บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อาร์ติโชก ( artichoke)สุดยอดสมุนไพรล้างพิษในถุงน้ำดี

อาร์ติโชก ( artichoke) เป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเขตเมดิเตอร์เรเนียน มีสรรพคุณทางยา สามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร ซึ่งเป็นเมนูสำคัญของงานเลี้ยงรับรองทางยุโรป 

อาร์ติโชกเป็นไฟโตนิวเทรียนซ์ (phytonutrient)มีสารประกอบสำคัญชื่อ cynarin (ไซนาริน)ที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย

ลักษณะทรงต้นและใบ มีขนาดใหญ่โตเต็มที่ จะมีขนาด 1.80 เมตร ใบหยักเป็นแฉกลึกสีเขียวอมเทาหรือขาวอมเทา ดอกประกอบไปด้วย กลุ่มของกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ บนก้านดอก ลักษณะของดอกทรงแตกต่างกันไป ตามลักษณะสายพันธุ์ ผลิดอกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม


พูดถึงกระบวนการล้างพิษที่เห็นผลชัดเจนในโลกใบนี้ โดยเฉพาะการล้างพิษในตับรวมถึงถุงน้ำดี จะต้องมีชื่อของอาร์ติโชก(artichoke)ติดโผอยู่ลำดับต้นๆ เสมอ 

มีประโยชน์อย่างไร
1.ลดอาการท้องอืด ลดแก๊สในกระเพาะอาหาร

2.กระตุ้นการผลิตน้ำดีเพื่อใช้ย่อยอาหารประเภทไขมัน แล้วเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี โดยถุงน้ำดี มีหน้าที่เก็บกักน้ำดีจากตับ   เพื่อช่วยทำให้น้ำดีเข้มข้นขึ้น และมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งขจัดสารพิษออกจากตับ ก่อนนำส่งเข้าลำไส้เล็กผ่านทางท่อน้ำดี 

3.เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
4.มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
5.รักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
6.เพิ่มไขมันชนิดดี HDL 

7.ลดไขมันคอเลสเตอรอล สารสกัดจากอาติโช๊คเป็นหนึ่งในไม่กี่ phytopharmaceuticals ที่มีผลทางคลีนิก ได้รับการพิสูจน์และยืนยัน จากการวิจัยทางการแพทย์ 

ซึ่งระบุว่ามีบางส่วนของกลไกการออกฤทธิ์ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันเซลล์ตับรวมถึงถุงน้ำดี และช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลอีกด้วย

8.ลดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
9.บำรุงเซลล์ตับ
10.ลดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ

11.มีเส้นใยละลายน้ำที่พบในอาร์ติโชก คือ อินนูลิน(inulin)ซึ่งเป็นโพรไบโอติก(probiotic) สามารถเพิ่มสัดส่วนของโพรไบโอติกหรือแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ได้

อินูลิน (inulin) คือ คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) จัดเป็น เส้นใยอาหาร (dietary fiber) ประเภทที่ละลายได้ในน้ำ (soluble fiber) ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารและไม่ให้พลังงาน แต่ถูกย่อยได้ด้วยแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ มีสมบัติเป็นพรีไบโอติก (prebiotic) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

12.ช่วยลดไขมันเลว LDL 
ในปี 2001 มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีไขมันคอเลสเตอรอลรวมในเลือดสูง(lipid profile)จำนวน 143 คน พบว่า สามารถลด LDL ลง 26% เมื่อรับประทานอาร์ติโชกวันละ 1800 mg เป็นเวลา 6 สัปดาห์

13.ช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี โรคนี้พบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ  สาเหตุสำคัญอีกประการคือ อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

 โรคนิ่วในถุงน้ำดี มักเกิดจาก
1.พันธุกรรม 
2.ความอ้วน 
3.ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ 
4.โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้

