เทโลเมียร์ (Telomere) คือ ส่วนปลายของโครโมโซม เป็นส่วนลำดับเบสที่ไม่มีความหมายในการแปลรหัส มีหน้าที่ปกป้องโครโมโซมไม่ให้ถูกทำลายหรือร่นเข้าไป และจะสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อมีการแบ่งเซลล์และตามเวลาที่ผ่านไป
เมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลง มีผลทำให้ความยาวของโครโมโซมลดลงตามไปด้วย โดยถือเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในร่างกายมนุษย์ทุกคน เพียงแต่กระบวนการหดสั้นลงของเทโลเมียร์อาจถูกกระตุ้นให้หดสั้นเร็วขึ้นด้วยปัจจัยแวดล้อมต่างๆ
การศึกษาพบว่า หนูทดลองที่ไม่มีเอนไซม์เทโลเมอเรสแสดงสัญญาณของการแก่ก่อนวัย
เทโลเมอเรส คือ เอนไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถต่อเติมความยาวเทโลเมียร์และซ่อมเทโลเมียร์ที่สั้นโดยต่อความยาวเข้าไปใหม่
เทโลเมอเรสทำหน้าที่เติมลำดับเบสเฉพาะไปยังปลายโครโมโซมในภาวะปกติ โดยมีบทบาทหน้าที่ในช่วงแรกๆ ของการพัฒนาตัวอ่อนแรกเริ่มและในสเต็มเซลล์ของผู้ใหญ่ แต่ในเซลล์ปกติจะผลิต
เทโลมีเรสในปริมาณน้อยมากหรือไม่มีเลย ทำให้ทุกๆ ครั้งที่เซลล์แบ่งตัว ปลายเทโลเมียร์ของเซลล์จะสั้นลงเรื่อยๆ และทำให้เกิดการตายของเซลล์ (Apoptosis)
อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าเทโลเมียร์สั้นลงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความชราในมนุษย์หรือไม่ หรือเป็นเพียงสัญญาณของความชรา เช่น ผมหงอก มีข้อบ่งชี้หลายประการว่า ความยาวเทโลเมียร์เป็นตัวทำนายอายุขัยที่ดี
ทารกแรกเกิดมักจะมีเทโลเมียร์ที่มีความยาวตั้งแต่ 8,000 -13,000 คู่เบส มีการตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนนี้มีแนวโน้มลดลงประมาณ 50-100 คู่เบสในแต่ละปี ดังนั้นเมื่อมีอายุ 40 ปี มนุษย์อาจจะสูญเสียไป 4,000 คู่เบสจากเทโลเมียร์เริ่มต้น
เมื่อมองในภาพรวม เทโลเมียร์ที่สั้นลงโดยรวมไม่มีนัยสำคัญ แม้แต่ในคนสูงอายุ
เซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเซลล์สืบพันธุ์และสเต็มเซลล์ เป็นหนึ่งในเซลล์ไม่กี่ชนิดในร่างกายของเราที่มีเทโลเมอเรสยังคงทำงานอยู่ หมายความว่าในเซลล์เหล่านี้ความยาวเทโลเมียร์จะคงอยู่หรือยาวขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
อย่างไรก็ดี มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความยาวของเทโลเมียร์ของมนุษย์ เช่น การสูบบุหรี่และโรคอ้วน ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ(PM 2.5 ฝุ่นควัน)และการไม่การออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้สามารถเร่งอัตราการลดความยาวเทโลเมียร์ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งและส่งผลต่อการมีอายุยืนยาวได้อย่างมีนัยสำคัญ
วิธีการรักษาความยาวของเทโลเมียร์
1. ออกกำลังกายเป็นประจำ คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่ามี telomere ที่ยาวกว่าคนอื่นที่ไม่ค่อยออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้แก่ช้าหรือชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้ถึง 9 ปี ควรออกกำลังกายหัวใจ (Cardio exercise) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ การขยับตัวและการเดิน (Physical activity) ให้ได้วันละ 10,000 ก้าว
2. อาหารที่สมดุลเพื่อสุขภาพ
โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับความเครียดออกซิเดชันในระดับสูง
ภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน(Oxidative stress)คือ ภาวะที่มีอนุมูลอิสระ(Free radical)ในร่างกายมากจนสารต้านอนุมูลอิสระมีปริมาณไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดการทำลายออกซิเดชัน(Oxidative damage)การที่อนุมูลอิสระเข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต เช่น รวมตัวกับสารพันธุกรรม(DNA)ทำให้โมเลกุลของ ดีเอ็นเอเปลี่ยนแปลงไป
ภาวะนี้ทำให้เกิดความเสียหายต่อ DNA และเพิ่มอัตราการหดสั้นของเทโลเมียร์ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่สูงสามารถกระตุ้น adipocytokines ที่สร้างความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในเซลล์ทำลายเทโลเมียร์ของโครโมโซมที่อยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์
ดังนั้นการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการรับประทานอาหารที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมและรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จะช่วยปกป้องความยาวของของเทโลเมียร์ อาหารที่มีประโยชน์จะอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีผลดีต่อความสมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย อาหารที่ช่วยชะลอเทโลเมียร์หดสั้นลง เช่น อาหารที่มีวิตามินซี โพลีฟีนอล แอนโธไซยานินสูง พริกแดง คะน้า
ดาร์กช็อกโกแลต และบลูเบอร์รี่ ฯลฯ
3.จัดการความเครียด
ความเครียดสะสมในจิตใจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความยาวของเทโลเมียร์ เมื่อการอักเสบเกิดขึ้นและกระบวนการซ่อมแซมไม่ได้ผลอาจทำให้เกิดโรคได้ การทดลองในสัตว์ พบว่า การมีความเครียดทำให้มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะลดความสามารถในการกำจัดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดขึ้นจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย เกิดการแบ่งตัวของเซลล์มากขึ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งนั่นเอง
ในปัจจุบันเชื่อกันว่า ร่างกายคนเราตามปกติมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และร่างกายสามารถกำจัดสารพวกนี้ได้ทำให้ไม่เกิดมะเร็ง แต่เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถขจัดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่ในเวลาเดียวกันไม่ได้หมายความว่า ความเครียดจะทำให้เป็นมะเร็งได้เสมอไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความเครียดอีกด้วย
คนที่มีความเครียดสะสม จู้จี้ขี้บ่น เจ้าระเบียบ โมโหฉุนเฉียวง่าย ไม่ออกกำลังกาย อดหลับอดนอน กินอาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง ส่วนใหญ่เทโลเมียร์จะสั้น
4. อาหารเสริม มีอาหารเสริมบางตัวที่ช่วยลดผลกระทบของความชรา เช่น วิตามิน C & E อาจจำกัดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อ DNA ของ Telomeric ซึ่งอาจทำให้ความยาวของ Telomere สั้นลงได้
การขาดธาตุสังกะสีในอาหารสัมพันธ์กับความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันเช่นกัน การเสริมสังกะสีช่วยลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมสภาพของเทโลเมียร์โดยการกระตุ้นการหมุนเวียนของเซลล์ที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสม ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ มีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบเพิ่มขึ้น
การศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่มีเทโลเมียร์ที่สั้นกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ การศึกษาต่างๆ ได้เชื่อมโยงการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปกับความชราทางชีววิทยาที่เร็วขึ้นในระดับเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากยังสัมพันธ์กับภาวะขาด
วิตามินบี 1 ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการดึงพลังงานจากอาหารโดยเปลี่ยนให้เป็นพลังงานสำหรับสมอง เส้นประสาท และหัวใจ การขาดวิตามินบี 1 ในระยะยาวนำไปสู่ระดับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่สูงขึ้น
6.รักษาระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อหลีกเลี่ยงการเริ่มเป็นโรคเบาหวานหรือคอเลสเตอรอลสูง
7.พักผ่อนให้เพียงพอ
การนอน คือ การพักผ่อนที่ดีที่สุดและจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อนอนหลับอย่างเพียงพอจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าในตอนเช้า ช่วยให้ใบหน้าแลดูสดใส ไม่หมองคล้ำ และช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ความจำ หรือระบบภูมิคุ้มกัน
การนอนหลับให้เพียงพอ อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีงานวิจัยที่เปรียบเทียบความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้หวัดของผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง กับผู้ที่นอนหลับ 8 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งพบว่ากลุ่มที่นอนน้อยกว่าเสี่ยงเป็นหวัดสูงกว่ากลุ่มผู้ที่นอนมากกว่าถึง 3 เท่า
ตำแหน่งของใบหน้าที่แสดงถึงสัญญาณความชรา
1.ริ้วรอย เกิดจากการขยับของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ผิวแห้งและบางลง
2.ถุงใต้ตา เกิดจากกล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนแอลง ไขมันรอบๆตาเคลื่อนตัวลงมา
3.หนังตาตก เกิดจากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแอลง ผิวหนังหย่อนคล้อย
4.หน้าแบนหรือหน้าตอบ เกิดจากไขมันหายไป ชั้นผิวและกล้ามเนื้อบางลง
5.ร่องแก้ม เกิดจากผิวและชั้นไขมันหย่อนคล้อยลง เส้นเอ็นที่เกาะยึดหย่อนตัว
6.ริมฝีปากบางและม้วนเข้าด้านใน เนื่องจากฟันและกนะดูกยุบตัวลง
7.กรอบหน้าไม่ชัด เกิดจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล ผิวและชั้นผิวบนใบหน้าเสื่อมและหย่อนคล้อย
ในโรงพยาบาลชั้นนำ สามารถตรวจเทโลเมียร์ได้โดยการตรวจจากเม็ดเลือดขาว
ปัจจัยทางพันธุกรรมมีสัดส่วนเพียง 30% ของความยาวเทโลเมียร์ของแต่ละบุคคล ที่เหลือเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเลือกรูปแบบการใช้ชีวิต(lifestyle)มีบทบาทมากขึ้นต่อสุขภาพเซลล์และกระบวนการชราภาพของมนุษย์
ที่มา :
www . yourgenome . org/facts/what-is-a-telomere
▷ Telomere length and aging: 5 ways to maintain healthy ...lifelength . com › Blog EN
Eight Tips to Help Maintain Telomere Length - Dr. Avi Ishaaya ...aviishaaya . com › blog › eight-tips-t...
ความเครียดอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง | มหาวิทยาลัยมหิดล
BDMS Wellness Clinic
นอน ดีต่อสุขภาพอย่างไร ? - พบแพทย์
เพจ Dr.Yui คุยทุกเรื่องผิว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น