บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

แคลเซียมจำเป็นแค่ไหนในแต่ละช่วงของชีวิต

พูดถึงแคลเซียม สิ่งสำคัญที่สุดคือ

ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการอาหารเสริมแคลเซียม แต่บางคนอาจได้รับประโยชน์จากการรับประทานแคลเซียม 


การเสริมแคลเซียมไม่ได้ชดเชยปัจจัยอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อกระดูกที่แข็งแรงและสุขภาพโดยรวม สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานอาหารที่เพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการ (การมีน้ำหนักน้อยเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพกระดูกที่ไม่ดี) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้กระดูกอ่อนแอและเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน


แคลเซียมที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดจะมีหลายรูปแบบ ซึ่งให้ประโยชน์เหมือนกันแต่การดูดซึมแตกต่างกัน แบบที่เป็นเม็ดฟู่ ชนิดเม็ด และชนิดแคปซูล โดยอยู่ในรูปของเกลือของแคลเซียมชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) แคลเซียมซิเทรต (calcium citrate) แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) แคลเซียมแล็กเทต (calcium lactate) และ แคลเซียมแอลทรีโอเนต (calcium L-threonate) เป็นต้น


เกลือของแคลเซียมแต่ละชนิดจะให้ปริมาณแคลเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

1.แคลเซียมคาร์บอเนต จะให้แคลเซียมร้อยละ 40

2.แคลเซียมซิเทรต จะให้แคลเซียมร้อยละ 21

3.แคลเซียมแล็กเทต จะให้แคลเซียมร้อยละ 13

4.แคลเซียมแอลทรีโอเนต จะให้แคลเซียมร้อยละ 13

5.แคลเซียมกลูโคเนต จะให้แคลเซียมร้อยละ 9


อาหารเสริมแคลเซียมสองรูปแบบหลักคือ คาร์บอเนตและซิเตรต แคลเซียมคาร์บอเนตมีราคาถูกที่สุดและมักเป็นตัวเลือกแรกที่ดีจากคุณสมบัติที่ให้แคลเซียมมากถึง 40%

แคลเซียมรูปแบบอื่นในอาหารเสริม ได้แก่ กลูโคเนต แลคเตทและแอลทรีโอเนต แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต


อาหารเสริมแคลเซียมคาร์บอเนตละลายได้ดีในสภาพที่เป็น

กรด ดังนั้นควรรับประทานพร้อมอาหาร ในเมืองไทยแคลเซียมที่สตรีมีครรภ์และผู้ป่วยบาดเจ็บจากกระดูกหักมักจะได้รับจากโรงพยาบาลรัฐในชื่อทางการค้า คือ CHALKCAP เช่น CHALKCAP-1000 มีแคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มิลลิกรัม (ให้แคลเซียมร้อยละ 40 เทียบเท่าแคลเซียม 400 มิลลิกรัม)


อาหารเสริมแคลเซียมซิเตรตสามารถรับประทานได้ตลอดเวลาเพราะไม่ต้องการกรดในกระเพาะอาหารละลาย ด้วยเหตุผลนี้ผู้ที่มีปัญหาในการดูดซึมยา อาจพิจารณาใช้แคลเซียมซิเตรตแทนแคลเซียมคาร์บอเนต รวมถึงผู้ที่รับประทานทานยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบายพาสลำไส้ มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงหรือผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจได้รับประโยชน์จากแคลเซียมซิเตรตแทนแคลเซียมคาร์บอเนต


อย่าลืม!!สังเกตขนาดเสิร์ฟ (จำนวนเม็ด)ข้างฉลากกำหนดปริมาณแคลเซียมในหนึ่งมื้อ


แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ 80-90%

ไม่ต้องอาศัยวิตามิน D เพื่อดูดซึม ไม่ตกค้างในร่างกายให้เกิดนิ่วในไต ส่วนที่เหลือเพียง 10-20% จะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ 


แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต สกัดมาจากข้าวโพด สามารถดูดซึมได้ 90%

Calcium threonate เป็นเกลือแคลเซียมของกรด threnoic เป็นยาชนิดใหม่ที่พัฒนาขึ้นสำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนและเป็นอาหารเสริมแคลเซียม จึงทำให้การรับประทานแคลเซียมแอล-ทรีโอเนต 750 มิลลิกรัมก็เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายของคนสุขภาพปกติใน 1 วันคือดูดซึมได้ถึง 90 มก. เนื่องจากดูดซึมได้ดีจึงไม่ตกค้างให้เกิดนิ่วและไม่ทำให้ท้องผูก  อีกทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูกและกระดูกอ่อน


ในการศึกษาชั้นพรีคลินิก แคลเซียม L-theronate ยับยั้งการสลายของกระดูกของ osteoclasts ในหลอดทดลอง การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนโดย JuNeng Pharmaceutical Co (ปักกิ่ง ประเทศจีน) 


หลายคนอาจสงสัยว่า แคลเซียมแอลทีโอเนต 1000 มก.ต่อเม็ด หากต้องการแคลเซียมเสริม 1000 มก.ต่อวัน ต้องกินกี่เม็ด


แคลเซียมแอลทรีโอเนต (calcium L-threonate) ให้ธาตุแคลเซียม 13%  ดังนั้นแคลเซียมแอลทรีโอเนตขนาด 1,000 มิลลิกรัม จะให้แคลเซียม 130 มิลลิกรัมต่อเม็ด หากต้องการได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ต้องรับประทานแคลเซียมแอลทรีโอเนตประมาณ 7-8 เม็ด /วัน 


แต่อย่างไรก็ตาม ตามปกติเราได้รับแคลเซียมจากอาหาร เช่น นม เนย เต้าหู้ บร็อคโคลี เมล็ดธัญพืช โยเกิร์ต คะน้า งา ผักกาดขาว ปลาซาร์ดีน ฯลฯ

ในกรณีได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพิ่ม มักได้รับในขนาด 500 มิลลิกรัม/วัน (เทียบเท่ากับแคลเซียมแอลทรีโอเนต 3 -4 เม็ดต่อวัน


จากการศึกษาในสัตว์ทดลองบางชิ้น พบว่าแคลเซียมแอสคอร์เบต ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีทั้งแคลเซียมและวิตามินซีอาจถูกดูดซึมได้ดีพอๆ กับแคลเซียมรูปแบบอื่นๆ ในร่างกาย( แคลเซียมเอสคอร์เบต(calcium ascorbate)เป็นส่วนประกอบของ Ester-c,Buffered-c อย่าง Ester-c 1000 mg จะมี calcium ascorbate 100 mg)


อาหารเสริมแคลเซียมแทบทุกชนิดจะถูกดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานในปริมาณน้อย (ครั้งละ 500 มิลลิกรัมหรือน้อยกว่า)ยกเว้นแคลเซียมแอลทรีโอเนต

แคลเซียมซิเตรตจะถูกดูดซึมได้ดีเท่าๆ กันเมื่อรับประทานโดยมีหรือไม่มีอาหาร เป็นรูปแบบที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีกรดในกระเพาะน้อย(พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีหรือรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรด) โรคลำไส้อักเสบหรือการดูดซึมผิดปกติ


แคลเซียมในอาหารธรรมชาติโดยทั่วไปนั้นปลอดภัย แต่ปริมาณแคลเซียมที่มากกว่านั้นไม่จำเป็นจะต้องดีกว่าเสมอไป แคลเซียมที่มากเกินไปไม่ได้ให้การปกป้องกระดูกเป็นพิเศษ


ผู้ใหญ่อายุ 19-50 ปี ไม่ควรได้รับแคลเซียมรวมเกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน (รวมอาหารจากธรรมชาติและอาหารเสริม) ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน 


มียาใดบ้างที่ทำปฏิกิริยากับแคลเซียม

แคลเซียมสามารถลดการดูดซึมยาเหล่านี้ได้ หากรับประทานพร้อมกัน

Bisphosphonates (ยารักษาโรคกระดูกพรุน)

ยารักษาไทรอยด์

ยากันชักบางชนิด (phenytoin)

ยาปฏิชีวนะบางชนิด

อาหารเสริมธาตุเหล็ก


อาหารเสริมแคลเซียมทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย เช่น เพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร ท้องผูก และท้องอืด โดยทั่วไปแคลเซียมคาร์บอเนตจะทำให้ท้องผูกมากที่สุด 

หากรับประทานแคลเซียมมากเกินไปจนเกิดการสะสม จะลดการดูดซึมธาตุเหล็กและสังกะสี เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม มะเร็งเต้านม หินปูนในหลอดเลือด หลอดเลือดตีบตัน 


ผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น hypoparathyroidism ซึ่งเป็นภาวะที่มีการผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ อาจต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่สูงขึ้น


อาหารเสริมแคลเซียม ควรจะมีวิตามิน D3 วิตามิน K2 และแมกนีเซียมรวมอยู่ด้วย


วิตามินดี มีบทบาทในการช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม

วิตามินเคเป็นสารอาหารหลักที่ช่วยจับแคลเซียมและสร้างเซลล์กระดูกที่โตเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือด 

ในสตรีวัยหมดประจำเดือน มักมีระดับแมกนีเซียมต่ำมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วและกระดูกที่อ่อนแอลง 


เมื่อใดที่ร่างกายหรือเซลล์ที่ต้องใช้แมกนีเซียมทำงาน แต่มีไม่เพียงพอ มันจะดึงแมกนีเซียมออกมาจากกระดูก เพื่อใช้กับงานจำเป็นเร่งด่วนไปก่อน ผลก็คือ เหลือแต่แคลเซียมกับฟอสเฟตจับตัวกันที่กระดูก ทำให้ไม่แข็งแกร่ง (แมกนีเซียมเป็นตัวเสริมความแข็งแกร่ง เช่น ล้อแมกซ์รถยนต์ ซึ่งเบาแต่แข็งมาก) กรณีที่กระดูกขาดแมกนีเซียม ผลตามมาคือ กระดูกพรุนหรือเปราะ ถูกกระทบนิดหน่อยจะหักได้ง่าย เรามักพบผู้สูงอายุกระดูกหักโดยเฉพาะที่คอและกระดูกต้นขา


ส่วนแคลเซียมทำหน้าที่ตรงกันข้าม คือทำหน้าที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ หากมีปริมาณแคลเซียมมากเกินไปในกล้ามเนื้อจะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวแบบไม่ปกติ ส่งผลให้เกิดตะตริว นอกจากนี้ ธาตุทั้งสองยังช่วยในการเสริมสร้างกระดูก โดยแคลเซียมช่วยในเรื่องเสริมสร้างกระดูก ส่วนแมกนีเซียมช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง 

แมกนีเซียมกับแคลเซียม เหมือนเป็นสิ่งคู่กันที่ทำหน้าที่ต่างๆต่อระบบร่างกายของคนเรา โดยแมกนีเซียมมีหน้าที่ควบคุมระบบประสาท และส่งสัญญาณประสาทควบคุมการหดของกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว 


การเสริมแคลเซียมจึงต้องคำนึงถึงแมกนีเซียมในอัตราส่วน

แคลเซียม: แมกนีเซียม คือ  2 ต่อ 1 โดยปริมาณที่เหมาะสมต่อวันคือ แคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อ แมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม


เด็กต้องการแคลเซียมเพื่อเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง ผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียมเพื่อรักษากระดูกให้แข็งแรง เมื่อเวลาผ่านไป การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ กระดูกสันหลังร่นได้ 


ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงสูงที่จะกระดูกหักโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง กระดูกหักเหล่านี้ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความทุพพลภาพเรื้อรังยาวนาน คุณภาพชีวิตลดลง และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้น


โรคกระดูกพรุนอาจทำให้กระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นกระดูกสันหลัง  แตกหักได้ ทำให้กระดูกสันหลังยุบในบริเวณเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก และค่อย ๆ พิการ หากปัญหารุนแรงมากพอ


เราสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร

เพื่อส่งเสริมกระดูกให้แข็งแรงตลอดชีวิตและลดการสูญเสียแคลเซียม

รับประทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินดีตลอดชีวิต

ควรการออกกำลังกาย เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่รับน้ำหนัก เช่น การเดินหรือวิ่งจ็อกกิ้ง

อย่าสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

ไม่ควรดื่มคาเฟอีนมากเกินไป

บางทีเราอายุยังน้อย อาจมองข้ามแคลเซียมไป แต่แป้งเห็นผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน กระดูกบาง กระดูกสันหลังร่นแล้ว อดคิดไม่ได้ว่า นอกจากเก็บออมเงินเพื่อใช้จ่ายในอนาคตแล้ว ควรสะสมแคลเซียมเผื่อวันที่ร่างกายเข้าสู่วัยชราด้วยเช่นกัน





ที่มา 


Osteoporosis: Prevention With Calcium Treatment - Cleveland ...https://my.clevelandclinic.org › articles


Choosing a calcium supplement - Harvard Healthhttps://www.health.harvard.edu › nutrition


Calcium and calcium supplements: Achieving the right balancehttps://www.mayoclinic.org › art-20047097


Which Calcium Supplement Is Best Absorbed in the Body?https://www.livestrong.com › article › 411...


The 5 Best Calcium Supplements, According to a Dietitianhttps://www.verywellhealth.com › best-cal...


The 13 Best Calcium Supplements - Healthlinehttps://www.healthline.com › nutrition › b...


แมกนีเซียม - หมอ มวลชนhttps://www.mmc.co.th › ...


แคลเซียม / แมกนีเซียม เพื่อนรักที่ขาดกันไม่ได้https://www.mfuhospitalbkk.com › แคลเซียม-แมกนีเซ...


Boron: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactionshttps://www.verywellhealth.com › the-ben...


Calcium L-Threonate | C8H14CaO10 - PubChemhttps://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov › compound › Calcium...


Calcium threonate: Uses, Interactions, Mechanism of Actionhttps://go.drugbank.com › drugs


Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy ...https://www.ncbi.nlm.nih.gov › articles


เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม