วิตามินเคเป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญไม่แพ้วิตามินอื่นใด ในเมืองไทยไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายในไขมันคือ A,D,E,K คนส่วนใหญ่จึงกลัวว่าจะตกค้าง เป็นส่วนเกินในร่างกาย แต่เดี๋ยวก่อน วิตามินเคอยู่ที่หนใด มาดูกันดีกว่า
วิตามินเคมี 3 รูปแบบคือ
1.วิตามิน K1( phylloquinine หรือ phytonadione ) พบสูงสุดในผักใบเขียว
2.วิตามิน K2 ( menaquinone ) มีในชีส อาหารหมักดองเช่น ถั่วเหลืองหมักญี่ปุ่น ( natto ) และสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ พบในเนื้อเยื่อตับ
3.วิตามิน K3 ( menadione ) ได้จากการสังเคราะห์โมเลกุลและถูกเปลี่ยนเป็น menaquinone ที่ตับ
ใน Blog นี้จะกล่าวถึงวิตามินK2 ซึ่งมีห่วงโซ่สายยาวทรงคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของกระดูกคือ Mk-4,Mk-7
Mk-4 ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ 1998 ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ภายใต้ชื่อการค้า Glakay หากบริโภควิตามิน Mk-4 เพียง 45 mgต่อวัน สามารถลดการเกิดกระดูกหักได้มากถึง 87%
19 ก.พ 2011 กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้อนุมัติอาหารเสริมที่มี Mk-7และวิตามินD3 เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
มีประโยชน์อย่างไร
1.มีบทบาทช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผล
2.ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ
3.ลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักและโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
4.ลดไขมันโคเลสเตอรอล ตามการศึกษาและวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี ค.ศ 2004 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 4800 คน ทั้งเพศชาย&หญิงเป็นเวลา 10 ปี พบว่า วิตามิน K2 ลดความเสี่ยงของการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
5.อาจลดความเสียหายของเส้นประสาท
6.วิตามิน K 5% ในรูปครีมจะช่วยลดรอยช้ำหลังการผ่าตัดรวมถึงลดรอยคล้ำใต้ตาได้ดีอีกด้วย
7.ช่วยป้องกันการเกาะตัวของหินปูนที่ผนังหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อต่างๆ
8.มีบทบาทในการผลักแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและดูดซึมแคลเซียม
9.เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
10.ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูก osteoblastic และยับยั้งการสลายของกระดูก osteoclassic
11.ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
วิตามิน K1 มีค่าครึ่งชีวิตที่ค่อนข้างสั้น สลายตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือดและดูดซึมโดยตับภายใน 8 ชั่วโมง
วิตามิน K2 มีค่าครึ่งชีวิตมากถึง 72 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า จะยังคงใช้งานทางชีวภาพในร่างกายได้นานและถูกดูดซึมในผนังหลอดเลือด ตับอ่อน อัณฑะ โดยจะนำพาแคลเซียมเข้าสู่กระดูก ที่สำคัญอย่างยิ่งคือป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกนำไปฝากในที่ไม่ควรจะเป็น เช่น หลอดเลือดและอวัยวะที่ก่อให้เกิดอันตรายมีมากเกินจนกลายเป็นกระดูกงอกหรือจับกับหลอดเลือดแดงจนกลายเป็นหินปูนได้ อุ๊ยตาย !! น่ากลัวเนอะ นี่เป็นเหตุผลหลักที่คนบริโภคแคลเซียมแต่ไม่ได้กินวิตามิน K ร่วมด้วย
วิตามิน K จะแตกต่างจากวิตามินที่ละลายในไขมันอื่นๆเพราะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกาย
มีผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกพรุนทั้งๆที่มีการบริโภคแคลเซียมเป็นประจำ จะมีแคลเซียมส่วนเกินในหลอดเลือดแดงและกระดูก เหตุผลคือ การขาดวิตามิน K2 ที่จะช่วยป้องกันการเกิดหินปูนเกาะหลอดเลือดแดงและการสะสมของแคลเซียมมากเกินไปในหลอดเลือดแดง นานวันเข้าจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้ที่มีระดับสูงขึ้นของวิตามิน K จะมีความหนาแน่นของกระดูกมากขึ้น
ผู้ที่มีระดับต่ำของวิตามิน K เพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยที่ทำให้การดูดซึมวิตามิน K ในลำไส้ลดลง
1.การใช้ยาฆ่าเชื้อจะมีผลทำให้การผลิตวิตามิน K ในลำไส้ลดลง 74%
2.ภาวะไตวายเรื้อรัง
3.ผู้สูงอายุ
4.ผู้เป็นโรคตับ
หมายเหตุ ผู้ที่ใช้ยา warfarin ( coumadin ) ควรปรึกษาแพทย์
ผู้หญิงที่มีบุตรมาก กระดูกจะเสื่อมเร็วและกลายเป็นกระดูกพรุนเพราะลูกดึงแคลเซียมไปจากแม่ขณะตั้งครรภ์เพื่อสร้างกระดูกและฟัน นั่นเอง
ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกำลังลดระดับลงและใกล้หมดไปจากร่างกาย ส่งผลให้มวลกระดูกจะเริ่มบางลงเรื่อยๆ ควรเริ่มสะสมแคลเซียมที่มีอัตราส่วนต่อแมกนีเซียม 2:1พร้อม วิตามิน D3 และ วิตามิน K2 ( Mk-7 ) เพื่อวันข้างหน้าเราจะมีกระดูกที่แข็งแรงแม้ในวันที่สูญสิ้นประจำเดือนค่ะ
ที่มา ;
http.//en.wikipedia.org/wiki/vitamin_K
http://www.drweil.com/drw/u/ART0284/vitaminK2
http://www.bbc.co.uk/news/magazine-240
http://www.webmd.com/vitamins-and-supplement
วิตามินเคมี 3 รูปแบบคือ
1.วิตามิน K1( phylloquinine หรือ phytonadione ) พบสูงสุดในผักใบเขียว
2.วิตามิน K2 ( menaquinone ) มีในชีส อาหารหมักดองเช่น ถั่วเหลืองหมักญี่ปุ่น ( natto ) และสามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ พบในเนื้อเยื่อตับ
3.วิตามิน K3 ( menadione ) ได้จากการสังเคราะห์โมเลกุลและถูกเปลี่ยนเป็น menaquinone ที่ตับ
ใน Blog นี้จะกล่าวถึงวิตามินK2 ซึ่งมีห่วงโซ่สายยาวทรงคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรูปแบบอาหารเสริมเพื่อสุขภาพของกระดูกคือ Mk-4,Mk-7
Mk-4 ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ ค.ศ 1998 ในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ภายใต้ชื่อการค้า Glakay หากบริโภควิตามิน Mk-4 เพียง 45 mgต่อวัน สามารถลดการเกิดกระดูกหักได้มากถึง 87%
19 ก.พ 2011 กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้อนุมัติอาหารเสริมที่มี Mk-7และวิตามินD3 เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
มีประโยชน์อย่างไร
1.มีบทบาทช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผล
2.ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ
3.ลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักและโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
4.ลดไขมันโคเลสเตอรอล ตามการศึกษาและวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ ปี ค.ศ 2004 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 4800 คน ทั้งเพศชาย&หญิงเป็นเวลา 10 ปี พบว่า วิตามิน K2 ลดความเสี่ยงของการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
5.อาจลดความเสียหายของเส้นประสาท
6.วิตามิน K 5% ในรูปครีมจะช่วยลดรอยช้ำหลังการผ่าตัดรวมถึงลดรอยคล้ำใต้ตาได้ดีอีกด้วย
7.ช่วยป้องกันการเกาะตัวของหินปูนที่ผนังหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อต่างๆ
8.มีบทบาทในการผลักแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและดูดซึมแคลเซียม
9.เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
10.ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูก osteoblastic และยับยั้งการสลายของกระดูก osteoclassic
11.ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
วิตามิน K1 มีค่าครึ่งชีวิตที่ค่อนข้างสั้น สลายตัวอย่างรวดเร็วในกระแสเลือดและดูดซึมโดยตับภายใน 8 ชั่วโมง
วิตามิน K2 มีค่าครึ่งชีวิตมากถึง 72 ชั่วโมง นั่นหมายความว่า จะยังคงใช้งานทางชีวภาพในร่างกายได้นานและถูกดูดซึมในผนังหลอดเลือด ตับอ่อน อัณฑะ โดยจะนำพาแคลเซียมเข้าสู่กระดูก ที่สำคัญอย่างยิ่งคือป้องกันไม่ให้แคลเซียมถูกนำไปฝากในที่ไม่ควรจะเป็น เช่น หลอดเลือดและอวัยวะที่ก่อให้เกิดอันตรายมีมากเกินจนกลายเป็นกระดูกงอกหรือจับกับหลอดเลือดแดงจนกลายเป็นหินปูนได้ อุ๊ยตาย !! น่ากลัวเนอะ นี่เป็นเหตุผลหลักที่คนบริโภคแคลเซียมแต่ไม่ได้กินวิตามิน K ร่วมด้วย
วิตามิน K จะแตกต่างจากวิตามินที่ละลายในไขมันอื่นๆเพราะไม่สามารถเก็บไว้ในร่างกาย
มีผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคกระดูกพรุนทั้งๆที่มีการบริโภคแคลเซียมเป็นประจำ จะมีแคลเซียมส่วนเกินในหลอดเลือดแดงและกระดูก เหตุผลคือ การขาดวิตามิน K2 ที่จะช่วยป้องกันการเกิดหินปูนเกาะหลอดเลือดแดงและการสะสมของแคลเซียมมากเกินไปในหลอดเลือดแดง นานวันเข้าจะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
ร่างกายต้องการวิตามิน K ทำงานร่วมกับแคลเซียม,วิตามิน D3 ในการสร้างกระดูก
ผู้ที่มีระดับสูงขึ้นของวิตามิน K จะมีความหนาแน่นของกระดูกมากขึ้น
ผู้ที่มีระดับต่ำของวิตามิน K เพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยที่ทำให้การดูดซึมวิตามิน K ในลำไส้ลดลง
1.การใช้ยาฆ่าเชื้อจะมีผลทำให้การผลิตวิตามิน K ในลำไส้ลดลง 74%
2.ภาวะไตวายเรื้อรัง
3.ผู้สูงอายุ
4.ผู้เป็นโรคตับ
หมายเหตุ ผู้ที่ใช้ยา warfarin ( coumadin ) ควรปรึกษาแพทย์
ผู้หญิงที่มีบุตรมาก กระดูกจะเสื่อมเร็วและกลายเป็นกระดูกพรุนเพราะลูกดึงแคลเซียมไปจากแม่ขณะตั้งครรภ์เพื่อสร้างกระดูกและฟัน นั่นเอง
ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกำลังลดระดับลงและใกล้หมดไปจากร่างกาย ส่งผลให้มวลกระดูกจะเริ่มบางลงเรื่อยๆ ควรเริ่มสะสมแคลเซียมที่มีอัตราส่วนต่อแมกนีเซียม 2:1พร้อม วิตามิน D3 และ วิตามิน K2 ( Mk-7 ) เพื่อวันข้างหน้าเราจะมีกระดูกที่แข็งแรงแม้ในวันที่สูญสิ้นประจำเดือนค่ะ
ที่มา ;
http.//en.wikipedia.org/wiki/vitamin_K
http://www.drweil.com/drw/u/ART0284/vitaminK2
http://www.bbc.co.uk/news/magazine-240
http://www.webmd.com/vitamins-and-supplement
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น