5.การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น

ผลข้างเคียง : ผื่น ลมพิษ คัน 

เน้นย้ำว่า ก่อนที่เราคิดจะล้างพิษใดๆ ควรตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ(liver enzyme)หรืออัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบน(upper ultrasound) เสียก่อนนะคะ อย่ามโนเอาว่า กินวิตามินเยอะๆ กลัวตับป่วย ตับพัง แล้วจะต้องล้างพิษ ไม่ใช่เลยค่ะ

ตอนที่แป้งเป็นนักศึกษาพยาบาล ได้ฝึกงานที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น อยู่หอผู้ป่วยอายุรกรรม โห! มีคนไข้สูงอายุ  รอคิวผ่าตัดถุงน้ำดีเพียบเลยค่ะ เคยเลียบเคียงถามแพทย์ศัลยกรรมว่า ทำไมต้องตัดถุงน้ำดีทิ้งด้วยล่ะค่ะ

คำตอบ คือ หากไม่ตัดทิ้งไป อาจมีโอกาสอักเสบได้อีก
 ไหนๆก็ผ่าตัดแล้ว ตัดถุงน้ำดีทิ้งไปด้วยเลย

อืม! ชีวิตหลังตัดถุงน้ำดีของคนไข้ ก็ประคับประคองกันไป ร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เอง เมื่อสูญเสียอวัยวะภายในบางอย่างไป






ที่มา 



วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

milk thistle สุดยอดสมุนไพรล้างพิษในตับ

คนเราทุกวันนี้ได้รับอนุมูลอิสระจากหลายทาง เริ่มต้นจากลมหายใจเข้า-ออกทุกเมื่อเชื่อวัน ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระจากการสันดาปภายในเซลล์อยู่ตลอดเวลา โรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่หากไม่เกิดจากพันธุกรรม อาหารจัดเป็นสิ่งกระตุ้นลำดับต้นๆเลยนะคะ

ใน blog นี้จะพูดถึงตับ(liver)เราอาจจะนึกภาพไม่ค่อยออก  เพราะเป็นอวัยวะภายในที่สังเกตุความเปลี่ยนแปลงได้ยาก นอกจากการตรวจเลือดหรืออัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบน ฯลฯ

โดยตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ (liver cells หรือ hepatocytes) ซึ่งมีหน้าที่ดังนี้

1.ผลิตน้ำดี ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเซลล์ตับ

2.ควบคุมเมแทบอลิซึม(metabolism)ของสารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ได้แก่

o  การสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคสจากกรดอะมิโน กรดแลคติค หรือกลีเซอรอล

o  การสร้างไกลโคเจน(glycogen)จากน้ำตาลกลูโคส

o  ควบคุมเมแทบอลิซึมของไขมัน โดยเฉพาะการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล(cholesterol)และไตรกลีเซอไรด์(triglyceride)

3.ผลิตสารที่เป็นปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factors)

4.แปรรูปโมเลกุลของฮีโมโกลบินที่ได้จากการทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุจากม้าม เพื่อสร้างเป็นรงควัตถุน้ำดี(bile pigments) เช่น บิลิรูบิน (bilirubin) และบิลิเวอดิน (biliverdin)

5.แปรสภาพสารพิษและยาต่างๆให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถขับออกไปได้ 

6.เปลี่ยนแอมโมเนียที่เกิดจากการสลายโปรตีนให้เป็นยูเรีย เพื่อขับออกทางปัสสาวะ

7.เก็บสะสมวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เหล็ก ทองแดง วิตามินบี12(ร่างกายสามารถเก็บสะสมวิตามินบี12 ได้โดยใช้เวลา 3ปี กว่าที่วิตามินจะสูญสลายไป)

8.ในระยะตัวอ่อนช่วงสามเดือนแรก ตับเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงที่สำคัญ จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 32 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งต่อมาการผลิตเม็ดเลือดจะอยู่ในไขกระดูก

9.นำส่งกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้ร่างกายใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง และปล่อยน้ำดีเข้าไปในลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมอาหารประเภทไขมัน

ใครที่อ่านแล้วงง ก็ผ่านไปก่อนได้ค่ะ บางทีเรื่องพวกนี้ห่างไกล แต่ความจริงอยู่ใกล้แค่เพียงกระพริบตา เอาเป็นว่า ตับเป็นอวัยวะที่ทนทายาด เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์ตับ(hepatocytes)ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมถึงการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็ก มีจำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ

 เมื่อใดที่ตับเกิดความเสียหาย จนไม่อาจใช้งานได้ เซลล์ตับจะถูกทำลายอย่างถาวร โดยเริ่มต้นจากอาการตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด 



ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีอาการแสดง กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก ก็มักอยู่ในระยะสุดท้ายของโรคแล้วทั้งสิ้น ไม่มีอะไรจะน่ากลัวไปมากกว่าอีกแล้ว

แต่เดี๋ยวก่อน มีสมุนไพรบางชนิดที่ช่วยบำรุงตับ ฟื้นฟูเซลล์ตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เช่น milk thistle(มิลค์ทิสเซิล),artichoke(อาร์ติโชค),dandelion(แดนดิไลออน)ฯลฯในที่นี้จะโฟกัสเฉพาะ milk thistle เท่านั้นค่ะ

milk thistle ถูกใช้มานานกว่า 2,000 ปี มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน จัดเป็นสมุนไพรธรรมชาติอันดับหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ มีสารสำคัญชื่อ ไซลิมาริน(silymarin)เป็นที่นิยมใช้ล้างพิษในร่างกายโดยเฉพาะตับ 

milk thistle (มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Silybum marianum ) เป็นพืชที่เจริญเติบโตในรัฐแคลิฟอร์เนีย แม้ว่าจะสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ของโลกที่มีอากาศอบอุ่น เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ 

มีไบโอฟลาโวนอยด์ 3 ตัว ที่สกัดได้จากต้นมิลค์ทิสเซิล( milk thistle ) มีชื่อเรียกว่า ซิลีบิน(silybin) ซิลีไดอะนิน(silydianin) ซิลีคริสติน(silycrystine) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของตับ และยังช่วยเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเรา คือ กลูต้าไทโอน(glutathione)และเอสโอดี(SOD)อีกด้วย



มีประโยชน์อย่างไร

1.ล้างสารพิษในตับ ช่วยขจัดสารพิษที่เป็นอันตรายแล้วขับออกจากร่างกาย

2.ลดภาวะไขมันพอกตับ(fatty liver)และเอนไซม์ตับสูง ซึ่งต้องตรวจเลือดเพื่อเช็คค่าเอนไซม์ตับ(SGOT,SGPT) และตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบน (upper ultrasound) เพื่อเช็คสภาพตับว่า มีไขมันพอกตับอยู่หรือไม่

 3.ลดสิวอักเสบและสิวอุดตันได้ในบางคน

4.ลดอาการเมาค้าง (hang) หลังจากดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

5.ฟื้นฟูเซลล์ตับ

6.เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กินยารักษาโรคต่อเนื่องและเป็นเวลานาน

7.เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี,ซี

8.ช่วยบรรเทาโรคเกาต์

9.ลดระดับน้ำตาลในเลือด อาจช่วยควบคุมหรือป้องกันโรคเบาหวาน

10.ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล โดยการลดการอักเสบ, ทำความสะอาดหลอดเลือดและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบหลอดเลือด



ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ปวดศรีษะ

ปัจจุบัน milk thistle จัดเป็นอาหารเสริมในประเทศอเมริกา มาเลเซีย แต่ในประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาชื่อ silymarin (ไซลิมาริน)ซึ่งเป็นยาอันตราย จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้

ข้อควรระมัดระวัง 

Milk thistle เป็น ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen) หากฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานมากเกินไป จะเหนี่ยวนำให้เกิดซีสต์(cyst) ที่เต้านม หรือ มะเร็งเต้านม ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องล้างพิษเพียงเพราะเหตุผลว่า กินอาหารเสริมมาเยอะ ไม่ควรกินมิลค์ทิสเซิลต่อเนื่องนานๆ



แต่ถ้าหากจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้าจัด ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี,ซี ,กินยารักษาโรคประจำตัวมาเนิ่นนาน คนที่ตับผิดปกติ(ไขมันพอกตับ),มีค่าการทำงานของเอนไซม์ตับผิดปกติ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะต้องกินมิลค์ทิสเซิลเพื่อบำรุงเซลล์ตับค่ะ





ที่มา 








hamorr.com>ไซลิมาริน

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ทำไมเนื้อปลาแซลมอนจึงมีสีส้มแตกต่างกัน



พูดถึงปลาแซลมอน เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงสีส้มสวย ของเนื้อที่มีไขมันแทรกเป็นริ้วๆ ซึ่งเป็นไขมันดีที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นกรดไขมันต่อการทำงานของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 

ส่งผลให้ปลาแซลมอนเป็นที่นิยม แม้ว่าจะเป็นปลาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ก็สามารถหากินได้ตามร้านอาหารและมีขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

ปลาแซลมอนที่เรากินแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.แซลมอนแอตแลนติก (atlantic salmon)
2.แซลมอนแปซิฟิก (pacific salmon)

ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมและคุ้นเคย คือ chinook,chum,coho,pink และ sockeye รวมถึงสายพันธุ์เอเชียอย่าง masu และ amago 

ส่วนชื่ออื่นๆที่ใช้นำหน้ามักจะเป็นการบอกแหล่งที่จับมา เช่น alaskan,norwegian,baltic

ถ้าใครเคยไปเลือกซื้อปลาแซลมอน อาจจะสังเกตว่า เนื้อปลามีหลายเฉดสี แตกต่างกันไป ตั้งแต่ส้มอ่อนไปถึงส้มอมแดงหรือชมพู แถมริ้วไขมันก็ไม่เหมือนกันด้วย มีตั้งแต่เห็นเป็นแถบสีขาวเป็นริ้วชัดเจน ความหนาต่างๆกันไป จนถึงเป็นมันกระจายแทรกในเนื้อแบบ marble 

สีและริ้วไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อปลาแซลมอนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 2 อย่าง คือ

1.Pink salmon ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า เนื้อจะมีสีอมชมพูมากกว่าพันธุ์อื่น

เป็นพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกกว่าและเย็นกว่า มักจะมีมันแทรกในเนื้อมากกว่า เพราะต้องเอาไว้สู้กับความหนาวเย็น

2.ความเข้มสดของสีเนื้อปลาแซลมอน มาจากอาหารที่กินเข้าไป แซลมอนที่โตในทะเลตามธรรมชาติ หรือเรียกว่า แซลมอนป่า (wild salmon) จะกินเคย (krill) กุ้ง หอย และปูตัวเล็กๆ เป็นอาหาร

 ซึ่งเปลือกของสัตว์พวกนี้จะมีสารแอสตาแซนทิน (astaxanthin) และ แคนทาแซนทิน (canthaxanthin) ซึ่งเป็นรงควัตถุสีส้มและสีแดง ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids) เช่นเดียวกับเบต้าแคโรทีน (beta-carotene) ที่มีอยู่ในแครอทและฟักทอง

สีส้มแดงของเปลือกกุ้งและปูสุกก็มาจากรงควัตถุ 2 ตัวนี้นี่เอง 

ที่เราเห็นสีของมันเฉพาะตอนสุก เพราะแอสตาแซนทินที่มีอยู่ในเปลือกกุ้งและปูตามธรรมชาติ ถูกโปรตีนจับเอาไว้ จึงมองไม่เห็นสีชัดเจน พอถูกทำให้สุก ความร้อนจะทำให้โปรตีนเสียสภาพและไม่สามารถจับแอสตาแซนทินเอาไว้ได้อีก 

เปลือกกุ้งและปู จึงได้รับเอาแอสตาแซนทินเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อด้วย แต่แอสตาแซนทินในเนื้อปลาแซลมอน ไม่ได้จับอยู่กับโปรตีน เราจึงเห็นเนื้อปลาแซลมอนเป็นสีส้มแดงที่มีความเข้มสดต่างกันไป 

