Zinc ( สังกะสี ) ในโลกนี้มีมากมายหลายรูปแบบ ถูกใช้ประโยชน์มากมายจนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่สารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ ซึ่งสังกะสีมุงหลังคาบ้าน ก็มีที่มาจากต้นกำเนิดแหล่งเดียวกัน เพียงแต่ใช้กระบวนการสังเคราะห์ต่างกันเท่านั้นเองค่ะ
สังกะสี ( Zinc ) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม30 และสัญลักษณ์ : Zn
สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12
ชื่อในภาษาอังกฤษ ( zinc ) มาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะ ที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจน และธาตุที่ไม่ใช่โลหะ
สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจาง จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก แร่ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุ มีลักษณะเป็นสีเงิน มันวาว นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้าง หรือโลหะผสมกับโลหะอื่น สำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ
นอกจากนี้สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง พบได้ในร่างกายมนุษย์และสัตว์
มีประโยชน์อย่างไร
•เคลือบโลหะ เพื่อป้องกันสนิมและการกัดกร่อน เช่นกระเบื้องสังกะสี หรือกระเบื้องสังกะสีลูกฟูก เรียกกันในวงการช่างโลหะว่า เหล็กอาบสังกะสี หรือเหล็กชุบสังกะสี
•เป็นส่วนประกอบในโลหะผสม เช่น ใช้ทำของเล่น
•ใช้เป็นภาชนะของถ่านอัลคาไลน์
•สังกะสีเป็นสารอาหาร ที่พบมากในหอยนางรม และโปรตีน ถั่ว แอลมอนด์ เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน[1]
•ซิงค์คาร์บอเนต ( ZnCO3 ) ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมยา เช่น ยาทาแก้คันตามผิวหนัง
•ซิงค์ซัลไฟต์ ( ZnS ) ใช้เป็นสีขาวในอุตสาหกรรมยาง ใช้เคลือบเป็นฉากเรืองแสง ในหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ของโทรทัศน์ และเป็นส่วนผสมของสีพรายน้ำ
•ซิงค์ไฮดรอกไซด์ ( Zn ( OH2 ) ใช้ในอุตสาหกรรมยาง
•ซิงค์คลอไรด์ ( ZnCl2 ) เป็นสารป้องกันเชื้อราในอุตสาหกรรมกระดาษ และไม้อัด
•ซิงค์ไพริดีนไธโอน ( zinc pyridinethione ) เป็นส่วนผสมในน้ำยาหรือแชมพูสระผมป้องกันรังแค โดยถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในแชมพูขจัดรังแคที่มีประสิทธิภาพ แม้ในระดับความเข้มข้นต่ำ
สังกะสีแบ่งออกเป็น 10 รูปแบบดังนี้
1.zinc chelate ( ซิงค์คีเลต )
แร่ธาตุสังกะสีในรูปแบบนี้จะผ่านกระบวนการ chelation ( คีเลชั่น ) คือสารอินทรีย์บางชนิดที่มีประจุสามารถดึงดูดและจับเอาโมเลกุลของสังกะสีมารวมอยู่ในสารอินทรีย์นั้นๆได้ ซึ่งจะทำให้ความเข้มข้นของสังกะสีนั้นเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนไกลซีน ( glycine ) และ เมทไธโอนีน ( methionine ) ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์มีหมู่ฟังก์ชั่น ที่สามารถแตกตัวให้ประจุบวกหรือลบ จึงช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีเพิ่มขึ้นกว่าปกติ
นอกจากนี้ เอ็นไซม์บางชนิดจำเป็นต้องใช้อิออนของสังกะสีเป็นโคแฟกเตอร์ ( cofactor ) หรือตัวช่วยให้เอ็นไซม์นั้นๆทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกริยาเคมีได้ดียิ่งขึ้น
2.zinc orotate ( ซิงค์ออโรเตท )
เกิดจากการที่ orotic acid ( กรดออโรติก ) ทำการ chelate หรือจับเอาอิออนของสังกะสีมารวมอยู่ในโมเลกุล ซึ่งร่างกายของมนุษย์จะดูดซึมเอาสังกะสีในรูปนี้ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด และ zinc orotate ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถปกป้องเซลล์จากการเกิด oxidative damage ได้ดีอีกด้วย
Zinc Orotate เป็นเกลือแร่ที่พบในร่างกายมนุษย์ โดยการติดตามปริมาณแร่ธาตุสังกะสี ผู้ค้นพบคือ Dr.Huns Nieper แพทย์นวัตกรรมชาวเยอรมัน
3.zinc picolinate ( ซิงค์พิโคลิเนต )
เป็นรูปแบบของสังกะสีที่ได้รับการคีเลต ( chelate )โดย กรด picolinic ในร่างกายมนุษย์ เพื่อให้ดูดซึมได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ
การดูดซึมของสังกะสีในร่างกายมนุษย์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เริ่มต้นจากปากจนถึงกระเพาะอาหารผ่านเยื่อหุ้มลำไส้ เข้าไปในกระแสเลือดและเซลล์แต่ละเซลล์
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ 1987 พบว่า สังกะสีพิโคลิเนต ( zinc picolinate ) มีการดูดซึมเพิ่มขึ้นมากกว่าสังกะสีซิเตรต ( zinc citrate ) และสังกะสีกลูโคเนต ( zinc gluconate ) ถึง 5 เท่า
นอกจากนี้ สังกะสีพิโคลิเนต ( zinc picolinate ) ช่วยในการควบคุมการเกิดสิวและสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้
4.zinc gluconate ( ซิงค์กลูโคเนต ) เป็นเกลือสังกะสีของกรดกลูโคนิก ( Gluconic acid )
zinc gluconate เป็นหนึ่งในรูปแบบที่นิยมมากที่สุดของสังกะสีในตลาดอาหารเสริม ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการของการผลิตเชิงอุตสาหกรรม คือ กระบวนการหมักน้ำตาลกลูโคส ซึ่งดูดซึมง่ายและดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
zinc gluconate สามารถพบได้ในวิตามินหลายชนิดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ดูดซึมในร่างกายประมาณ 14%
เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำพวกสังกะสี โดยกระบวนการผลิต zinc gluconate จะมีการนำเอาน้ำตาลกลูโคสไปผ่านกระบวนการหมัก ( fermentation ) ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมี shelf-life ( อายุการเก็บรักษา ) ที่ยาวนานขึ้น
5.zinc acetate ( ซิงค์อะซีเตท ) อีกหนึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสังกะสี นิยมใช้ในการสังเคราะห์สารเคมีและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ละลายได้ดีในน้ำและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซิงค์อะซีเตท ( zinc acetate ) จะดูดซึมได้มากกว่าซิงค์กลูโคเนต ( zinc gluconate )
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า รูปแบบนี้จะช่วยลดระยะเวลาของโรคไข้หวัดได้อีกด้วย
zinc acetate มักจะใช้เป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในช่องปากสำหรับการรักษาผู้ที่ขาดสังกะสี ยาสมานแผลในรูปแบบของครีม หรือใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น erythromycin สำหรับการรักษาเฉพาะที่ของการเกิดสิว
6. zinc oxide ( ซิงค์ออกไซด์ )
คือสารประกอบสังกะสีพื้นฐานที่สุด มนุษย์ใช้ซิงค์ออกไซด์ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมทั้งในครีมกันแดด, สี, การผลิตยางและสารเคมีเคลือบกระดาษ
zinc oxide ดูดซับแสงอัลตราไวโอเลต จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในครีมกันแดด ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมีประโยชน์ในการรักษาบาดแผลต่างๆ
นอกจากนี้ ยังช่วยในการดูดซับความชื้นจากบาดแผล และบางครั้งใช้ในเทปพิเศษที่ออกแบบ เพื่อช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน
ดร. Marilynn Syrett กล่าวว่า ซิงค์ออกไซด์เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ปลอดภัยที่สุด สำหรับการปกป้องผิวจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต ( UV )
หากรังสียูวีผ่านเข้าไปในผิวหนังและเนื้อเยื่อ จะเกิดความเสียหาย จนกระทั่งผิวแห้งและเร่งกระบวนการเกิดริ้วรอยเร็วขึ้น รังสีเหล่านี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง
ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของซิงค์ออกไซด์ สามารถกรองรังสียูวี จึงป้องกันผิวหนังไม่ให้ดำไหม้และเกิดความเสียหายระดับเซลล์ ผิวคนที่โดนแดดจัดเป็นเวลานาน จึงดำเป็นถ่านหุงข้าว ด้วยเหตุผลนี้ค่ะ
ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) มีลักษณะสีขาว ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตสีเคลือบ สีทาบ้าน อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตยาง พลาสติก เซรามิก แก้ว ซีเมนต์ สารหล่อลื่น กาว ฯลฯ
•สำหรับทางด้านยา ซิงค์ ออกไซด์จะใช้เป็นส่วนผสมในสูตรตำรับยาทาภายนอก เช่น คาลามายด์โลชั่น ( calamine lotion ) ผสมในแป้งเด็ก ครีมทาแก้ผื่นผ้าอ้อม แชมพูสระผมกันรังแค หรือขี้ผึ้งทายับยั้งเชื้อโรค
•ปัจจุบันมีการผลิตนาโนซิงค์ ออกไซด์ สำหรับใช้เป็นส่วนผสมของสูตรตำรับยา Ciprofloxacin โดยมีสรรพคุณช่วยให้ Ciprofloxacinออกฤทธิ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ซิงค์ ออกไซด์ถูกบรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย โดยระบุเป็นส่วนประกอบของยาที่ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น และเป็นยาเตรียมสำหรับงานทางทันตกรรมอีกด้วย
7.ซิงค์ซัลเฟต ( zinc sulfate )
คือการรวมกันของกำมะถันและสังกะสี ละลายน้ำได้ดี
zinc sulfate ใช้บ่อยที่สุดในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพราะดูดซึมได้ง่าย แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
ทางการแพทย์ใช้ zinc sulfate ในโรคทางดวงตาเพื่อลดอาการระคายเคือง เช่น ยาหยอดตา
ซิงค์ซัลเฟต ( zinc sulfate ) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ซิงค์ซัลเฟต ( ZnSO3 ) ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ส่วนอีกรูปแบบสูตรทางเคมีคือ ZnSO4 มีการผลิตเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) ที่เป็นเกรดบริสุทธิ์ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก ( Sulfuric acid ) และน้ำ
ทางเภสัชกรรมนำมาผลิตเป็นยารับประทานและยาใช้ภายนอก
หลังการรับประทานซิงค์ซัลเฟต พบว่า ยานี้จะถูกกำจัดออกทางอุจจาระประมาณ 90% ที่เหลือจะขับออกทางปัสสาวะ
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ และป่วยด้วยโรคท้องร่วง ต้องได้รับแร่ธาตุสังกะสี ( zinc ) เสริมการรักษาเป็นเวลา 10 - 14 วัน เพื่อลดอาการรุนแรงและป้องกันการกลับมาเป็นใหม่
กระทรวงสาธารณสุขของไทย บรรจุซิงค์ซัลเฟตลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยเป็นเกลือแร่กับผู้ป่วยที่ร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสี ใช้สนับสนุนการรักษาอาการท้องเสียในเด็ก ยาทารักษาผิวหนัง ยาหยอดตา เป็นต้น
8. Carnosine ถูกค้นพบในปี ค.ศ 1980 เป็นโมเลกุลขนาดเล็กประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิดคือ ฮิสติดีนและอะลานีน จะพบระดับความเข้มข้นที่ค่อนข้างสูงในเนื้อเยื่อส่วนใหญ่,กล้ามเนื้อหัวใจ, ผิวหนัง กระเพาะอาหาร เส้นประสาทและสมอง
การศึกษาจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า carnosine มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก Carnosine ยังอาจทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ( ส่งสารเคมีในระบบประสาท ) Carnosine ได้รับการเรียกว่า "สารอาหารอายุวัฒนะ"
เนื่องจากมีการศึกษาเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่ามันสามารถชะลอริ้วรอยและกระตุ้นการฟื้นฟูเซลล์ผิวได้
carnosine ในร่างกายของมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนัก ณ เวลานี้ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นสารอาหารที่มีศักยภาพสูง
มีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องที่เกิดจากเชื้อ Helicobacter pylori ( H.pylori ) กระตุ้นเยื่อเมือกในลำไส้ใหญ่และอาจป้องกันการสลายของกระดูก จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคไขข้ออักเสบ รวมถึงการเสื่อมสภาพของกระดูกขากรรไกร
นอกจากนี้ อาจช่วยลดการสะสมไขมันในตับและบรรเทาอาการโรคไวรัสตับอักเสบซี
9.ซิงค์ซิเตรต ( zinc citrate )
ซิงค์ซิเตรตส่วนใหญ่ จะใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทันตกรรม เช่น ยาสีฟัน, น้ำยาบ้วนปากและโรคเหงือกอักเสบ สามารถลดหรือยับยั้งการก่อตัวของคราบฟันและหินปูน
zinc citrate ถูกนำมาใช้มากมายในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน
10.ซิงค์แลคเตท ( zinc lactate ) มักจะเป็นส่วนผสมของยาสีฟันป้องกันกลิ่นปากหรือน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดคราบหินปูน
แม้ว่าทุกประเภทของสังกะสี หากมีการคีเลต ( chelated ) จะเพิ่มการดูดซึมและแตกตัวในร่างกายมากขึ้น แต่นักวิจัยยังไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีความเห็นแตกต่างกันไป จนกว่าการวิจัยในอนาคตจะให้คำตอบที่ชัดเจนกว่านี้
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า zinc picolinate จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าสังกะสีประเภทอื่น ๆ
ในขณะที่ศูนย์การแพทย์ทั่วโลก แนะนำ zinc orotate ว่าเป็นสังกะสีในรูปแบบการดูดซึมที่ดีที่สุด
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน "วารสาร FASEB" เดือนมีนาคม 2008 สรุปได้ว่า zinc glycinate เพิ่มระดับความเข้มข้นของสังกะสีในเลือดดีกว่า zinc gluconate ซึ่งทั้งสองดีกว่า zinc picolinate
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นสังกะสีคีเลต มีหลายรูปแบบ แต่ควรเลือกชนิด ซิงค์พิโคลิเนต ( Zinc picolinate ) ซิงค์อะซิเตท ( zinc acetate ) ซิงค์ซิเตรท ( zinc citrate ) และกรดอะมิโนแอซิดคีเลต ( amino acid chelate ) ซึ่งดูดซึมง่าย ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ความจริงเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างก็ได้นะคะ บางทีอ่านแล้วมึนศีรษะ ก็ข้ามๆไปบ้าง แต่เผอิญว่า มี zinc รูปแบบหนึ่งที่ช่วยชะลอวัย ย้อนเวลาให้ผิวได้เป็นอย่างดี แป้งเห็นคุณสมบัติแล้วน่าสนใจมาก จึงเป็นที่มาของการทำ blog นี้ขึ้น กว่าจะเสร็จ ขอลาตายแป๊บ
ที่มา :
http://www.globalhealingcenter.com>Blog Home>Health Condition Articles
http://www.livestrong.com>Food and drink
https://en.wikipedia.org/wiki/carnosine
https://en.wikipedia.org/wiki/zinc-pyrithione
customers.nbci.com/~wenonah/hydro/picolina.htm
https://th.wikipedia.org>wiki>สังกะสี
สังกะสี ( Zinc ) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม30 และสัญลักษณ์ : Zn
สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12
ชื่อในภาษาอังกฤษ ( zinc ) มาจากภาษาเยอรมันว่า Zink เป็นธาตุประเภทโลหะ ที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจน และธาตุที่ไม่ใช่โลหะ
สังกะสีเมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจาง จะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออก แร่ธาตุชนิดนี้เป็นโลหะธาตุ มีลักษณะเป็นสีเงิน มันวาว นิยมนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นโลหะโครงสร้าง หรือโลหะผสมกับโลหะอื่น สำหรับประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ
นอกจากนี้สังกะสียังเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง พบได้ในร่างกายมนุษย์และสัตว์
มีประโยชน์อย่างไร
•เคลือบโลหะ เพื่อป้องกันสนิมและการกัดกร่อน เช่นกระเบื้องสังกะสี หรือกระเบื้องสังกะสีลูกฟูก เรียกกันในวงการช่างโลหะว่า เหล็กอาบสังกะสี หรือเหล็กชุบสังกะสี
•เป็นส่วนประกอบในโลหะผสม เช่น ใช้ทำของเล่น
•ใช้เป็นภาชนะของถ่านอัลคาไลน์
•สังกะสีเป็นสารอาหาร ที่พบมากในหอยนางรม และโปรตีน ถั่ว แอลมอนด์ เมล็ดฟักทอง และเมล็ดทานตะวัน[1]
•ซิงค์คาร์บอเนต ( ZnCO3 ) ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมยา เช่น ยาทาแก้คันตามผิวหนัง
•ซิงค์ซัลไฟต์ ( ZnS ) ใช้เป็นสีขาวในอุตสาหกรรมยาง ใช้เคลือบเป็นฉากเรืองแสง ในหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ของโทรทัศน์ และเป็นส่วนผสมของสีพรายน้ำ
•ซิงค์ไฮดรอกไซด์ ( Zn ( OH2 ) ใช้ในอุตสาหกรรมยาง
•ซิงค์คลอไรด์ ( ZnCl2 ) เป็นสารป้องกันเชื้อราในอุตสาหกรรมกระดาษ และไม้อัด
•ซิงค์ไพริดีนไธโอน ( zinc pyridinethione ) เป็นส่วนผสมในน้ำยาหรือแชมพูสระผมป้องกันรังแค โดยถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในแชมพูขจัดรังแคที่มีประสิทธิภาพ แม้ในระดับความเข้มข้นต่ำ
สังกะสีแบ่งออกเป็น 10 รูปแบบดังนี้
1.zinc chelate ( ซิงค์คีเลต )
แร่ธาตุสังกะสีในรูปแบบนี้จะผ่านกระบวนการ chelation ( คีเลชั่น ) คือสารอินทรีย์บางชนิดที่มีประจุสามารถดึงดูดและจับเอาโมเลกุลของสังกะสีมารวมอยู่ในสารอินทรีย์นั้นๆได้ ซึ่งจะทำให้ความเข้มข้นของสังกะสีนั้นเพิ่มขึ้น
ตัวอย่างเช่น กรดอะมิโนไกลซีน ( glycine ) และ เมทไธโอนีน ( methionine ) ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์มีหมู่ฟังก์ชั่น ที่สามารถแตกตัวให้ประจุบวกหรือลบ จึงช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีเพิ่มขึ้นกว่าปกติ
นอกจากนี้ เอ็นไซม์บางชนิดจำเป็นต้องใช้อิออนของสังกะสีเป็นโคแฟกเตอร์ ( cofactor ) หรือตัวช่วยให้เอ็นไซม์นั้นๆทำหน้าที่ในการเร่งปฏิกริยาเคมีได้ดียิ่งขึ้น
2.zinc orotate ( ซิงค์ออโรเตท )
เกิดจากการที่ orotic acid ( กรดออโรติก ) ทำการ chelate หรือจับเอาอิออนของสังกะสีมารวมอยู่ในโมเลกุล ซึ่งร่างกายของมนุษย์จะดูดซึมเอาสังกะสีในรูปนี้ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด และ zinc orotate ยังมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถปกป้องเซลล์จากการเกิด oxidative damage ได้ดีอีกด้วย
Zinc Orotate เป็นเกลือแร่ที่พบในร่างกายมนุษย์ โดยการติดตามปริมาณแร่ธาตุสังกะสี ผู้ค้นพบคือ Dr.Huns Nieper แพทย์นวัตกรรมชาวเยอรมัน
3.zinc picolinate ( ซิงค์พิโคลิเนต )
เป็นรูปแบบของสังกะสีที่ได้รับการคีเลต ( chelate )โดย กรด picolinic ในร่างกายมนุษย์ เพื่อให้ดูดซึมได้มากกว่ารูปแบบอื่นๆ
การดูดซึมของสังกะสีในร่างกายมนุษย์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน เริ่มต้นจากปากจนถึงกระเพาะอาหารผ่านเยื่อหุ้มลำไส้ เข้าไปในกระแสเลือดและเซลล์แต่ละเซลล์
การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ 1987 พบว่า สังกะสีพิโคลิเนต ( zinc picolinate ) มีการดูดซึมเพิ่มขึ้นมากกว่าสังกะสีซิเตรต ( zinc citrate ) และสังกะสีกลูโคเนต ( zinc gluconate ) ถึง 5 เท่า
นอกจากนี้ สังกะสีพิโคลิเนต ( zinc picolinate ) ช่วยในการควบคุมการเกิดสิวและสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้
4.zinc gluconate ( ซิงค์กลูโคเนต ) เป็นเกลือสังกะสีของกรดกลูโคนิก ( Gluconic acid )
zinc gluconate เป็นหนึ่งในรูปแบบที่นิยมมากที่สุดของสังกะสีในตลาดอาหารเสริม ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการของการผลิตเชิงอุตสาหกรรม คือ กระบวนการหมักน้ำตาลกลูโคส ซึ่งดูดซึมง่ายและดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
zinc gluconate สามารถพบได้ในวิตามินหลายชนิดและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ดูดซึมในร่างกายประมาณ 14%
เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจำพวกสังกะสี โดยกระบวนการผลิต zinc gluconate จะมีการนำเอาน้ำตาลกลูโคสไปผ่านกระบวนการหมัก ( fermentation ) ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมี shelf-life ( อายุการเก็บรักษา ) ที่ยาวนานขึ้น
5.zinc acetate ( ซิงค์อะซีเตท ) อีกหนึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสังกะสี นิยมใช้ในการสังเคราะห์สารเคมีและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ละลายได้ดีในน้ำและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซิงค์อะซีเตท ( zinc acetate ) จะดูดซึมได้มากกว่าซิงค์กลูโคเนต ( zinc gluconate )
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า รูปแบบนี้จะช่วยลดระยะเวลาของโรคไข้หวัดได้อีกด้วย
zinc acetate มักจะใช้เป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในช่องปากสำหรับการรักษาผู้ที่ขาดสังกะสี ยาสมานแผลในรูปแบบของครีม หรือใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น erythromycin สำหรับการรักษาเฉพาะที่ของการเกิดสิว
6. zinc oxide ( ซิงค์ออกไซด์ )
คือสารประกอบสังกะสีพื้นฐานที่สุด มนุษย์ใช้ซิงค์ออกไซด์ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมทั้งในครีมกันแดด, สี, การผลิตยางและสารเคมีเคลือบกระดาษ
zinc oxide ดูดซับแสงอัลตราไวโอเลต จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในครีมกันแดด ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมีประโยชน์ในการรักษาบาดแผลต่างๆ
นอกจากนี้ ยังช่วยในการดูดซับความชื้นจากบาดแผล และบางครั้งใช้ในเทปพิเศษที่ออกแบบ เพื่อช่วยให้นักกีฬาหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน
ดร. Marilynn Syrett กล่าวว่า ซิงค์ออกไซด์เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ปลอดภัยที่สุด สำหรับการปกป้องผิวจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต ( UV )
หากรังสียูวีผ่านเข้าไปในผิวหนังและเนื้อเยื่อ จะเกิดความเสียหาย จนกระทั่งผิวแห้งและเร่งกระบวนการเกิดริ้วรอยเร็วขึ้น รังสีเหล่านี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนัง
ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของซิงค์ออกไซด์ สามารถกรองรังสียูวี จึงป้องกันผิวหนังไม่ให้ดำไหม้และเกิดความเสียหายระดับเซลล์ ผิวคนที่โดนแดดจัดเป็นเวลานาน จึงดำเป็นถ่านหุงข้าว ด้วยเหตุผลนี้ค่ะ
ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) มีลักษณะสีขาว ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตสีเคลือบ สีทาบ้าน อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตยาง พลาสติก เซรามิก แก้ว ซีเมนต์ สารหล่อลื่น กาว ฯลฯ
•สำหรับทางด้านยา ซิงค์ ออกไซด์จะใช้เป็นส่วนผสมในสูตรตำรับยาทาภายนอก เช่น คาลามายด์โลชั่น ( calamine lotion ) ผสมในแป้งเด็ก ครีมทาแก้ผื่นผ้าอ้อม แชมพูสระผมกันรังแค หรือขี้ผึ้งทายับยั้งเชื้อโรค
•ปัจจุบันมีการผลิตนาโนซิงค์ ออกไซด์ สำหรับใช้เป็นส่วนผสมของสูตรตำรับยา Ciprofloxacin โดยมีสรรพคุณช่วยให้ Ciprofloxacinออกฤทธิ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ซิงค์ ออกไซด์ถูกบรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติของไทย โดยระบุเป็นส่วนประกอบของยาที่ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น และเป็นยาเตรียมสำหรับงานทางทันตกรรมอีกด้วย
7.ซิงค์ซัลเฟต ( zinc sulfate )
คือการรวมกันของกำมะถันและสังกะสี ละลายน้ำได้ดี
zinc sulfate ใช้บ่อยที่สุดในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพราะดูดซึมได้ง่าย แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
ทางการแพทย์ใช้ zinc sulfate ในโรคทางดวงตาเพื่อลดอาการระคายเคือง เช่น ยาหยอดตา
ซิงค์ซัลเฟต ( zinc sulfate ) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ซิงค์ซัลเฟต ( ZnSO3 ) ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ส่วนอีกรูปแบบสูตรทางเคมีคือ ZnSO4 มีการผลิตเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ซิงค์ออกไซด์ ( ZnO ) ที่เป็นเกรดบริสุทธิ์ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก ( Sulfuric acid ) และน้ำ
ทางเภสัชกรรมนำมาผลิตเป็นยารับประทานและยาใช้ภายนอก
หลังการรับประทานซิงค์ซัลเฟต พบว่า ยานี้จะถูกกำจัดออกทางอุจจาระประมาณ 90% ที่เหลือจะขับออกทางปัสสาวะ
องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ และป่วยด้วยโรคท้องร่วง ต้องได้รับแร่ธาตุสังกะสี ( zinc ) เสริมการรักษาเป็นเวลา 10 - 14 วัน เพื่อลดอาการรุนแรงและป้องกันการกลับมาเป็นใหม่
กระทรวงสาธารณสุขของไทย บรรจุซิงค์ซัลเฟตลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยเป็นเกลือแร่กับผู้ป่วยที่ร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสี ใช้สนับสนุนการรักษาอาการท้องเสียในเด็ก ยาทารักษาผิวหนัง ยาหยอดตา เป็นต้น
8. Carnosine ถูกค้นพบในปี ค.ศ 1980 เป็นโมเลกุลขนาดเล็กประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิดคือ ฮิสติดีนและอะลานีน จะพบระดับความเข้มข้นที่ค่อนข้างสูงในเนื้อเยื่อส่วนใหญ่,กล้ามเนื้อหัวใจ, ผิวหนัง กระเพาะอาหาร เส้นประสาทและสมอง
การศึกษาจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า carnosine มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก Carnosine ยังอาจทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ( ส่งสารเคมีในระบบประสาท ) Carnosine ได้รับการเรียกว่า "สารอาหารอายุวัฒนะ"
เนื่องจากมีการศึกษาเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่ามันสามารถชะลอริ้วรอยและกระตุ้นการฟื้นฟูเซลล์ผิวได้
carnosine ในร่างกายของมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนัก ณ เวลานี้ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นสารอาหารที่มีศักยภาพสูง
มีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องที่เกิดจากเชื้อ Helicobacter pylori ( H.pylori ) กระตุ้นเยื่อเมือกในลำไส้ใหญ่และอาจป้องกันการสลายของกระดูก จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคไขข้ออักเสบ รวมถึงการเสื่อมสภาพของกระดูกขากรรไกร
นอกจากนี้ อาจช่วยลดการสะสมไขมันในตับและบรรเทาอาการโรคไวรัสตับอักเสบซี
9.ซิงค์ซิเตรต ( zinc citrate )
ซิงค์ซิเตรตส่วนใหญ่ จะใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทันตกรรม เช่น ยาสีฟัน, น้ำยาบ้วนปากและโรคเหงือกอักเสบ สามารถลดหรือยับยั้งการก่อตัวของคราบฟันและหินปูน
zinc citrate ถูกนำมาใช้มากมายในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม, อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน
10.ซิงค์แลคเตท ( zinc lactate ) มักจะเป็นส่วนผสมของยาสีฟันป้องกันกลิ่นปากหรือน้ำยาบ้วนปากเพื่อลดคราบหินปูน
แม้ว่าทุกประเภทของสังกะสี หากมีการคีเลต ( chelated ) จะเพิ่มการดูดซึมและแตกตัวในร่างกายมากขึ้น แต่นักวิจัยยังไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีความเห็นแตกต่างกันไป จนกว่าการวิจัยในอนาคตจะให้คำตอบที่ชัดเจนกว่านี้
มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า zinc picolinate จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าสังกะสีประเภทอื่น ๆ
ในขณะที่ศูนย์การแพทย์ทั่วโลก แนะนำ zinc orotate ว่าเป็นสังกะสีในรูปแบบการดูดซึมที่ดีที่สุด
การศึกษาที่ตีพิมพ์ใน "วารสาร FASEB" เดือนมีนาคม 2008 สรุปได้ว่า zinc glycinate เพิ่มระดับความเข้มข้นของสังกะสีในเลือดดีกว่า zinc gluconate ซึ่งทั้งสองดีกว่า zinc picolinate
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นสังกะสีคีเลต มีหลายรูปแบบ แต่ควรเลือกชนิด ซิงค์พิโคลิเนต ( Zinc picolinate ) ซิงค์อะซิเตท ( zinc acetate ) ซิงค์ซิเตรท ( zinc citrate ) และกรดอะมิโนแอซิดคีเลต ( amino acid chelate ) ซึ่งดูดซึมง่าย ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
ความจริงเราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างก็ได้นะคะ บางทีอ่านแล้วมึนศีรษะ ก็ข้ามๆไปบ้าง แต่เผอิญว่า มี zinc รูปแบบหนึ่งที่ช่วยชะลอวัย ย้อนเวลาให้ผิวได้เป็นอย่างดี แป้งเห็นคุณสมบัติแล้วน่าสนใจมาก จึงเป็นที่มาของการทำ blog นี้ขึ้น กว่าจะเสร็จ ขอลาตายแป๊บ
ที่มา :
http://www.globalhealingcenter.com>Blog Home>Health Condition Articles
http://www.livestrong.com>Food and drink
https://en.wikipedia.org/wiki/carnosine
https://en.wikipedia.org/wiki/zinc-pyrithione
customers.nbci.com/~wenonah/hydro/picolina.htm
https://th.wikipedia.org>wiki>สังกะสี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น