บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

Long Covid กลุ่มอาการที่ไม่มีใครอยากเป็น

 ลองโควิด(Long Covid)เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น หลังจากที่การติดเชื้อได้จบสิ้น (ไม่พบเชื้อแล้ว) มีโอกาสเกิดได้ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าดังต่อไปนี้

1. อาการของลองโควิด(Long Covid)ไม่ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของอาการติดเชื้อโควิดที่เป็นตอนแรก

2. เกิดได้ทุกอายุ ทุกเพศ แต่แนวโน้มอาจเจอในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะที่สูบบุหรี่ ภาวะอ้วน และมีโรคประจำตัวต่างๆ

3. เกิดอาการได้ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกัน รวมถึงความรู้สึกทางเพศลดลงหรือหายไปทั้งชายหญิงและประจำเดือนผิดปกติ เวลาร่วมเพศมีอาการเจ็บปวด

4. เป็นอาการเดิมขณะติดเชื้อ ที่สามารถทอดยาวนานกว่าสามเดือน หรืออาการที่เกิดขึ้นเป็น “อาการใหม่”

5. กลุ่มอาการเป็นลักษณะที่เรารู้จักกันดีมานานแล้วเกือบ 80-90 ปีในรูปของ Chronic fatique syndrome คือกลุ่มอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าเรื้อรัง  เช่น รู้สึกไม่สบายตัว นอนหลับไม่สนิท ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ปวดเมื่อย ปวดข้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าทุกวัน จนส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

โดยกลุ่มอาการนี้สามารถอ้างอิงในชื่อ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic Encephalomyelitis)ที่มีสาเหตุจากไวรัสต่างๆเช่น  Epstein-Barr Virus, human herpes virus 6 และ mouse leukemia viruses แต่โควิดเกิดได้รุนแรงและยาวนานกว่าไวรัสตัวอื่นๆ มาก

6. กลุ่มอาการทางสมองและจิตอารมณ์ พบได้ 30% หรือมากกว่า ส่งผลทำให้รู้สึกเฉื่อยชา คิดช้า ความจำสั้น สมองเสื่อมและอารมณ์แปรปรวน โดยเฉพาะคนที่เป็นอยู่แล้วหรือกำลังจะเป็นโรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสัน

7. ที่พบชัดเจนในขณะนี้คือ คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโรคผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ปอด หัวใจ อาการจะเลวลง รวมถึงคนที่มีอาการเพียงน้อยนิดของสมองเสื่อมหรือพาร์กินสัน จะรุนแรงเห็นได้ชัดว่าเลวลงมากภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน

8. หลักในการบำบัด ต้องยับยั้งการอักเสบ โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษาและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นภาวะ
อักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ เช่น เนื้อแดง ระวังพืชผักผลไม้ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีฆ่าแมลงและภาวะมลพิษ เช่น พีเอ็ม 2.5 เป็นต้น

9. วิธีที่อาจป้องกันการเกิดลองโควิดได้ คือ การรีบรักษาให้เร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าติด เพื่อให้ระยะของการติดเชื้อสั้นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรฟ้าทะลายโจรตั้งแต่เริ่มเป็น ขนาดยาตามกระทรวงสาธารณสุข และถ้าเอาไม่อยู่ภายในสองวัน เริ่ม MoInupiravir
(มอลนูพิราเวีย)เป็นยาเม็ดชนิดรับประทานออกฤทธิ์ต้านไวรัส พัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่และยังสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาได้หลายชนิด เช่น โรคซาร์ส โรคเมอร์ส และเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 มีกลไกการออกฤทธิ์ไม่ต่างจากยาฟาวิพิราเวียร์ คือ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ RNA ไวรัสและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง มีรายงานจากสหรัฐอเมริกาว่า
การใช้ยาภายในห้าวันหลังมีอาการในยุคโอไมครอนนี้ (ค.ศ 2022-2023) สามารถลดอาการหนักและภาวะลองโควิดได้

10. ตากแดด(มีวิตามินดีตามธรรมชาติ) เดินหนึ่งหมื่นก้าว เข้าใกล้มังสวิรัติ ลดแป้ง กินผักผลไม้กากใยให้มากขึ้น ถูกแดดเช้า หรือบ่าย เย็น อาบน้ำร้อน (ตอนนี้ร้อนมหาศาลอยู่แล้ว)

นอกจากนี้ กัญชง(ไม่ใช่กัญชา ไม่เมา ไม่ติด) ยังมีหลักฐานช่วยลดอาการหนักได้ จากวารสาร Science 2023 และมีข้อมูลในเรื่อง ของการลด Mitochondrial Stress(การเสียสมดุลระหว่างระบบจัดการอนุมูลอิสระที่ส่งผลให้เกิดอนุมูลอิสระมากเกินไป)ลดอนุมูลอิสระ จนเพิ่ม Innate immunity(ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด) เช่น ผิวหนัง น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก เยื่อบุหลอดอาหาร การไอเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากหลอมลม ความเป็นกรดของสารคัดหลั่งในช่องคลอดเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตจากเชื้อโรค

กัญชา(Marijuana) และกัญชง(Hemp) พืชทั้งสองชนิดเป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดเดียวกันในวงศ์Cannabaceae ที่อยู่ในตระกูล Cannabis เหมือนกัน ต่างกันที่สายพันธุ์ย่อยจึงทำให้กัญชงและกัญชามีลักษณะที่คล้ายกัน โดยจะแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ

สรรพคุณของพืชเศรษฐกิจ “กัญชง” เรื่องแรกคือ ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น เกิดอาการเคลิ้มฝัน ระงับอาการเจ็บปวด ช่วยยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด เพราะมีสาร CBD (Cannabidiol) สรรพคุณเหมือนยาแก้อักเสบ หรือยาปฏิชีวนะต่าง แต่แม้ว่าพืชชนิดนี้จะมีสาร THC หรือ (Tetrahydrocannabinol) เหมือนกับกัญชา แต่เมื่อเปรียบเทียบด้านปริมาณแล้วมีน้อยกว่ามาก หรืออาจแทบไม่มีเลยก็ได้ จึงช่วยเสริมความเคลิบเคลิ้ม พักผ่อนสบาย ผ่อนคลายมากขึ้น ส่วนใบสามารถใช้เป็นยาบำรุงเลือดได้ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ หรือเจ็บปวดข้อกระดูก ในอดีตใช้รักษาโรคบิด โรคท้องร่วง

-เดินวันละ 10,000 ก้าว ผัก ผลไม้ กากใยเยอะ ลดแป้ง งดขนมหวาน น้ำอัดลม งดเนื้อสัตว์บก สามารถรับประทานกุ้งหอยปูปลาได้
-ควบคุมโรคประจำตัวให้ได้ 100%
-ออกกำลังกาย(ไม่หักโหม)สม่ำเสมอ
-ถึงเวลาสร้างความแข็งแกร่งของระบบของภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อเพราะวัคซีนป้องกันโควิดตามเชื้อไวรัสไม่ทัน แม้พลาดท่าติดแล้ว เกิดลองโควิดก็เอาอยู่



ที่มา :

เพจเฟซบุ๊ก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภากาชาดไทย

อยู่ๆ ก็รู้สึกหมดแรง อ่อนเพลีย มาเป็นระยะเวลายาวนานแบบไม่ทราบ ...brandthink.mehttps://brandthink.me › chronic-fatigue-syndrome

โมลนูพิราเวียร์แนวทางใหม่ในการรักษาโรคโควิด-19chulalongkornhospital.go.thhttps://chulalongkornhospital.go.th › Home › Line

เสริมภูมิคุ้มกันธรรมชาติ ป้องกันเชื้อด้วยตำรับอาหารไทยสี่ภาคdmh.go.thhttps://dmh.go.th › news › view

“กัญชง” ไม่ใช่กัญชา มาทำความรู้จักเศรษฐกิจตัวใหม่อย่างเจาะลึกกันดี ...arda.or.thhttps://www.arda.or.th › knowledge_detail

กัญชง VS กัญชา ความเหมือนบนความต่างsciplanet.orghttps://sciplanet.org › content

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องเล่าจากผลข้างเคียงของยา

หนึ่งในเหตุผลที่แป้งจะไม่ใช้ยารักษาโรคที่ไม่ซับซ้อนเป็นตัวเลือกแรกเพราะเคยพบเจอกับผลข้างเคียงหลายอย่าง  ดังนั้นวิตามินจึงเป็นตัวเลือกอันดับห...

บทความยอดนิยม