บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนที่ 3)

ปิดฉากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำลายสมอง รัฐบาลไบเดนประกาศแบนคลอร์ไพริฟอส(Chlorpyrifos)

5 ก.ย 2021 เป็นข่าวใหญ่โตในสื่อสหรัฐ เมื่อหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(EPA) ประกาศแบนคลอร์ไพริฟอส สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในผักและผลไม้ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการเกษตร รวมทั้งในถั่วลิสง ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว กะหล่ำปลี บล๊อคโคลี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสมองและระบบประสาทของเด็กและทารกแล้วเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

นับเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของผู้บริโภค องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานรับจ้างในภาคเกษตรของสหรัฐ หลังจากการการเคลื่อนไหวให้มีการแบนสารพิษร้ายแรงมานานกว่าสิบปี

ผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา( EPA )ในยุคของบารัก โอบามา เสนอให้มีการแบนสารพิษนี้แล้ว แต่ถูกปฏิเสธเมื่อปี 2560 โดย Scott Pruitt ผู้บริหารของ EPA ที่ถูกแต่งตั้งโดยโดนัล ทรัมป์

Michal Freedhoff เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ EPA ด้านความปลอดภัยของสารเคมีและมลพิษ ให้สัมภาษณ์ต่อวอชิงตันโพสต์ว่า “สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากความพยายามกว่าทศวรรษของการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าคลอร์ไพริฟอสมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาทในเด็ก แม้แต่ได้รับในระดับที่ต่ำกว่าที่เคยคิดไว้” 

การใช้คลอร์ไพริฟอสทางการเกษตร จะถูกยกเลิกทั้งหมดภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่ EPA มีมติเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา 
สำหรับในสหภาพยุโรปมีการห้ามใช้ไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนการใช้นอกภาคการเกษตร เช่น ในสนามกอล์ฟ เป็นต้น จะมีการพิจารณาอีกครั้งในปีหน้า

คอร์ทีวา (Corteva) หรือเดิมคือ ดาว-ดูปองท์ (DowDupont) บริษัทผู้ผลิตสารกำจัดแมลงคลอร์ไพริฟอสกำลังเผชิญกับการฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม หลังจาก 4 ครอบครัวในแคลิฟอร์เนียยื่นฟ้องเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2564 เนื่องจากลูกๆของพวกเขาได้รับผลกระทบทางสมอง

สารเคมีกำจัดแมลงคลอร์ไพริฟอสนิยมใช้กำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้หลายชนิด โดยจากการเฝ้าระวังของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(Thai-Pan)พบว่า เป็นหนึ่งในสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างมากที่สุดในผักและผลไม้

กระทรวงสาธารณสุขในสมัย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร มีข้อเสนอให้ยกเลิกการใช้สารเคมีคลอร์ไพริฟอสและพาราควอต ซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี จนคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้ยกเลิกการใช้ในที่สุด โดยคลอร์ไพริฟอสถูกประกาศยกเลิกการใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563




ที่มา ;

ปิดฉากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทำลายสมอง รัฐบาลไบเดนแบบคลอร์ไพริ ...thaipan.orghttps://thaipan.org › highlights

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนที่ 2)

24 ต.ค.2567 เป็นข่าวฮือฮาเมื่อเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)  ร่วมกับ นิตยสารฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง ปรากฎว่า 23 ตัวอย่างจาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินที่กฎหมายกำหนด โดย 1 ตัวอย่างพบสารคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และเป็นสารที่ถูกแบนในไทยแล้ว 

เรามารู้จักคลอร์ไพริฟอส(Chlorpyrifos) กันดีกว่าคะ

คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)เป็นสารประกอบประเภทออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates) มีฤทธิ์กำจัดแมลงและหนอนต่างๆได้หลายชนิด เกษตรกรจึงใช้สารเคมีชนิดนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) เพื่อเป็นยากำจัดศัตรูพืช

คลอร์ไพริฟอส จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทในตัวแมลง(Inhibiting acetylcholinesterase) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คลอร์ไพริฟอสเป็นสารประกอบที่มีอันตราย การสัมผัสโดยตรงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของมนุษย์ และทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานตนเอง (Autoimmune disorders)

นอกจากนี้สารประกอบออร์กาโนฟอสเฟต ยังสร้างผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เช่น ทำให้สูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำลายกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายต่ำลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต สตรีมีครรภ์ที่ได้รับสารประกอบชนิดนี้ จะส่งผลให้การพัฒนาระบบประสาทของทารกในครรภ์ผิดปกติได้

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่าระดับ IQ และความจำในการทำงานที่ลดลงของเด็กอายุ 7 ขวบ มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของการสัมผัสคลอร์ไพริฟอสก่อนคลอด 

การศึกษาอีกกรณีหนึ่งในกลุ่มเดียวกัน พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบที่มีการสัมผัสกับคลอร์ไพริฟอสก่อนคลอดมากกว่าปกติ มีแนวโน้มที่จะมีความล่าช้าของพัฒนาการในวัยเด็ก ปัญหาความสนใจ ปัญหาสมาธิสั้น และปัญหาความผิดปกติทางพัฒนาการทั่วไป

การศึกษาของ UC Davis พบว่า คุณแม่ที่อาศัยในรัศมี 1 ไมล์จากทุ่งนาที่ใช้คลอร์ไพริฟอสและยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสเฟตชนิดอื่น มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคออทิสติกสเปกตรัมสูงขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ 

ความเชื่อมโยงระหว่างโรคออทิสติกและยาฆ่าแมลงอาจเป็นเพราะการสัมผัสยาฆ่าแมลงในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ความเสี่ยงต่อโรค
ออทิสติกเพิ่มขึ้น

การศึกษาล่าสุด พบความเชื่อมโยงระหว่างการสัมผัสกับคลอร์ไพริฟอสและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมองในเด็กอายุ 7 ขวบ

จากข้อมูลความเป็นพิษหลายประการของคลอร์ไพริฟอส ทำให้ครอบครัวเกษตรกรในอเมริกา เลิกใช้คลอร์ไพริฟอสในฟาร์มของตนเองตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) เป็นต้นมา แต่เพิ่งมีการประกาศแบนในสหรัฐอเมริกา ปี 2021 ที่ผ่านมานี่เอง

การบริโภคคลอร์ไพริฟอสที่ตกค้างในพืชผักเป็นปริมาณมากๆ สามารถทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ อดีตที่ผ่านมาคลอร์ไพริฟอสเป็นยาฆ่าแมลงที่มีการจำหน่ายเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยใช้ฉีดพ่นลงในแปลงเกษตร เช่น ฝ้าย ข้าวโพด อัลมอนด์ รวมถึงผลไม้จำพวกส้ม กล้วย และแอปเปิ้ล แต่ถูกต่อต้านและมีการยกเลิกการใช้ยาฆ่าแมลงชนิดนี้ในหลายประเทศเช่นกัน

ผลกระทบต่อระบบนิเวศมีดังนี้
1.ปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ อากาศ พื้นดิน จนทำให้เสียสมดุลของระบบนิเวศน์และการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า รวมถึงแมลงที่มีประโยชน์อย่าง ผึ้ง ผีเสื้อที่ช่วยผสมพันธุ์พืชตามธรรมชาติได้ตายลงเป็นจำนวนมาก ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เช่น ลูกปลาไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยมักตายลงเสียก่อน หรือการปนเปื้อนในปลาใหญ่ที่พอจะทนพิษยาฆ่าแมลงได้อาจส่งผลกระทบมาถึงผู้บริโภคปลาด้วย

2.ไส้เดือนซึ่งเป็นสัตว์เกษตรกรที่ผิวดิน มีหน้าที่ทำให้ดินร่วนซุยและเกิดปุ๋ยตามธรรมชาติจะสูญหายไปจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง สัตว์ป่าตามธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ภาคเกษตรกรรม เช่น นก อาจสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ

3.เกิดภาวะกลายพันธุ์ของแมลงที่เป็นศัตรูพืช แมลงเหล่านี้สามารถทนพิษของยา ฆ่าแมลงทำให้เราเรียนรู้ว่าการใช้ยาฆ่าแมลงไม่ใช้วิธียั่งยืน แต่กลับก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า

4.มนุษย์ที่ได้รับยาฆ่าแมลงโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังได้รับยาฆ่าแมลงอยู่ จนทำให้เกิดโรคต่อร่างกายได้มากมายไม่ว่าจะเป็นโรคทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อ หัวใจและมะเร็ง

ผลกระทบของสารกําจัดศัตรูพืชต่อผักและผลไม้

ดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน) เป็นตัวอย่างของ POP( มลพิษอินทรีย์ถาวร คือเป็นสารกําจัดศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่ทนต่อการย่อยสลาย ดังนั้นจึงยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน)ที่มีพิษสูง ในปี ค.ศ 1900 มีการค้นพบว่า ดีดีทีเป็นยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเกษตรกร ผลกระทบทางชีวภาพที่เป็นอันตรายของดีดีทีถูกค้นพบในอีกยี่สิบปีต่อมา ปัจจุบันถูกแบนในหลายประเทศเนื่องจากผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

ในปี ค.ศ. 1962 นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ ราเชล คาร์สัน
ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring บรรยายถึงผลกระทบของดีดีทีต่อสิ่งแวดล้อม การก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดโดยเฉพาะนก เช่น นกอินทรีหัวขาวจำนวนลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยสืบเนื่องและรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้ดีดีทีอย่างขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จนมีการประกาศใช้กฎหมายห้ามใช้ดีดีทีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 และเกิดอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม ห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001

สารบางชนิดที่พบในสารกําจัดวัชพืช(herbicide )ได้แก่

1.Glyphosate(ไกลโฟเสท)มีชื่อทางการค้าเรียกว่า Roundup(ราวด์อัพ),ทัชดาวน์, สปาร์ค, ไกลโฟเสทเป็นสารก่อกวนต่อมไร้ท่อ มักเชื่อมโยงกับมะเร็ง โรคตับ ปัญหาการเจริญพันธุ์ ข้อบกพร่องตั้งแต่แรกเกิด ปัญหารก และความเสียหายของดีเอ็นเอในตัวอ่อน
ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเคลมว่าไม่ทำอันตรายในคน แต่พบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ในสหรัฐอเมริกาก็มีเคสฟ้องร้องกันอยู่ แล้วผู้ป่วยชนะคดีด้วย ในบ้านเราเพิ่งจะตื่นตัว รณรงค์ห้ามใช้สารนี้เช่นกันคะ

พวกผู้อพยพที่มารับจ้างทำเกษตรกรรมในสหรัฐอเมริกา มักจะขาดความรู้และความระมัดระวังเวลาที่ใช้พวกยากำจัดแมลงศัตรูพืช คือไม่ได้ใช้พวกอุปกรณ์ป้องกันต่างๆทำให้สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง จึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คนกลุ่มนี้เลยมีอายุเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 50 ปี ก็ตายจากโลกใบนี้ไปเสียแล้ว

2.Atrazine เป็นสารก่อกวนต่อมไร้ท่ออีกตัวหนึ่ง ทราบกันดีว่าทําให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมดลูก ส่งผลให้น้ําหนักทารกในครรภ์ต่ํา ความพิการของแขนขา และภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและทางเดินปัสสาวะ

3.คลอโรไพริฟิซิส เชื่อมโยงกับผลกระทบทางระบบประสาทและความผิดปกติของพัฒนาการในเด็ก ความผิดปกติของภูมิต้านตนเองและปัญหาระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่

4.Heptachlor เป็นสารก่อมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกในตับ ระบบทางเดินอาหารและอาการทางระบบประสาท เช่น หงุดหงิดและเวียนศีรษะ

เกษตรกรไทยเสี่ยงป่วยด้วยพิษยาฆ่าแมลง-กำจัดศัตรูพืช ในปี 2561 พบผู้ป่วยเกือบ 1 หมื่นคน

คุณหมอแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในภูมิภาค เคยบอกไว้ว่า เจอเคสผู้ป่วยที่รับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง มักจะมาด้วยอาการมีแผลพุพองบริเวณหลังลามไปจนถึงแขนและมือ(ปกติจะสะพายถังยาฆ่าแมลงไว้บนหลังเหมือนเด็กนักเรียนสะพายเป้) หายใจติดขัด  ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก การพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี สุดท้ายมักเสียชีวิตในวัยไม่เกิน 40 ปีทุกราย 





#สารเคมีกำจัดแมลง
#องุ่นไชมัสคัส(shine muscat)
#คลอร์ไพริฟอส(Chlorpyrifos)
#ไกลโฟเสท(Glyphosate)
#สารเคมีกำจัดวัชพืช
#สารเคมีตกค้างในองุ่น
#ยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสเฟต
#ดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน)
#สารกําจัดศัตรูพืช






ที่มา

คลอร์ไพริฟอส Chlorpyrifos - หาหมอ.com - HaamorHaamorhttps://haamor.com › คลอร์ไพริฟอส

คลอร์ไพริฟอส    | เครือข่ายการกำจัดศัตรูพืชและเกษตรนิเวศวิทยา ( ...Pesticide Action Network (PAN)https//www.panna. org .. resources › chlorpyrifos-facts

เกษตรกรไทย เสี่ยงป่วยด้วยพิษยาฆ่าแมลง-กำจัดศัตรูพืช ปี 61 พบ ...Hfocus.orghttps://www.hfocus.org › content › 2019/06

ดีดีทีWikipediahttps://th.wikipedia.org › wiki › ดีดีที

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ออกกำลังกายตอนเช้าหรือออกกำลังกายตอนเย็นแบบไหนดีกว่ากัน

1.พลังงานที่ใช้ตอนเช้าและตอนเย็น

ออกกำลังกายตอนเช้า หากทำช่วงที่ท้องยังว่าง โดยเฉพาะคนทำ IF และอยู่ช่วงฟาสติ้ง( fasting แปลว่า งดกิน)เพราะว่าตื่นมายังไม่ได้กินอะไรเลยจากการที่นอนมา และอดอาหารมามากกว่า 16 ชั่วโมง 

ร่างกายจะดึงไขมันที่สะสมมาช่วยให้ร่างกายมีพลังงานในการเคลื่อนไหว นั่นหมายความว่า คุณกำลังเบิร์นไขมันเก่าที่เก็บไว้อยู่ การทำแบบนี้ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานจากแหล่งสำรองได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ทำงานตลอดวัน ทำให้เผาผลาญได้ดีแม้ว่าหลังจากเลิกออกกำลังกายแล้ว

แต่ต้องย้ำว่าการออกกำลังกายชนิดที่ไม่ต้องออกแรงเยอะ เช่น
การเดิน หรือการเดินชัน(ปรับลู่วิ่ง) หรือการทำแบบ LIIT แต่ถ้าเกิดว่ายกเวทหนักๆ หรือทำแบบ HIIT อันนี้ร่างกายจะใช้พลังงานไม่ทันมักจะต้องเอากล้ามเนื้อสลายออกมาเป็นพลังงานมากกว่าการสลายไขมัน

หากต้องการออกกำลังกายในตอนเช้า โดยเฉพาะกับคนที่อยากออกกำลังกายก่อนไปทำงาน ซึ่งต้องตื่นเช้าขึ้นอีกเป็นชั่วโมง สิ่งสำคัญคือต้องนอนให้พอ ไม่อย่างนั้น จะรู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น ทั้งยังเสี่ยงวูบ และทำให้การออกกำลังกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

แต่ในทางกลับกัน หากเป็นตอนเย็น คุณอาจจะเพิ่งทานอาหารกลางวันหรือของว่างก่อนออกกำลังกาย ดังนั้นร่างกายจะมีพลังงานจากอาหารที่เพิ่งทานเข้ามาใหม่ ทำให้ใช้พลังงานจากแหล่งใหม่ก่อนจะไปดึงพลังงานเก่า  อันนี้ถือว่าเป็นข้อดีเพราะจะช่วยใช้พลังงานระหว่างวันที่สะสมมา ลดโอกาสที่พลังงานเหล่านั้นจะกลายเป็นไขมันสะสมอีกต่อไป

พูดง่าย ๆ คือ หากอยากเน้นการเผาผลาญไขมันเก่า การออกกำลังกายตอนเช้าอาจจะตอบโจทย์ แต่ถ้าแค่อยากเผาผลาญพลังงานจากมื้ออาหารของวันนี้ การออกกำลังกายตอนเย็นก็ดีนะ

2.ผลกระทบต่อระบบเมตาบอลิซึม

เรื่องการเผาผลาญเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญ การออกกำลังกายตอนเช้าช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานต่อเนื่องตลอดวัน เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือการเติมน้ำมันเครื่องให้ร่างกาย ตอนเช้าระบบเผาผลาญจะถูกกระตุ้นให้ทำงานดีขึ้น ส่งผลให้คุณรู้สึกกระฉับกระเฉงและมีพลังในการทำงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมัน ทำให้กระบวนการนี้ทำงานได้ตลอดวัน

ส่วนการออกกำลังกายตอนเย็น แม้ว่าร่างกายจะไม่เผาผลาญตลอดวันเหมือนการออกกำลังกายตอนเช้า แต่มีข้อดีตรงที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น 

การออกกำลังกายตอนเช้าสามารถใช้ประโยชน์จากระดับคอร์ติซอลที่สูงเพื่อเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายแบบเบาถึงปานกลางเพื่อลดความเสี่ยงในการสลายกล้ามเนื้อและป้องกันผลกระทบด้านลบจากคอร์ติซอลที่สูงเกินไป

การเข้าใจบทบาทของคอร์ติซอลจะช่วยให้เราเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญพลังงานได้อย่างดี

หลายคนบอกว่า การออกกำลังกายตอนเย็นช่วยทำให้หลับได้ลึกขึ้น เนื่องจากร่างกายได้ปลดปล่อยพลังงานที่สะสมมาในแต่ละวัน ก็เป็นการใช้พลังงานที่เหลือให้หมดก่อนจะเข้านอน ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย พร้อมกับกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญทำงานในขณะนอนหลับ

อีกหนึ่งข้อดีของการออกกำลังกายตอนเย็นคือ นอกจากช่วยผ่อนคลายร่างกาย โดยเฉพาะกับชาวออฟฟิศที่นั่งทำงานหลังขดหลังแข็งมาทั้งวัน การไปออกกำลังกายตอนเย็นช่วยให้กล้ามเนื้อได้ยืดเหยียด จะรู้สึกสบายตัวขึ้น นอกจากนั้น ฮอร์โมนเอนดอร์ฟินที่หลั่งออกมาระหว่างออกกำลังกาย ยังช่วยให้อารมณ์ดี และช่วยลดความเครียดที่สะสมมาทั้งวันได้อีกด้วย 

3.การจัดการฮอร์โมน

เรื่องฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกเวลาออกกำลังกาย โดยช่วงเช้าฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) จะอยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วยกระตุ้นความตื่นตัวและการเผาผลาญไขมัน การออกกำลังกายในช่วงเช้าจึงช่วยจัดการกับความเครียดได้ดี ทำให้เรารู้สึกตื่นตัวและพร้อมรับวันใหม่

ในขณะที่ตอนเย็น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) จะสูงขึ้น โดยเฉพาะในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้นถ้าคุณมีเป้าหมายในการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อหรือความแข็งแรง การออกกำลังกายตอนเย็นจะช่วยส่งเสริมการทำงานของฮอร์โมนนี้ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การสร้างกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพมากกว่า ใครที่เน้นการสร้างกล้ามเนื้อ อาจจะเหมาะกับการออกกำลังกายช่วงเย็นมากกว่า

4.ควรเลือกประเภทการออกกำลังกาย ให้เหมาะสม

อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ประเภทของการออกกำลังกายที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ตอนเช้าอาจเหมาะกับการออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเช่น การวิ่งเบา ๆ โยคะ หรือการออกกำลังกายที่ไม่ใช้พลังงานหนัก เพราะร่างกายยังไม่ตื่นเต็มที่ พลังงานที่ใช้จึงเป็นการกระตุ้นระบบเผาผลาญและเตรียมพร้อมสำหรับวันใหม่  เพราะถ้าไปออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น ยกเวท HITT มันคงต้องเข้าใจว่าอาจจะต้องใช้พลังงานพลังงานจากการสลายกล้ามเนื้อ เพราะว่าร่างกายต้องการพลังงานอย่างเร่งด่วน การสลายไขมันอาจจะช้ากว่าเรื่องของการใช้พลังงานจากกล้ามเนื้อ

ส่วนตอนเย็น เหมาะกับการออกกำลังกายแบบหนักๆ ที่ใช้พลังงานมาก เช่น การยกเวท การคาร์ดิโอแบบเข้มข้น หรือการออกกำลังกายที่ใช้แรงและพลังงานสูง เนื่องจากร่างกายได้รับพลังงานจากมื้ออาหารมาแล้ว ทำให้มีแรงมากขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บจากการที่กล้ามเนื้อยังไม่พร้อม

 5.ท้ายที่สุดแล้ว ไม่มีเวลาไหนที่ “ดีที่สุด” สำหรับการออกกำลังกาย มันขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกตอนไหนมากกว่า หลายคนที่ต้องทำงานเช้าอาจจะสะดวกตอนเย็น หรือใครที่อยากกระตุ้นร่างกายก่อนทำงานอาจเลือกตอนเช้า ความสำเร็จของการออกกำลังกายไม่ได้ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา แต่อยู่ที่ความสม่ำเสมอและความตั้งใจ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเราเองจะทำให้สามารถทำต่อเนื่องได้ 





ที่มา :

เพจหมอเจด

คลายสงสัย ออกกำลังกายตอนเช้า vs ตอนเย็น แบบไหนดีกว่ากัน?OfficeMatehttps://www.ofm.co.th › blog › best-time-to-workout

14 สัญญาณเตือนว่าอาจมีปัญหาสมดุลจุลินทรีย์ ในระบบทางเดินอาหาร

• มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียและท้องผูก • มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ ...

บทความยอดนิยม