ขึ้นอยู่กับปริมาณแอสตาแซนธินที่มีอยู่ในเปลือกกุ้งและปู ที่กินเข้าไปนั่นเอง คล้ายๆกับเวลาที่เรากินแครอทหรือฟักทองปริมาณติดต่อกันเวลานาน ผิวหนัง มือ และเล็บก็จะมีสีเหลืองอมส้มเพราะเบต้าแคโรทีน จะเข้าไปสะสมอยู่ใต้ผิวหนังเรา

ต่อไปจะกล่าวถึงปลาแซลมอนเพาะเลี้ยง

ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนในระบบฟาร์มเกิดขึ้นมากมาย ในหลายๆประเทศที่เป็นผู้ส่งออก โดยเฉพาะนอร์เวย์ ชิลี และแคนาดา ถ้าต้องรอให้ขยายพันธุ์และโตเองตามธรรมชาติ แล้วค่อยไปจับมาจากทะเล คงไม่สามารถผลิตปลาแซลมอนได้เพียงพอและทันกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก แถมปลาแซลมอนเลี้ยงก็มีราคาถูกลงกว่าปลาที่จับด้วย

ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ปลาแซลมอนแอตแลนติกเกือบทั้งหมดได้มาจากการเลี้ยง ซึ่งคิดเป็น 2ใน 3 ของปลาแซลมอนที่วางขายทั้งหมด

 ในขณะที่ปลาแซลมอนแปซิฟิก ส่วนใหญ่ยังได้จากการจับจากทะเล ซึ่งการเลี้ยงปลาแซลมอนในฟาร์ม มักจะให้ปลากินอาหารเม็ดสำเร็จรูป 

ลองนึกภาพอาหารเม็ดที่เราใช้เลี้ยงปลาในตู้ที่บ้าน หรือในบ่อตามวัดหรือสวนสาธารณะ การเลี้ยงปลาในระดับฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นปลาช่อน ปลาดุก ปลากะพงแบบบ้านเรา หรือปลาแซลมอนก็มีอาหารสำเร็จรูป ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบหลายๆอย่าง ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วอัดเป็นเม็ดๆ อาหารนี้จะผสมขึ้นตามสูตร เพื่อให้ปลาได้รับสารอาหารครบถ้วน ตามกระบวนการที่จำเป็นในการเจริญเติบโต

ส่วนผสมที่นิยมนำมาใช้ผลิตอาหารปลาแซลมอนคือ น้ำมันปลาและเนื้อของปลาขนาดเล็กที่เอาไปทำป่น เช่น ปลาหลังเขียวและปลากะตัก กากถั่วเหลือง ข้าวโพด และไขมันสัตว์ 

อาหารสำหรับปลาแซลมอน จึงมีสีไม่ต่างจากอาหารเลี้ยงปลาที่เราเคยเห็นกัน เนื้อของปลาแซลมอนเลี้ยง จึงมักมีสีส้มแดงไม่สด เหมือนปลาแซลมอนตามธรรมชาติ หรือบางสายพันธุ์ที่เลี้ยง อาจมีเนื้อสีขาวหรือขาวอมเทาเหมือนปลาอื่นทั่วไป ห๊า! เพิ่งจะรู้ว่ามีสีแบบนี้ด้วย

นักเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เลยต้องผสมแอสตาแซนธินเข้าไปในอาหารเลี้ยงปลาแซลมอน เพื่อให้เนื้อปลามีสีส้มแดงสวย 

แอสตาแซนธินที่ผสมเข้าไป อาจได้มาจากเปลือกกุ้งปู นำไปบดเป็นผงละเอียด หรือเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากปิโตรเลียม จะเติมในอาหารมากหรือน้อยเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับสูตรผู้ผลิต และความต้องการให้สีของเนื้อปลาแซลมอนเข้มแค่ไหน อืม!กรรมวิธีเหนือธรรมชาติจริงๆ

ว่ากันว่า ราคาของอาหารเลี้ยงปลาเป็นค่าแอสตาแซนธิน ( astaxanthin ) ที่เติมลงไปถึง 20% ของราคาเลยทีเดียว

การใช้ส่วนผสมอาหารที่มีรงควัตุกลุ่มแคโรทินอยด์มาเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้มีแค่เฉพาะปลาแซลมอน 

จริงๆแล้วเป็นหลักการที่ทำกันทั่วไป เหมือนกับบ้านเราผสมดอกดาวเรืองในอาหารเป็ด ไก่ เพื่อให้ไข่แดงมีสีส้มสวย ไม่ได้เอาเนื้อปลาไปย้อมสีแต่อย่างใด ถึงว่าสิ ไข่แดงแต่ละที่จะมีเฉดสีเหลืองบ้าง ส้มบ้าง อย่างนี่เอง  

สีของเนื้อปลาแซลมอนที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปกับที่มีสีส้มตามธรรมชาติ ก็เหมือนกันจนแยกไม่ออก เพราะสีส้มแดงจากรงควัตถุตัวเดียวกัน นอกจากว่าผสมลงในอาหารปลามากเกินไป จนสีเข้มมากเกินกว่าสีธรรมชาติของปลาแซลมอนสายพันธุ์นั้น

แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางท่าน ให้ข้อสังเกตุว่าเนื้อปลาเลี้ยงจะมีสีส้มอย่างเดียว ขาดโทนสีแดงไป เพราะไม่ค่อยมีคนเติมแคนทาแซนธิน ซึ่งเป็นรงควัตถุสีแดงลงในอาหารปลา

 มีการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในแคนาดา ในการเลือกซื้อเนื้อปลาแซลมอน พบว่า สีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ผู้บริโภคใช้ในการเลือกซื้อและตัดสินคุณภาพของเนื้อปลาแซลมอน 

โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่า เนื้อปลาแซลมอนที่มีสีแดงกว่า มีความสดใหม่กว่า และมีราคาแพงกว่าด้วย 

โดยจะยอมจ่ายเงินแพงกว่าถึง 1 ดอลล่าร์สหรัฐต่อ 1 ปอนด์(ประมาณ 500 กรัม) เพื่อซื้อเนื้อปลาที่มีสีแดงเข้มกว่า และถ้าเนื้อปลามีสีอ่อนเกินไป จะไม่ซื้อ เนื่องจากมีทัศนคติว่าเป็นเนื้อปลาที่ไม่สดและไม่มีคุณภาพ

ผู้เลี้ยงปลาแซลมอน จึงจำเป็นต้องใช้อาหารผสมแอสตาแซนธินเพื่อเลี้ยงปลาแซลมอน ให้มีสีส้มสดสวยงาม

อย่างไรก็ตาม แอสตาแซนธิน (astaxanthin) เป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทั่วโลกจึงอนุญาตให้ใช้เป็นส่วนผสมที่เติมลงในอาหารปลาได้

ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ ปลาแซลมอนตามธรรมชาติและปลาแซลมอนเลี้ยงมีปริมาณโปรตีนแทบจะไม่ต่างกัน 

แต่ปลาแซลมอนเลี้ยงมีไขมันสูงกว่าเกือบ 2 เท่า จึงมีปริมาณกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูงกว่าด้วย แต่ถ้าเทียบในปริมาณไขมันเท่ากัน ก็ไม่ได้มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ต่างกันเลย แต่จะมีไขมันอิ่มตัวมากกว่าแซลมอนตามธรรมชาติ สาเหตุเพราะแซลมอนเลี้ยงว่ายน้ำออกกำลังกายน้อยกว่า เลยมีไขมันสะสมในตัวมากกว่านั่นเอง









ที่มา : 
Food facts,ดร.ณัฐพล ตั้งสุภูมิ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล,Gourmet & Cuisine

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

โสมอินเดีย(ashwagandha) กับภาวะซึมเศร้าที่ใครเล่าจะเข้าใจ



สภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจขาขึ้น (ก่ายหน้าผาก) หันไปทางไหนก็มีแต่ความวิตกกังวลจนกลายเป็นความเครียดอย่างไม่รู้ตัว ไปๆมาๆขยับระดับขึ้นเป็นภาวะซึมเศร้าแทรกซึมลึกอยู่ภายในจิตใจที่แสนบอบบาง 

 ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนประมาณ 3.4% ที่มีโรคประจำตัวจะฆ่าตัวตายและคนถึง 60% ที่ฆ่าตัวตาย จะมีความซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น 

ส่วนประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่สามัญที่สุด (3.2%) ตามงานสำรวจสุขภาพจิตไทยปี 2546 โดยเป็นอันดับ 1 ในหญิงและอันดับ 4 ในชาย ไม่มีใครอยากจะเป็นแบบนี้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะมีวิธีรับมือและแก้ปัญหาอย่างไรดี

ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้า ได้แก่
  1. กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะกรณีของผู้ที่มีอาการเป็นซ้ำหลายๆ ครั้ง
  2. สารเคมีในสมอง พบว่า ระดับสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน สารที่สำคัญคือ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine) ลดต่ำลง และอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสารสื่อเคมีเหล่านี้ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาต้านเศร้าที่ใช้ในปัจจุบัน จะออกฤทธิ์โดยการปรับสมดุลของระดับสารเคมีเหล่านี้
  3. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง  มองโลกในแง่ร้ายหรือคาดหวังกับทุกเรื่องมากเกินไป เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ผิดหวัง ตกงานหย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย 

เมื่อสาเหตุบางประการของโรคซึมเศร้า เกิดจากสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล วิธีอย่างง่ายๆที่จะช่วยปรับสมดุลจิตใจและสารเคมีในสมองให้ดียิ่งขึ้นคือ โสมอินเดีย ( ashwagandha ) ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในตำราอายุรเวทเป็นเวลามากกว่า3,000 ปี ในอินเดีย ปากีสถานและศรีลังกา เพิ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบตะวันตกเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมานี่เองค่ะ

ลองมาดูคุณสมบัติของโสมอินเดียกันนะคะ

มีประโยชน์อย่างไร
1.เพิ่มพลังงาน ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย มีการศึกษาทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า Ashwagandha มีผลในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดสูงขึ้นและการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้มีเรี่ยวแรงมากกว่าปกติ

2.ลดภาวะซึมเศร้าได้ดีเทียบเท่ายากลุ่มbenzodiazepine ซึ่งเวลาที่กินยากลุ่มนี้นานๆ จะสูญเสียความทรงจำบางช่วงเวลาไป 

3.บรรเทาความเครียด ลดความวิตกกังวล
4.ช่วยทำให้นอนหลับสนิทได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก
5.ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะสตรีวัยทอง ที่มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
6.บำรุงสมอง ช่วยฟื้นคืนความทรงจำ ล่าสุดมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า Ashwagandha ช่วยลดความจำเสื่อม โดยอาจป้องกันสมองจากความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของเซลล์สมอง (พบในสัตว์ทดลอง)

7.ปรับสมดุลต่อมไทรอยด์ โสมอินเดียมีคุณสมบัติเป็น adaptogen ที่สำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจจากความเหนื่อยล้าทั้งปวง เหมาะสำหรับผู้ที่อ่อนเพลีย หมดแรงง่าย จากพยาธิสภาพของโรค hypothyroid (โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่เป็นสาเหตุได้บ่อยที่สุด มีชื่อเรียกว่า โรคฮาชิโมโต(Hashimoto's thyroiditis) ซึ่งเป็นโรคออโตอิมมูนชนิดหนึ่ง เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อตัวเองโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด)

8.เพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน
9.รักษาความสมดุลต่อมหมวกไต ต่อมหมวกไตเป็นต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ในการปลดปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ในการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย

10.เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ แต่ไม่มีผลกับผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศไปแล้ว
11.เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความทนในการออกกำลังกาย
12.ชะลอความชราจากความสมดุลของต่อมหมวกไต หากเราต้องการความอ่อนวัยและมีสุขภาพดีจะต้องมีระดับฮอร์โมน cortisol ที่สมดุล

13.Ashwagandha อาจช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ซึ่งช่วยในการยับยั้งความอยากน้ำตาล ( พบในสัตว์ทดลอง )

ผลข้างเคียง : กระหายน้ำ ผื่นคัน ใจสั่น มึนงง

แป้งได้ทดลองกินโสมอินเดียเพียงเพราะเห็นสรรพคุณเพิ่มพลังงานแถมช่วยให้นอนหลับได้ดี โดยช่วงเวลาก่อนนอน หลังกินไปไม่กี่นาที รู้สึกตาหนักๆ ง่วงอะไรปานนั้น ซึ่งแป้งไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน ขนาดกินเมลาโทนิน ยังใช้เวลาเป็นชั่วโมง กว่าจะข่มตาหลับลงได้ เพียง 1 อาทิตย์ก็เห็นผลชัดเจนเลยค่ะ นึกไม่ถึงว่า จะได้ผลเร็วเพียงนี้ 

ตอนนี้แป้งหวังผลในเรื่องชะลอความชราที่มาจากความสมดุลของต่อมหมวกไต เรื่องนี้คนทั่วไป ไม่ค่อยมีใครสนใจประเด็นนี้ ถ้าเราเหนื่อยมากๆ หมดแรงอ่อนล้า หมดกำลังใจบ่อยๆ ลองพิจารณาดูนะคะ

ตอนแรกกะว่า จะไม่หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำบล็อกโสมอินเดีย แต่เผอิญนึกได้ว่า เคยมีแฟนบล็อกเขียนมาถามเรื่องวิตามินเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า แป้งเลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาค่ะ

ขอนอกเรื่องนิดนึง ในอดีตแป้งนอกจากจะเป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็กแล้ว ร่างกายยังไม่ค่อยแข็งแรงจากสาเหตุการเป็นพาหะธาลัสซีเมียแต่กำเนิด มักมีอาการหน้ามืดเป็นลมง่าย ตั้งแต่ประถมยันเรียนมหาวิทยาลัยเลยค่ะ 

ยังจำได้ดีตอนเรียนปีหนึ่ง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น น้องใหม่จะต้องขึ้นแสตนด์เชียร์ทุกคน ไม่มีใครได้รับการยกเว้น 

ตอนบ่ายสอง แสงแดดไม่เคยปราณีใคร แป้งนั่งซ้อมร้องเพลงเชียร์ประจำคณะอยู่ดีๆ หน้าเริ่มมีสีซีดเหมือนกระดาษรู้สึกเหมือนใจหวิวๆจะเป็นลมจึงกระซิบบอกเพื่อนที่นั่งข้างๆ แค่แป๊บเดียว พี่สต๊าฟปีสี่ จึงพากันหิ้วปีกลงมาพักด้านหลังแสตนด์เชียร์ นั่งพกยาลม ดมยาหอมกันไปกับเพื่อนๆอีก 3-4 คน

พอหมดฤดูกาลขึ้นสแตนด์เชียร์ แป้งเดินสวนกับเพื่อนพยาบาลเกือบทั้งคณะ สังเกตุว่า เพื่อนๆหน้าไหม้ดำ คล้ำแดดเป็นทิวแถว มีแต่แป้งที่หน้ายังขาวผ่องเพราะไม่ได้ขึ้นแสตนด์เชียร์ จากความไม่แข็งแรงของร่างกาย ดีตรงนี้เนอะ 

ดังนั้นแป้งจึงเสาะแสวงทดลองกินแต่วิตามินที่เพิ่มพลังงานเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะรู้ดีว่า ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าที่เป็นปกติในชีวิตประจำวันจะนำพาความชรามาหาเราเร็วขึ้น จากการที่เซลล์ต้องใช้ออกซิเจนมากกว่าปกติ ใครที่ผ่านมาอ่านอย่าได้แปลกใจเลยนะคะ 
























ที่มา 
www.herbwisdom/herb-ashwagandha-html
https://th.wikipedia.org>wiki>โรคซึมเศร้า

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม