าสิ ผู้ป่วยที่ทำ bypass หัวใจ ส่วนใหญ่มีแต่เพศชายทั้งสิ้น แต่คงมีปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ฯลฯ


สั้นๆง่ายๆคือ ยิ่งมี HDL มาก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจจะยิ่งน้อยลง

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าอัตราการบริโภคไข่ในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเมื่อปีค.ศ1945 แต่อัตราการเป็นโรคหัวใจไม่ได้ลดลงตามไปด้วย และแม้ว่าสมาคมโรคหัวใจ สหรัฐอเมริกาจะลงความเห็นว่า ไข่มีอันตราย แต่การไม่รับประทานเลยก็อาจมีอันตรายพอกัน ไข่ไม่เพียงแต่จะเป็นโปรตีนสมบูรณ์แบบที่สุดกว่าอาหารอื่น มันยังมีเลซิทิน(lecithin)ซึ่งช่วยในการดูดซึมไขมัน ที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยเพิ่มระดับของเอชดีแอลได้อีกด้วย

สารต้านไขมัน คืออะไร
เมไทโอนีน(methionine)โคลีน(choline)อินอซิทอล(inasitol)และบีเทน(betaine)

ล้วนจัดเป็นสารต้านไขมัน(lipotropics)ซึ่งหมายความว่า หน้าที่หลักของมันคือ ป้องกันการสะสมของไขมันที่ตับไม่ให้มากเกินควรหรือผิดปกติ นั่นเอง

ทุกคนล้วนต้องการสารต้านไขมัน บางคนอาจต้องการมากกว่าคนอื่นๆโดยเฉพาะผู้ที่รับประทานอาหารโปรตีนสูงจะต้องการมากกว่าผู้อื่น

เมไทโอนีนและโคลีน จำเป็นต่อการขับสารเอมีน(amine) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญโปรตีน

เพราะคนส่วนใหญ่รับประทานอาหารในกลุ่มไขมันมากเกินไป ซึ่งไขมันที่เรารับประทานเป็นไขมันอิ่มตัว สารต้านไขมันจึงจัดเป็นส่งจำเป็นต่อร่างกาย ด้วยบทบาทในการช่วยตับสร้างเลซิทิน จึงถือได้ว่า มันช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลสะสมที่ผนังหลอดเลือด ลดโอกาสการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดแข็งตัว และลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีอีกด้วย

เรายังต้องการสารต้านไขมันเพื่อการมีสุขภาพดี เพราะช่วยต่อมไทรอยด์ในการกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน รวมถึงกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์(phagocites) ซึ่งทำหน้าที่ล้อมกรอบและกลืนไวรัส เชื้อโรคต่างๆและช่วยในการทำลายเนื้อเยื่อแปลกปลอมหรือผิดปกติอีกด้วย

บางทีเราอ่านเรื่องเหล่านี้ อาจเบ้ปากมองบนหรือไม่ใส่ใจ แต่ในความเป็นจริง ไขมันเหล่านี้มีความสำคัญกับร่างกายมนุษย์มากถึงมากที่สุด ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการ bypass หรือใส่ stent เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกๆปี ทำไมเราต้องหอบเงินหลักแสนจนถึงหลักล้าน ไปมอบให้โรงพยาบาลด้วยล่ะค่ะ 

เริ่มต้นดูแลตัวเองและคนรอบข้างตั้งแต่วันนี้ ด้วยการเลือกรับประทานที่ดีต่อสุขภาพ งดอาหารหวาน งดอาหารไขมันสูง เพิ่มผัก ผลไม้และธัญพืช ในทุกมื้ออาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ สุขภาพดีจะคงอยู่กับเราตลอดไปค่ะ




ที่มา
Vitamin bible
158.108.70.5>lipida>lipoprotein



เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม