บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนจบ)

เวลาที่เราไปเลือกซื้อผักและผลไม้ตามซุปเปอร์มาเก็ต จะพบว่า ผักผลไม้ชนิดเดียวกันมีราคาแพงกว่าที่วางจำหน่ายในห้างค้าส่ง ตอนแรกแป้งก็สงสัยว่า ทำไมราคาต่างกันเกือบเท่าตัว พอได้ซื้อแอปเปิ้ลฟูจิและส้มวาเลนเซียมาลองกินดู โอ๊ะ!! ความสด กรอบอร่อยของแอปเปิ้ลแตกต่างตามการคัดเกรด ส่วนส้มวาเลเซีย เนื้อส้มหวานฉ่ำ ไม่ฝ่อห่อเหี่ยวเหมือนซื้อจากห้างค้าส่งนะคะ

ใดๆคือ ซุปเปอร์มาร์เก็ตทั้ง 2 ที่ จะมีตราสัญลักษณ์แปะไว้ที่ผักว่า ผักปลอดภัย ผักออแกนิกมั่ง ตอนนั้นสังเกตเห็นแต่ไม่ได้สนใจใคร่รู้ คิดว่าปลอดสารพิษเหมือนๆกันล่ะมั๊งท่า สนใจราคามากกว่าอย่างอื่น พอมีข่าวองุ่นไซมัสแคทเท่านั้นแหละ อืม!! หาข้อมูลเพิ่มดีกว่า ชักอยากรู้แวดวงเกษตรกรรมขึ้นมาเชียว

ผักปลอดสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืชรวมถึงปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ให้เว้นช่วงการใช้สารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะยังมีสารเคมีตกค้าง แต่ไม่เกินในปริมาณที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยมีการขอใบรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ใบรับรองผักปลอดสารพิษ

ผักปลอดสารพิษแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ผักปลอดสารเคมี (PESTICIDE FREE)
การปลูกผักปลอดสารเคมี จะเน้นการควบคุมการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก แต่จะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง (โดยจะยังคงใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนเร่งผลผลิต) หากแต่เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 

ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจะต้องมีสารเคมีตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ โดยมีหน่วยงานรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ไม่มีสารตกค้างเกินระดับมาตรฐาน จึงแน่ใจว่าเป็นผักปลอดสารเคมี

2. ผักอนามัย (PESTICIDE SAFE)
ผักอนามัยหรือเรารู้จักกันในชื่อของ “ผักกางมุ้ง” เป็นผักที่ยังคงใช้สารเคมีเพื่อการเจริญเติบโตและใช้สารกำจัดแมลง แต่จะเป็นสารเคมีที่มีพิษตกค้างในระยะสั้น และหยุดฉีดพ่นสารเคมีก่อนการเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ 

การปลูกผักประเภทนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ การปลูกโดยใช้มุ้งตาข่ายหรือกางมุ้ง และอีกแบบจะไม่ใช้มุ้งตาข่าย แต่เน้นการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือเน้นปลูกผักตามฤดูกาลร่วมกับผักประเภทกะหล่ำปลี ตั้งโอ๋ ซึ่งช่วยลดการระบาดของแมลงแถมเป็นผลดีต่อการค้าขายเพราะมีผักหลายชนิดวางจำหน่าย ส่วนการรับรองมาตรฐานจะใช้หลักเกณฑ์เดียวกับผักปลอดสารพิษ

3.ผักไฮโดรโปนิกส์ (HYDROPONICS)
การปลูกผักประเภทนี้เป็นการปลูกโดยใช้น้ำแทนดิน โดยผสมอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตลงในน้ำ รากพืชที่สัมผัสน้ำจะดูดซึมสารอาหารสะสมไว้ที่ใบ ส่วนรากที่ไม่สัมผัสน้ำจะทำหน้าที่รับออกซิเจน ผักที่นิยมปลูกประเภทนี้ เป็นผักสลัดพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งต้องนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ

4.ผักเกษตรอินทรีย์ (ORGANIC FARMING)
เรารู้จักผักชนิดนี้ในชื่อเรียกว่า “ผักออร์แกนิก” เป็นผักที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลงหรือฮอร์โมนต่าง ๆ การผลิตผักประเภทนี้จะเน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ส่วนการกำจัดศัตรูพืชจะใช้สารเคมีที่ผลิตจากธรรมชาติ เช่น สะเดา โล่ติ๊น จึงปลอดภัยต่อสุขภาพและไม่ทำลายสภาพสิ่งแวดล้อม

สารกำจัดแมลงแบบอินทรีย์ เป็นสารสกัดที่มาจากพืช ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตและมนุษย์ แต่สารกำจัดแมลงแบบอินทรีย์มักมีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ต้องฉีดบ่อยครั้ง ทั้งยังมีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงบางชนิด ไม่สามารถกำจัดได้อย่างครอบคลุม 

ทําไมผลผลิตออร์แกนิกถึงมีสารกําจัดศัตรูพืช

ผู้บริโภคจํานวนมากเลือกอาหารออร์แกนิกเพราะเชื่อว่าปลูกและผลิตโดยไม่ใช้สารกําจัดศัตรูพืช เนื่องจากสารกําจัดศัตรูพืช
จํานวนมากถูกห้ามจากเกษตรอินทรีย์ นี่เป็นก้าวสําคัญในทิศทางที่ถูกต้อง แต่เกษตรกรเกือบทั้งหมดหรือแม้แต่เกษตรกรอินทรีย์จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงบางชนิด แต่ใช้คนละชนิดกัน

สารกําจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ในรายการ USDA Organic ของสารที่ได้รับอนุญาตมีต้นกําเนิดจากธรรมชาติ ในขณะที่เกษตรกรทั่วไปได้รับอนุญาตให้ใช้สารกําจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ 900 ชนิด แต่ทว่าเกษตรกรอินทรีย์ได้รับอนุญาตให้ใช้สารกําจัดศัตรูพืชสังเคราะห์เพียง 25 ชนิดเท่านั้น 

ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ยุ่งยากกว่าการใช้ทางลัด เพราะต้องคำนึงหลายปัจจัย นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมพืชผักออร์แกนิกถึงมีราคาสูงกว่าปกติหลายเท่า แป้งลองซื้อผักบุ้งออร์แกนิกในซุปเปอร์มาเก็ต 150 กรัม ราคา 22 บาท เท่ากับโลละ 140 บาทแต่ซื้อผักบุ้งตลาดสดโลละ 20 บาท ต่างกัน 7 เท่า หรือผักกวางตุ้งฮ่องเต้ 200 กรัมราคา 40 บาท เท่ากับโลละ 200 บาท สภาพผักคือ สดมากๆ ผักต้นอ่อนทุกต้นเหมือนที่แม่แป้งปลูกเลย กรอบอร่อยสมราคา แต่แพงมาก ส่วนราคาตลาดสดไม่แน่ใจเพราะเหมือนจะไม่เห็นผักชนิดนี้ เคยเห็นแต่ผักคะน้าฮ่องเต้(สภาพผักแก่เชียว)เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกต่างๆที่เราแทบจะไม่เคยเห็นว่า ถูกกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตามท้องตลาดนั่นเอง


#ผักออร์แกนิก
#ผักปลอดสารพิษ
#ผักไฮโดรโปนิกส์
#ผักกางมุ้ง
#ผักอินทรีย์










วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนที่ 4)

หากตามข่าวดีๆจะพบว่า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่คู่กับคนไทยมาช้านานแล้ว แป้งคัดลอกข่าวบางส่วนมาให้อ่านกันนะคะ

29 ก.ย.2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด ตามเกณฑ์มาตรฐานของไทย

สำหรับการดำเนินงานในปี 2561 มีการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สดทั้งหมด 41 ชนิดพืช รวม 7,054 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ ผ่านมาตรฐานร้อยละ 88.8 ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 11.2 และเมื่อนำปริมาณที่ตรวจพบในผักและผลไม้สดมาประเมินความเสี่ยงของผู้บริโภค พบว่า ร้อยละ 99.86 อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

จากข้อมูลการตรวจของกระทรวงสาธรณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า
ผักและผลไม้สดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 100% มีจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง มังคุด ผักกาดขาวปลี ถั่วแขก ส่วนข้าวโพดหวานพบสารพิษต่ำมาก

ผักและผลไม้สดที่พบปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ พริก ถั่วฝักยาว คะน้า ส้ม มะเขือเปาะ มะเขือเทศ แต่ทั้งนี้ยังมีความปลอดภัยในการบริโภค เนื่องจากสารตกค้างนี้จะเกิดอันตรายต่อเมื่อผู้บริโภค บริโภคในปริมาณมากเท่านั้น

ปลายปี 2563 "ไทยแพน" พบผักผลไม้ 58.7% มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน "องุ่นนำเข้า พุทราจีน พริก ขึ้นฉ่าย คะน้า มะเขือเทศเล็ก" เจอ 100%
 
