1.น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลา มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง จัดเป็นอาหารต้านโรคหัวใจที่ดีที่สุด
2.หัวหอม กระเทียม หัวไชเท้า มีสารอัลลิซิน ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถทำลายเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค โดยไม่ทำอันตรายต่อเชื้อแบคทีเรียที่ดีภายในร่างกาย
โดยทั่วไปเราจะเรียกเชื้อจุลินทรีย์ที่รู้จักกันดีว่า เป็นแบคทีเรียที่เป็นมิตรกับร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและโรคต่างๆ
รู้หรือไม่ว่า มีแบคทีเรียที่เป็นมิตรหลายพันล้านตัวในร่างกายของเราช่วยกันทำงานอย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยรักษาฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ ป้องกันการรุกรานจากเชื้อราและยีสต์ ซึ่งอาจรุกรานเข้ากระแสเลือดและก่อให้เกิดโรคร้ายแรงได้ อีกทั้งยังช่วยในการสร้างวิตามินบีบางชนิดด้วย
3.ส่วนประกอบหลักของมาการีน คือน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนหรือกรดไขมันทรานส์ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าไขมันอิ่มตัวในเนยเสียอีก
4.วิตามินบี 1 ช่วยรักษาอาการเมารถ เมาเรือและเมาเครื่องบินได้
5.แร่ธาตุโบรอน พบในแอปเปิ้ล องุ่นและลูกเกด ช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โบรอนยังช่วยผู้หญิงที่ใช้ฮอร์โมนบำบัด(ERT)เก็บรักษาฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดได้ยาวนานขึ้น
โบรอน(Boron)เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงไม่มีขนาดที่แนะนำอย่างเป็นทางการ แต่นั่นไม่ได้ทำให้ความสำคัญของมันลดลงเลย โดยเฉพาะในการทำงานร่วมกับแคลเซียม แมกนีเซียมและวิตามินดี เพื่อช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และยังอาจช่วยให้สมองทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย พบในผักและผลไม้เกือบทุกชนิด
แต่ทว่าผลไม้ตากแห้ง เช่น พรุนหรือแอพริคอต จัดเป็นแหล่งของโบรอนที่ดีที่สุด ในการรับประทานเพื่อเสริมอาหาร แนะนำขนาด 3 มิลลิกรัมต่อวัน(ห้ามเกินวันละ 10 มิลลิกรัม)
6.การแปรงฟันภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากดื่มน้ำอัดลมทุกประเภท(หรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดและมีแคลเซียมต่ำ)อาจทำให้ชั้นเคลือบผิวฟันผุกร่อนได้
7.เราสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารลงได้ถึงร้อยละ 50 โดยการรับประทานหอมใหญ่ครึ่งหัวทุกวัน
จากการศึกษาเป็นเวลา 4 ปีในเนเธอร์แลนด์พบว่า สารอัลลีลิกซัลไฟด์ในหัวหอม(สารต้านมะเร็ง)ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ไปยับยั้งสารก่อมะเร็ง
8.คนส่วนใหญ่ขาดเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยนม(Lactase)หลังอายุ 12 ปีเป็นต้นไป จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใหญ่จำนวนมากมีอาการท้องอืดเฟ้อหรืออาหารไม่ย่อยหลังดื่มนม
9.จากการศึกษาของคณะวิจัย USDA Human Nutrition Research Center on Aging มหาวิทยาลัยทัฟต์ พบว่า การรับประทานวิตามินซีเสริมอาหารทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
10.ฟลาโวนอยด์ในองุ่นแดงมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินอีมากกว่าพันเท่าในการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลชนิด
แอลดีแอล(LDL)
11.มีการศึกษาพบว่า การมีระดับของซีลีเนียมในร่างกายที่เพียงพอ จะช่วยชะลออาการของโรคเอดส์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
12.อาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(Carpal tunnel syndrome )และภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมน อาจเป็นอาการแสดงของการขาดวิตามินบี 6
13.สารต้านอนุมูลอิสระ NAC (N-Acetylcysteine)อาจทำงานได้ดีกว่าวิตามินซีในการบรรเทาอาการไข้หวัด
14.การรับประทาน ฉีด หรือสูดดมสเตียรอยด์เพื่อรักษาอาการหอบหืดในปริมาณสูง อาจเป็นสาเหตุของต้อกระจกและกระดูกพรุนได้
15.หากต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยตลอดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่า จำเป็นต้องเสริมแคลเซียมเป็นพิเศษ เพราะร่างกายสูญเสียความหนาแน่นของมวลกระดูกไปในระหว่างที่ต้องนอนนานๆ
16.โพรโพลิส(Propolis)เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำผึ้ง นมผึ้งคือน้ำนมจากผึ้ง เป็นสารคัดหลั่งสีขาวที่เปี่ยมไปด้วยโภชนาการจากผึ้งงาน ตัวอ่อนผึ้งทุกตัวจะกินอาหารมหัศจรรย์สุดเข้มข้นชนิดนี้ในช่วง 3 วันแรกของชีวิต แต่หลังจากนั้นจะมีเพียงนางพญาผึ้งที่มีโอกาสได้กินต่อ
นมผึ้งเป็นอาหารอย่างเดียวของนางพญาผึ้ง จึงส่งผลให้มีขนาดร่างกายโตกว่าผึ้งเพศเมียตัวอื่นๆถึงร้อยละ 50 มีอายุยืนยาวกว่าผึ้งตัวอื่นถึงสี่สิบเท่าและมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงมาก
นมผึ้งมีกรดอะมิโนจำเป็นเช่นเดียวกับวิตามินเอ ซี ดี อี วิตามินบี 9 ตัวรวมถึงบี 12และแร่ธาตุอย่างแคลเซียม ทองแดง เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซิลิคอนและซัลเฟอร์ นมผึ้งเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและกระตุ้นต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นต่อมที่ควบคุมระบบการเผาผลาญอาหาร อารมณ์ ความอยากอาหารและแรงขับทางเพศ
17.ไม่ควรรับประทานไข่ขาวดิบเพราะอาจขัดขวางการทำงานของไบโอตินในร่างกาย
18.การรับประทานอาหารไขมันสูง จะเพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัสและลดระดับของแคลเซียม
19.เหงื่อออกมากผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียโซเดียมได้
20.การรับประทานสังกะสี(Zinc) อาจส่งผลให้ร่างกายสูญเสียเหล็ก(Iron)และทองแดง(Copper)ได้
21.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาร์เอ็นเอ-ดีเอ็นเอ(RNA-DNA) ทำให้ระดับกรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเกาต์จึงไม่ควรรับประทานโดยเด็ดขาด
22.ไม่ควรรับประทานวิตามินเอร่วมกับยารักษาสิวโรแอคคิวเทน(ไอโซ-เทรทิโนอิน)
23.ยาฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพลดลง หากรับประทานร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนหรือ 2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาฆ่าเชื้อ)
24.อาหารที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมปลอดภัยพอที่จะรับประทานได้หรือไม่
หากหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานได้ ก็ควรจะทำ แต่อาจจะเป็นเรื่องยากเพราะสองในสามของอาหารสำเร็จรูปล้วนมีส่วนประกอบที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม(GMO)
มีการศึกษาในปี ค.ศ 1998 พบว่า หนูตั้งท้องที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมมีดีเอ็นเอจากอาหาร ผ่านเข้าไปยังเซลล์บุผนังลำไส้ เม็ดเลือดขาวและเซลล์สมองเช่นเดียวกับเซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในมนุษย์เช่นกัน ยังไม่มีใครทราบถึงผลกระทบระยะยาว
25.วิตามินเอ(Vitamin A,palmitate)ในปริมาณสูงอาจก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะหากรับประทานในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จึงไม่แนะนำให้รับประทานในหญิงตั้งครรภ์
วิตามินเอจะพบมากในน้ำมันตับปลา(cod liver oil)เป็นคนละอย่างกับน้ำมันปลา(Fish oil,Omega-3)
ที่มา Vitamin Bible
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น