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เผยผลการตรวจสอบผักและผลไม้ประจำปี 2563 โดยสุ่มตรวจผักผลไม้ทั้งหมด 509 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ โดยประกอบไปด้วย ผลไม้จำนวน 9 ชนิด อาทิ ส้มโอ, ส้มแมนดารินนำเข้า, ลองกอง, น้อยหน่า, แก้วมังกร, ฝรั่ง, ส้มสายน้ำผึ้ง, พุทราจีน และองุ่นแดงนอก
 
ส่วนผักจำนวน 18 ชนิด ประกอบด้วย ข้าวโพดหวาน, มันฝรั่ง, หน่อไม้ฝรั่ง, กระเจี๊ยบเขียว, แครอท, ถั่วฝักยาว, บร็อกโคลี, หัวไชเท้า, ผักบุ้ง, มะระ, กะเพรา, กวางตุ้ง, ผักชี, มะเขือเทศผลเล็ก, คะน้า, ขึ้นฉ่าย, พริกแดง พริกขี้หนู และของแห้ง 2 ชนิด ได้แก่ พริกแห้ง และเห็ดหอม โดยส่งตัวอย่างทั้งหมดไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถตรวจวัดผลได้ครอบคลุมสารเคมีกำจัดแมลงและเชื้อรา (ไม่รวมสารเคมีกำจัดวัชพืช) กว่า 500 ชนิด  และได้รับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO17025)

ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN ได้เปิดผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีผักและผลไม้มากถึง 58.7% ที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน ทั้งนี้ผักที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด คือ มะเขือเทศผลเล็ก พริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง

*** หมวดผลไม้ที่พบสารตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด 8 อันดับแรก ได้แก่ 
1. องุ่นแดงนอก พบสารตกค้าง 100%
2. พุทราจีน พบสารตกค้าง 100%
3. ส้มสายน้ำผึ้ง พบสารตกค้าง 81%
4. ฝรั่ง พบสารตกค้าง 60%
5. แก้วมังกร พบสารตกค้าง 56%
6. น้อยหน่า พบสารตกค้าง 43%
7. ลองกอง พบสารตกค้าง 14%
8. ส้มแมนดารินนำเข้า พบสารตกค้าง 13%
ส่วนส้มโอไม่พบการตกค้างเกินมาตรฐาน

*** หมวดผักสดที่พบสารตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 
1. พริกขี้หนู-พริกแดง พบสารตกค้าง 100%
2. ขึ้นฉ่าย พบสารตกค้าง 100%
3. คะน้า พบสารตกค้าง 100%
4. มะเขือเทศเล็ก พบสารตกค้าง 100%
5. ผักชี พบสารตกค้าง 88%
6. ผักกวางตุ้ง พบสารตกค้าง 81%
7. กะเพรา พบสารตกค้าง 81%
8. ถั่วฝักยาว พบสารตกค้าง 44%
9.แครอท พบสารตกต้าง 19%
10.กระเจี๊ยบเขียว พบสารตกค้าง 6%
ส่วนมันฝรั่งพบการตกค้างในระดับไม่เกินมาตรฐาน และข้าวโพดหวานไม่พบการตกค้างเลย

สำหรับของแห้ง  ได้แก่เห็ดหอมแห้งและพริกแห้งนั้น พบการตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยมากถึง 94% และ 88% ตามลำดับ

สำหรับแหล่งจำหน่ายเมื่อเปรียบเทียบระหว่างห้างกับตลาดสดทั่วไปนั้น พบว่า
1. ผักและผลไม้จากตลาดทั่วไป พบสารตกค้าง 60.1% 
2.ห้างพบการตกค้างน้อยกว่าเล็กน้อยที่ระดับ 56.7%  
ทั้งที่โดยส่วนใหญ่จะจำหน่ายผักผลไม้ราคาแพงกว่าตลาดสดทั่วไป  

โดยในส่วนของตลาดสดทั่วไปนั้น มีการสุ่มตรวจผักจากตลาดทั่วประเทศ 10 จังหวัด พบว่า ตลาดจังหวัดนนทบุรีมีการพบตัวอย่างการตกค้างเกินมาตรฐาน 72.4% และตลาดสดเชียงใหม่ตกค้างน้อยที่สุด 48.3%  

สำหรับห้างค้าปลีกและสมัยใหม่(modern trade)นั้น ห้างค้าปลีกที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด เรียงลำดับได้แก่ แม็คโคร (69%)  วิลล่ามาร์เก็ต (65.4%) เทสโก้ (56%)   บิ๊กซี (51.7%) กูร์เมต์มาร์เก็ต (51.7%) และท็อปส์ (41.4%)

จากการตรวจพบสารเคมีที่แบนแล้ว (วัตถุอันตรายชนิดที่ 4) จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส เอ็นโดซัลแฟน เมธามิโดฟอส เพ็นตาคลอโรฟีนอล และซัลโฟเท็พ  รวมทั้งพบสารนอกบัญชีวัตถุอันตรายอีก 32 ชนิด ซึ่งผิดกฎหมายนั้น จะนำเอกสารนี้เพื่อขอให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการแก้ปัญหา 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สุ่มเก็บตัวอย่างผักผลไม้สด 144 ตัวอย่าง 
พบตกค้างเกินค่ากำหนด 6.2%  

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในปี 2566 สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด เพื่อตรวจเฝ้าระวังการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งในตัวอย่างที่ส่งมาตรวจวิเคราะห์มีผักที่นิยมบริโภคช่วงเทศกาลเจ ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี กวางตุ้ง หัวไชเท้า แครอท เห็ด ส้ม แอปเปิ้ล องุ่น ฝรั่ง สาลี่ จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 144 ตัวอย่าง

โดยผลการตรวจวิเคราะห์ เป็นดังนี้
1.ไม่พบการตกค้าง คิดเป็นร้อยละ 81.9 
2.พบการตกค้าง แต่ไม่เกินค่ากำหนดตามพระราชบัญญัติอาหาร ร้อยละ 11.8 
3.พบการตกค้างเกินค่ากำหนดตามพระราชบัญญัติอาหาร ร้อยละ 6.2 

ผักและผลไม้สดที่พบการตกค้างสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกินมาตรฐานกำหนด ได้แก่ คะน้าและส้ม

ถึงว่าคะน้าราคาถูกเพราะเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว คะน้าที่ปลูกในประเทศไทยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน(เกษตรกรก็ตัดขายได้แล้ว)หลังจากปลูก คะน้าอายุ45 วัน เป็นระยะที่ตลาดมีความต้องการมาก แต่คะน้าที่มีอายุ50-55 วันเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้น้ําหนักมากกว่า(แป้งเจอบ่อยในห้างค่าส่งหรือตลาดสด ไม่ค่อยเจอคะน้าอ่อนยกเว้นคะน้าที่แม่ปลูกเอง อร่อย กรอบ ปลอดสารพิษ)
ก้านคะน้าแข็งยังกับสากกะเบือ ขนาดปอกเปลือกออกก็แล้ว คนที่ฟันฟางไม่ค่อยดี เลี่ยงได้เลี่ยง ยกเว้นคะน้าฮ่องกงจะกินได้ทั้งต้น)

วันก่อนแป้งไปเดินห้าง เผอิญได้ยินผู้ใหญ่คุยกันถามความหลังสารทุกข์สุกดิบ พี่ผู้หญิงหนึ่งในวงบอกว่า เพิ่งเลิกทำสวนทุเรียน อีกคนท้วงว่า ทำไมเลิกเป็นเศรษฐีทุเรียนล่ะ 

แกตอบว่า ‘‘ให้คนอื่นทำต่อ ไม่ไหวอายุมากแล้ว ฉีดยาทุเรียนเยอะเกิน ’’แป้งได้ยินแล้วขนลุกเพราะเพิ่งตะหนักถึงต้นทางห่วงโซ่อาหาร  ไม่ว่าพืชผักผลไม้อะไรก็ตาม หากไม่ฉีดยาฆ่าแมลง ผลผลิตจะสูญเปล่าเพราะแมลงศัตรูพืชกินเรียบ มิน่าล่ะ !! ผักออแกนิคถึงได้มีราคาแพงเป็น 2-3 เท่าตัว








ที่มา :

'ผักผลไม้'ที่มีสารพิษตกค้าง 100 เปอร์เซ็นต์ : องุ่นนำเข้า พุทราจีน ...bangkokbiznewshttps://www.bangkokbiznews.com › health

กรมวิทย์เผยผลตรวจผักผลไม้พบสารตกค้างเกินกำหนด 6.2% ส่วน ...Hfocus.orghttps://www.hfocus.org › content › 2023/10

เช็กผักผลไม้ 6 อันดับ สารพิษตกค้าง-ปลอดสาร 100%Thai PBShttps://www.thaipbs.or.th › ข่าว › สังคม

ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนจบ)

เวลาที่เราไปเลือกซื้อผักและผลไม้ตามซุปเปอร์มาเก็ต จะพบว่า ผักผลไม้ชนิดเดียวกันมีราคาแพงกว่าที่วางจำหน่ายในห้างค้าส่ง ตอนแรกแป้งก็สงสัยว่า ทำ...

บทความยอดนิยม